SD DAILY

Climate Risk Index 2025 ไทยหลุดอันดับประเทศเสี่ยงสูงจาก 9 ไปอันดับ 30

17 กุมภาพันธ์ 2568…ดร.พิรุณ สัยยะสิทธิ์พานิช อธิบดีกรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม  เผยข้อมูล จากรายงาน Climate Risk Index 2025 โดย Germanwatch จัดอันดับประเทศเสี่ยงสูงด้านสภาพภูมิอากาศระยะยาวในช่วง 30 ปี (1993-2022) โดยประเทศไทยถูกจัดอยู่ในอันดับที่ 30 ลดลงจากอันดับ 9 เทียบกับ 4 ปีที่แล้ว (ช่วงปี 2000-2019) แต่ยังต้องเตรียมพร้อมตั้งรับและปรับตัวกับสภาพภูมิอากาศที่แปรปรวนภายใต้ภาวะโลกเดือดอย่างต่อเนื่อง

-ภัยพิบัติทางธรรมชาติในช่วงปี 1993-2022 คร่าชีวิตกว่า 765,000 คน และสร้างความเสียหายเกือบ 4.2 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยพายุ คลื่นความร้อน และน้ำท่วม เป็นภัยที่ส่งผลกระทบมากที่สุด

-ประเทศที่ได้รับผลกระทบหนักที่สุดในปี 2022 ได้แก่ ปากีสถาน เบลีซ อิตาลี กรีซ สเปน และสหรัฐฯ โดยมีปัจจัยจากพายุ น้ำท่วม และคลื่นความร้อนรุนแรง

-แนวโน้มสภาพอากาศสุดขั้วกำลังกลายเป็น “ความปกติใหม่” (New Normal) โดยเหตุการณ์ที่เคยเกิดขึ้นไม่บ่อย กำลังเกิดถี่ขึ้นและรุนแรงขึ้น

-การลดอันดับความเสี่ยงของไทยเกิดจากหลายปัจจัย เช่น
/ประเทศอื่นเผชิญภัยพิบัติรุนแรงกว่า
/ไทยปรับปรุงการบริหารจัดการภัยพิบัติให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
/วิธีการประเมินดัชนีถูกปรับใหม่ โดยเพิ่มปัจจัยประชากรที่ได้รับผลกระทบ และขยายช่วงเวลาการประเมินจาก 20 ปี เป็น 30 ปี

 

ดร.พิรุณ สัยยะสิทธิ์พานิช อธิบดีกรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม

-แม้อันดับความเสี่ยงของไทยลดลง แต่ยังต้องเตรียมรับมือกับสภาพอากาศที่แปรปรวน เช่น อุณหภูมิสูงเป็นประวัติการณ์ น้ำท่วมหนัก ภัยแล้ง และดินถล่ม

-แนวทางรับมือสำคัญ ได้แก่

/เพิ่มประสิทธิภาพระบบเตือนภัยให้แม่นยำขึ้น
/พัฒนาระบบการบริหารจัดการน้ำ
/สื่อสารข้อมูลให้ประชาชนเข้าถึงรวดเร็ว
/ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก เพื่อชะลอการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

📌 แม้ประเทศไทยจะไม่ติดกลุ่มเสี่ยงสูงแล้ว แต่ยังต้องเตรียมพร้อมและปรับตัวรับมือกับสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ

You Might Also Like