22-23 กรกฎาคม 2566…การแข่งขันจะจัดขึ้นปีหน้ากำลังโปรโมทเรื่องความยั่งยืนและสร้างความตระหนักเกี่ยวกับการรีไซเคิลด้วยวิธีที่สร้างสรรค์ ผู้ชมในกีฬาโอลิมปิกที่ปารีส 2024 จะนั่งบนเก้าอี้ที่ทำจากพลาสติกรีไซเคิล ซึ่งมีที่มาจากถังขยะในท้องถิ่น
Marius Hamelot ผู้ร่วมก่อตั้ง Le Pavé บริษัทก่อสร้างเชิงนิเวศที่อยู่เบื้องหลังโครงการ กล่าวว่า วัตถุดิบมือ 1 ขาดแคลนทำให้ผู้ผลิตจำนวนมากเปลี่ยนไปใช้ขยะแทน
“ผู้ผลิตพลาสติกทั้งหมดหยุดผลิต ไม่ใช่เพราะไม่มีคำสั่งซื้อเพิ่ม แต่เป็นเพราะไม่มีวัตถุดิบ ดังนั้นพวกเขาจึงเปลี่ยนไปใช้ของทิ้งแล้ว”
แม้จะมีความท้าทายด้านลอจิสติกส์และความตึงเครียดในห่วงโซ่อุปทานทั่วโลก โครงการที่นั่งเป็นส่วนหนึ่งของความพยายามที่ขยายขอบเขตจากเดิมขึ้นเพื่อลด footprint ที่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมของการแข่งขันกีฬาโอลิมปิก ซึ่งได้ให้คำมั่นว่าจะเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากที่สุด
คณะผู้จัดงานให้ข้อมูลว่า พวกเขาตั้งเป้าลดการปล่อยมลพิษลงครึ่งหนึ่งเทียบกับการแข่งคราวที่แล้ว โดยใช้โครงสร้างที่มีอยู่ ส่งเสริมการใช้ระบบขนส่งสาธารณะ และการชดเชยคาร์บอน
เบื้องต้น ที่นั่งในสนามกีฬาโอลิมปิก เช่น Arena ที่ Porte de la Chapelle ในปารีส และศูนย์กีฬาทางน้ำใน Saint-Denis จะทำมาจากพลาสติกรีไซเคิล ด้วยการใช้แนวคิด circular economy วิธีนี้จะช่วยลดการใช้พลังงาน หลีกเลี่ยงการผลิตของเสียใหม่ เก้าอี้ประมาณ 11,000 ที่นั่งจะทำจากวัสดุรีไซเคิล

ในการเปลี่ยนขยะพลาสติกให้เป็นเก้าอี้ใช้ในโอลิมปิก Lemon Tri บริษัทรีไซเคิลในปารีสร่วมมือกับ Le Pavé บริษัทก่อสร้างเชิงนิเวศ รวบรวมขยะพลาสติก เปลี่ยนให้เป็นเศษพลาสติก ผสมขี้เลื่อยเพื่อให้ได้สีที่สม่ำเสมอ อุ่นและบีบอัดในเครื่องจักร ผลที่ได้คือชุดแผ่นพลาสติกสีขาวหรือสีดำที่มีจุดสี
จากนั้นแผ่นเหล่านี้จะถูกทำให้เรียบ ขัดเงา และส่งไปยังบริษัทพันธมิตรอื่นๆ ในฝรั่งเศสเพื่อตัดและประกอบ ทำให้เกิดเก้าอี้เพื่อใช้สำหรับโอลิมปิก ด้วยการผลิตเต็มกำลัง เก้าอี้จะถูกติดตั้งในฤดูใบไม้ร่วงนี้
80% ของพลาสติกรีไซเคิล 100 ตัน ที่ใช้สำหรับทำเบาะนั่งมาจากถังขยะสีเหลืองที่ตั้งอยู่ในเมือง Seine-Saint-Denis
โครงการรีไซเคิลพลาสติกโอลิมปิกใช้วิธีให้เมืองๆเดียวรับผิดชอบครบวงจร
Augustin Jaclin ผู้ร่วมก่อตั้ง Lemon Tri กล่าวว่า ทั้งหมดรวบรวมมาจาก Seine-Saint-Denis ทำเป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อยใน Seine-Saint-Denis แปรรูปใน Seine-Saint-Denis วัตถุดิบทั้งหมดใช้ในสระว่ายน้ำ ซึ่งเป็นสนามแข่งในพื้นที่
มีการดำเนินการเก็บขยะพลาสติกในโรงเรียนของพื้นที่ใกล้เคียง Seine-Saint-Denis มีฝาขวดโซดาหลากสีประมาณ 5 ล้านฝาถูกนำไปรีไซเคิล ความคิดริเริ่มนี้ยังให้โอกาสในการสร้างความตระหนักแก่สาธารณชนและส่งเสริมแนวทางปฏิบัติที่ยั่งยืนมากขึ้นด้วย
“มันเป็นเครื่องมือสื่อสารขนาดใหญ่” Augustin กล่าว“เมื่อเราบอกเด็ก ๆ ว่าให้เอาขวดใส่ถังขยะ พรุ่งนี้มันจะกลายเป็นที่นั่งของสระโอลิมปิก นั่นเป็นการปลุกจิตสำนึกของการรีไซเคิลขยะที่ดีมากเลยทีเดียว”
ที่มา