SD DAILY

อุตสาหกรรมถ่านหินไทย มีความเสี่ยงทุกระยะ

4 มีนาคม 2568…ศูนย์วิจัยกสิกรไทยเผยความต้องการถ่านหินในตลาดโลกมีทิศทางปรับตัวลดลงจากกระแสรักษ์โลก โดยเฉพาะคู่ค้าหลักอย่างจีน ที่หันไปพึ่งพาพลังงานทดแทนเพิ่มมากขึ้น

ภายในปี 2603 จีนตั้งเป้าหมายเพิ่มการใช้พลังงานสะอาดโดยเฉพาะพลังงานลมและแสงอาทิตย์ ให้มีสัดส่วนเป็น 80% ของการผลิตพลังงานทั้งหมด ในขณะที่ลดจำนวนการใช้ถ่านหินเหลือเพียง 5% ทั้งนี้ หากมีเทคโนโลยีพลังงานทางเลือกสะอาดที่มีต้นทุนใกล้เคียงและมีคุณสมบัติในการให้พลังงานเทียบเท่ากับถ่านหิน อาจส่งผลให้ความต้องการใช้ถ่านหินลดหายไปในระยะยาว

มาถึงเทคโนโลยีกักเก็บก๊าซเรือนกระจกหรือที่เรียกว่าถ่านหินสะอาด ซึ่งช่วยลดการปล่อยคาร์บอนยังคงมีต้นทุนสูง โดยจะเพิ่มต้นทุนขึ้นราว 70% จากการผลิตพลังงานโดยถ่านหินแบบเดิม และสามารถกักเก็บก๊าซเรือนกระจกได้เพียง 90% ทำให้ผู้ประกอบการที่ตั้งเป้าหมาย Net zero อาจเลือกใช้พลังงานทางเลือกอื่น

ตลาดในประเทศ

-ความต้องการใช้ถ่านหินในไทยมีแนวโน้มลดลงจากร่างแผนพัฒนากำลังการผลิตไฟฟ้าในระยะยาวของไทย (PDP 2024) ที่มุ่งเน้นการใช้พลังงานทดแทน โดยมีแผนการลดปริมาณการผลิตไฟฟ้าจากถ่านหินเหลือเพียง 7% ของปริมาณการผลิตไฟฟ้าในปี 2580 จากที่อยู่ราว 14% ในปี 2567 ในขณะเดียวกัน สัดส่วนพลังงานสะอาดจะเพิ่มขึ้นเป็น 51% จากปัจจุบันที่ 22%

-ภาคอุตสาหกรรมไทยมีแนวโน้มใช้ถ่านหินเป็นเชื้อเพลิงพลังงานลดลง เนื่องจากพ.ร.บ. Climate Change และกฎระเบียบการค้าโลกด้านสิ่งแวดล้อมที่เข้มงวดขึ้น โดยเฉพาะที่เกี่ยวกับการส่งออกไปยัง EU ซึ่งมีการใช้มาตรการ CBAM ที่มีผลกระทบโดยตรงต่ออุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ ซึ่งกำลังเข้าสู่ช่วงเปลี่ยนผ่านไปสู่การใช้พลังงานสะอาดในการผลิต (Low carbon cement)

ตลาดต่างประเทศ

-ความต้องการถ่านหินในตลาดโลกมีทิศทางปรับตัวลดลงจากกระแสรักษ์โลก โดยเฉพาะคู่ค้าหลักอย่างจีน ที่หันไปพึ่งพาพลังงานทดแทนเพิ่มมากขึ้น ซึ่งภายในปี 2603 จีนตั้งเป้าหมายเพิ่มการใช้พลังงานสะอาดโดยเฉพาะพลังงานลมและแสงอาทิตย์ ให้มีสัดส่วนเป็น 80% ของการผลิตพลังงานทั้งหมด ในขณะที่ลดจำนวนการใช้ถ่านหินเหลือเพียง 5% ทั้งนี้ หากมีเทคโนโลยีพลังงานทางเลือกสะอาดที่มีต้นทุนใกล้เคียงและมีคุณสมบัติในการให้พลังงานเทียบเท่ากับถ่านหิน อาจส่งผลให้ความต้องการใช้ถ่านหินลดหายไปในระยะยาว

-เทคโนโลยีกักเก็บก๊าซเรือนกระจกหรือที่เรียกว่าถ่านหินสะอาด ซึ่งช่วยลดการปล่อยคาร์บอนยังคงมีต้นทุนสูง โดยจะเพิ่มต้นทุนขึ้นราว 70% จากการผลิตพลังงานโดยถ่านหินแบบเดิม และสามารถกักเก็บก๊าซเรือนกระจกได้เพียง 90% ทำให้ผู้ประกอบการที่ตั้งเป้าหมาย Net zero อาจเลือกใช้พลังงานทางเลือกอื่น

-อินเดียมีนโยบายหันมาพึ่งพาถ่านหินที่ผลิตในประเทศตนเองมากขึ้น โดยมีการตั้งเป้าว่า ภายในปี 2573 จะเพิ่มกำลังการผลิตถ่านหินจากภายในประเทศเป็น 1,522 ล้านตัน เพิ่มขึ้นกว่า 70% ของปริมาณที่ผลิตได้ในปัจจุบัน ซึ่งจะส่งผลทำให้การนำเข้าถ่านหินของอินเดียจากต่างประเทศมีแนวโน้มลดลงในระยะยาว

You Might Also Like