แบรนด์ขนาดเล็กกว่า และกล้าหาญ เดินหน้าต้นทางเพื่อ “ไม่มีขยะอิเล็กทรอนิกส์อีกต่อไป”

25 ตุลาคม 2565…Fairphone กับ Framework แสดงถึงวิธีดีกว่าเดิมในการกำจัดขยะจาก Consumer Electronic ในอนาคตจะสร้างบนฐานที่เน้นอายุใช้งานยาวนาน ความเป็นธรรม และความสามารถในการซ่อมแซมผลิตภัณฑ์ ตามมาด้วยด้วยขยะที่จะลดลง ผลิตภัณฑ์ลักษณะนี้ยังคงมีศักยภาพเติบโตไร้ขีดจํากัด

25 ตุลาคม 2565…Fairphone กับ Framework แสดงถึงวิธีดีกว่าเดิมในการกำจัดขยะจาก Consumer Electronic การรีไซเคิล ความร่วมมือในอุตสาหกรรม Circular และตลาดอุปกรณ์มือสองที่ใช้ซ้ำได้ ไม่หมดอายุ แต่กําลังได้รับความนิยมเพิ่มขึ้น แม้จะไม่ตรงกับแนวทางการทิ้งขยะอิเล็กทรอนิกส์ที่มีอยู่ทุกวันนี้ แต่ก็มีแบรนด์ขนาดเล็กกว่า และกล้าหาญกว่าบางแบรนด์กําลังพิสูจน์ให้เห็นถึงวิธีที่ถูกต้อง และความต้องการอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่มีอายุใช้งานยาวนานกว่า ซ่อมง่ายกว่า

ในโลกที่อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์นับวันมีแต่จะเพิ่มมากขึ้น เราพึ่งพาอุปกรณ์เหล่านี้มากกว่าเดิม ผู้บริโภคพร้อมที่จะใช้เช็คเงินเดือนไปกับโทรศัพท์และแล็ปท็อปรุ่นใหม่ล่าสุด แม้บางรุ่นจะแตกต่างและอัปเกรดน้อยก็ตาม แนวโน้มนี้กําลังเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยตลาดโลกสําหรับอุปกรณ์ Consumer Electronic คาดว่าจะเติบโตก้าวกระโดดจาก 689,450 ล้านดอลลาร์ในปี 2020 เป็น 989,370 ล้านดอลลาร์ในปี 2027

ขณะที่บรรดาบริษัทเทคโนโลยีแทบจะอดทนรอไม่ไหวที่จะบอกผู้บริโภคเกี่ยวกับการเปิดตัวใหม่สินค้ารุ่นใหม่ แต่สิ่งที่พวกเขาไม่ได้บอก ก็คือ ขยะที่การอัพเกรดแต่ละครั้งสร้างขึ้น ปัจจุบันขยะอิเล็กทรอนิกส์เป็นปัญหาระดับโลก แต่ละปีมีการผลิตขยะอิเล็กทรอนิกส์ 53.6 ล้านตัน ยกตัวอย่าง ยักษ์ใหญ่ด้านเทคโนโลยีเช่น Apple ที่ออก iPhone ใหม่ 2 รุ่นในแต่ละปี ทำให้เกิดการรีไซเคิลขยะอิเล็กทรอนิกส์ 10% และแนวโน้มที่ว่านี้จะยังคงดำเนินต่อไป

นอกเหนือจากการสิ้นเปลืองไมโครชิปรุนแรง (ซึ่งขาดแคลนทั่วโลกต่อเนื่อง) โลหะหายาก (สหประชาชาติประมาณการมูลค่า 10,000 ล้านดอลลาร์ ก่อนจะจบลงด้วยการฝังกลบและทิ้งลงน้ำทุกๆปี) รวมถึงส่วนประกอบที่ใช้งานได้อื่น ๆ ในอุปกรณ์ที่ถูกทิ้งแต่ละเครื่องแล้ว “สึนามิ” ของขยะอิเล็กทรอนิกส์ยังมีสารเคมีที่เป็นพิษสูง เช่น ปรอท ตะกั่ว เบริลเลียม และแคดเมียม ทําให้สิ่งแวดล้อมและผู้คนหลายล้านชีวิต เผชิญความเสี่ยงยามที่พวกมันแทรกลงไปในดิน อยู่ในอากาศ และลงไปในทะเล

ที่มา คลิกภาพ

ผู้บุกเบิก Fairphone จากเนเธอร์แลนด์ ซึ่งถือกําเนิดขึ้นจากแนวคิดแบบ Disrupt ว่าสมาร์ทโฟนสามารถผลิตได้อย่างมีจริยธรรมและยั่งยืนมากขึ้น พวกเขาเปิดตัว Fairphone 1 แบบแยกส่วนซึ่งพัฒนาขึ้นโดยเน้นให้ซ่อมง่าย จากนั้นมากิจการเพื่อสังคมขนาดเล็กนี้ก็เติบโตสูงขึ้นเรื่อย ๆ ปัจจัยสำคัญมาจากความสําเร็จในการบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทาน ของวัตถุดิบ 4 อย่าง คือ ดีบุก แทนทาลัม ทังสเตน และทองคํา ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

Loiana Lunchon ผู้จัดการฝ่ายประชาสัมพันธ์และการสื่อสารของ Fairphone กล่าวว่า การออกแบบ Fairphone มุ่งเป้าที่ให้ผู้ใช้ทุกคนเปิดมือถือและซ่อมได้ง่ายๆ สิ่งนี้ช่วยให้ผู้ใช้เก็บโทรศัพท์ได้นานขึ้น ลดขยะอิเล็กทรอนิกส์ และ carbon footprint โดยรวมที่เกิดจากอุปกรณ์

“แม้โครงสร้างแบบแยกส่วนจะช่วยให้อัปเกรดได้ แต่เป้าหมายหลักของเราคืออายุใช้งานยาวนาน เราออกแบบ Fairphone 4 ให้รองรับเทคโนโลยีในอนาคตได้ด้วย”

ขณะเดียวกันผู้ผลิตรุ่นใหม่ ก็กําลังใช้วิธีแยกส่วนกับแล็ปท็อปด้วย เช่น Framework ในแคลิฟอร์เนีย ซึ่งก่อตั้งขึ้นในปี 2019 ผลิตแล็ปท็อปประสิทธิภาพสูงที่ออกแบบมาเน้นให้อัพเกรด และซ่อมได้ง่าย

ที่มา คลิภาพ

“วิธีที่ดีที่สุดในการลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมของผลิตภัณฑ์ Consumer Electronic คือทําให้อายุการใช้งานยาวนานขึ้นส่งผลให้ผลิตน้อยลง และท้ายที่สุดค่อยเข้าสู่การเป็นขยะ” Nirav Patel CEO ของ Framework กล่าว “ด้วยความสามารถในการอัพเกรดง่าย ผู้บริโภคจึงสามารถเปลี่ยนชิ้นส่วนเฉพาะที่ต้องการ และใช้อุปกรณ์ปัจจุบันต่อไปได้ แทนที่จะต้องซื้อใหม่”

เพื่อให้แน่ใจว่าจะทันกับความก้าวหน้าของอุตสาหกรรม Framework มีแผนอัพเกรดเทคโนโลยีในการพัฒนา โดยเปิดตัวรุ่นแรกช่วงต้นปีด้วยการอัปเกรด Intel Core เจนเนอเรชั่น 12 ซึ่งให้ประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น 2 เท่าสําหรับการใช้งานแบบมัลติคอร์ภายในเครื่องเดียวกัน ต่อมาในเดือนกันยายน บริษัทเปิดตัว Framework Laptop Chromebook Edition โดยร่วมมือกับ Google

“ด้วย Framework Laptop เราได้พิสูจน์แล้วว่าเป็นไปได้ที่จะสร้างผลิตภัณฑ์ที่บาง เบา และมีประสิทธิภาพสูง ซึ่งยังคงง่ายต่อการอัปเกรดและซ่อมแซม ด้วยหลักฐานดังกล่าวเราหวังว่าผู้บริโภคจะสร้างแรงกดดันให้บริษัทเทคโนโลยีเกิดกระแสการคิดค้นผลิตภัณฑ์ที่ออกแบบมาให้ซ่อมเองได้อย่างง่ายดาย”

Patel กล่าว ต่อเนื่อง เราไม่ต้องการจํากัดประโยชน์ของการอัพเกรดเฉพาะคนที่คุ้นกับการซ่อมอยู่แล้ว ดังนั้นเราจึงทําให้ทุกอย่างเรียบง่าย เรารวมเครื่องมือที่จําเป็นไว้ในกล่องเดียว (หมายความถึงเครื่องมือใช้กับส่วนที่ยึดไว้) ใส่รหัส QR และฉลากไว้ทุกที่ เพื่อให้ง่ายต่อการทําตามคําแนะนําทีละขั้นตอนของเรา

ที่มา คลิกภาพ

ด้วยการแสดงความเป็นไปได้จากการผลิตอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ดีขึ้น Fairphone และ Framework เป็นหัวหอกในการเปลี่ยนแปลงที่จําเป็นยิ่ง เพื่อก้าวสู่อุตสาหกรรม Consumer Electronic ที่สนใจเรื่อง Circular แบบยั่งยืน ทั้งสองบริษัทเชื่อว่า ในอนาคตจะสร้างบนฐานที่เน้นอายุใช้งานยาวนาน ความเป็นธรรม และความสามารถในการซ่อมแซมผลิตภัณฑ์ ตามมาด้วยด้วยขยะที่จะลดลง ผลิตภัณฑ์ลักษณะนี้ยังคงมีศักยภาพเติบโตไร้ขีดจํากัด

“เราหวังว่าทุกผลิตภัณฑ์ที่ออกสู่ตลาดจะยังคงใช้ได้ถึง 5 ปี เราเห็นปัญหาเดียวกันนี้เกิดขึ้นในอุปกรณ์ Consumer Electronic ทั้งหมด เราเริ่มต้นด้วย Framework Laptop แต่เราจะนําปรัชญาและพันธกิจของผลิตภัณฑ์นี้มาใช้ในทุกหมวดหมู่ต่อไป”  

Loiana Lunchon ผู้จัดการฝ่ายประชาสัมพันธ์และการสื่อสารของ Fairphone เสริม เมื่อเราเริ่มทำสิ่งนี้ นั่นเท่ากับว่าความยั่งยืนของห่วงโซ่อุปทานจะไม่ใช่จุดสนใจหลักของอุตสาหกรรมอีกต่อไป การคุยเรื่องนี้มีมากขึ้นเรื่อยๆ อย่างไรก็ตาม มีงานอีกมากที่ต้องทํา

เครดิต คลิกภาพ

“เรากําลังวางแผนเพิ่มบทบาทต่อไป และเสริมสร้างความแข็งแกร่งในจุดยืนในอุตสาหกรรม เพื่อเพิ่มผลกระทบเชิงบวกให้เกิดขึ้นสูงสุดตลอดห่วงโซ่คุณค่าทั้งหมด ในอนาคตเราหวังว่าจะได้เห็นการแข่งขันในอุตสาหกรรมเกี่ยวกับความยั่งยืนและความเป็นธรรมมากขึ้น ซึ่งจะเป็นเครื่องบ่งชี้ว่าคนอื่น ๆ ในอุตสาหกรรมกําลังทำตามการนําของเรา”

ที่มา