CIRCULAR ECONOMY

จาก Waste Wise Station หวังสู่อนาคตที่ไทยมี “วัฒนธรรมจัดการขยะ” แบบญี่ปุ่น

9 เมษายน 2568…@ชั้น 1 True Digital Park (West) สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ NIA ผนึกกำลังภาคีเครือข่ายย่านนวัตกรรมปุณณวิถี เปิดตัว “Waste Wise Station สถานีฉลาดทิ้งจัดการขยะอัจฉริยะด้วย 5 นวัตกรรม” ชูแนวคิด Circular Economy x Smart City ขับเคลื่อนปุณณวิถี สู่พื้นที่ต้นแบบนวัตกรรมจัดการขยะอย่างยั่งยืน

5 นวัตกรรมจัดการขยะอัจฉริยะ
พลิกระบบนิเวศน์ในเมือง

 

1. TRUE x Waste Wise: ระบบจัดการ E-Waste แบบ Real-Time

นวัตกรรมตาชั่งอัจฉริยะที่สามารถรายงานการทิ้งขยะอิเล็กทรอนิกส์แบบ Real-Time พร้อมคำนวณคาร์บอนฟุตพริ้นท์ที่ลดลง เป็นตัวอย่างของ Digital Transformation ด้านสิ่งแวดล้อม ที่สามารถขยายผลในภาคธุรกิจและชุมชน

 

2. OKLIN: เทคโนโลยีชีวภาพกำจัด Food Waste ลดได้ 90%

เครื่องย่อยขยะเศษอาหารด้วยเทคโนโลยีจุลินทรีย์จาก OKLIN สามารถลดปริมาณขยะได้ถึง 90% ในเวลาเพียง 24 ชั่วโมง ตอบโจทย์ทั้งร้านอาหาร โรงแรม และคอนโดในเมือง

3. CIRCULAR: รีไซเคิลเสื้อผ้าเก่าโดยไม่ฟอกย้อม

โครงการ Circular Textiles นำเสื้อผ้าเก่ามารีไซเคิลเป็นวัสดุใหม่โดยไม่ต้องฟอกย้อม ลดการใช้น้ำและสารเคมี ถือเป็นโมเดลเศรษฐกิจหมุนเวียนในกลุ่มแฟชั่นและค้าปลีก

4. REFUN: ตู้รับคืนขวด PET อัตโนมัติ

ระบบ Reverse Vending Machine สำหรับขวดพลาสติก PET จาก REFUN สร้างพฤติกรรมการแยกขยะที่สะดวกและทันสมัย พร้อมส่งเสริมการรีไซเคิลอย่างครบวงจร

5. RECYCOEX: รับซื้อน้ำมันพืชใช้แล้ว แปลงเป็น Sustainable Aviation Fuel (SAF)

RECYCOEX เปิดช่องทางใหม่ในการจัดการน้ำมันพืชใช้แล้ว โดยรวบรวมเพื่อนำไปผลิตเป็นเชื้อเพลิงอากาศยานแบบยั่งยืน (SAF) สนับสนุนเป้าหมาย Net Zero ในอุตสาหกรรมการบิน

 

ย่านปุณณวิถี Waste Wise Station
ขยายผลได้จริง

 

ผศ.ดร.สักรินทร์ แซ่ภู่ ผู้ช่วยผู้อำนวยการ สำนักการเรียนรู้ตลอดชีวิต สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง(สจล.) กล่าวถึงกระบวนการทำงานก่อนเปิดตัวโครงการต้นแบบ “สถานีฉลาดทิ้งจัดการขยะอัจฉริยะ Waste Wise Station” ได้มีการพูดคุยกับเจ้าของ 5 นวัตกรรมข้างต้น ได้พบ “นิเวศน์หน้าตู้ และนิเวศน์หลังตู้”

นิเวศน์หน้าตู้ Waste Wise Station ไม่เพียงแต่เป็นสถานีทิ้งขยะ แต่เป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ นวัตกรรม และการเปลี่ยนแปลงสู่ เมืองสีเขียว (Green City) ที่ขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยี Circular Economy และความร่วมมือจากภาคประชาชน เอกชน และมหาวิทยาลัย สนับสนุนเศรษฐกิจหมุนเวียน ลดคาร์บอน และต่อยอดสู่ระบบคาร์บอนเครดิต เพื่อเมืองยั่งยืนในอนาคต

นิเวศน์หลังตู้ Waste Wise Station ไม่ได้มองแค่จุดทิ้งขยะ แต่เป็น “ระบบนิเวศน์การจัดการขยะครบวงจร” ด้วย Data ผ่าน

1.Retail Waste

ยกตัวอย่าง True Digital Park ซึ่งโมเดลนี้สามารถขยายไปยังพื้นที่ Retail อื่น ๆได้

 

ผศ.ดร.สักรินทร์

2.Community Waste

หนึ่งในหัวใจสำคัญของการสร้างเมืองสีเขียวคือ การจัดการขยะในระดับชุมชน หรือ Community Waste โดยชี้ให้เห็นว่า การเปลี่ยน “พื้นที่รอบบ้าน” ให้กลายเป็นระบบนิเวศหมุนเวียนนั้น ไม่ได้อยู่ที่รัฐหรือเทศบาลอย่างเดียว แต่อยู่ที่ “ทุกคนในพื้นที่” และ “ภาคธุรกิจที่เกี่ยวข้อง” เช่น อสังหาริมทรัพย์ และ สตาร์ทอัพด้านสิ่งแวดล้อม

“Community Waste ในที่นี้ยังหมายถึงโครงการต่าง ๆ ของบริษัทอสังหาริมทรัพย์ก็สามารถนำโมเดล Waste Wise Station เข้าไปปรับใช้ในโครงการที่อยู่อาศัยได้ทันที ทั้งคอนโดมิเนียม ทาวน์โฮม หรือมิกซ์ยูส โดยใช้พื้นที่ส่วนกลางติดตั้งนวัตกรรม Smart Bin, ตู้รับคืนขวดพลาสติก (REFUN), เครื่องย่อยเศษอาหาร (OKLIN) หรือแม้แต่ตาชั่งอิเล็กทรอนิกส์ (TRUE E-Waste) เพื่อให้ผู้อยู่อาศัยมีส่วนร่วม อีกทั้งให้สิทธิประโยชน์กับลูกบ้าน จากดาต้าต่าง ๆ ที่มีใน Waste Wise Station ส่วนบริษัทเองก็ยังมีโอกาสเรื่องคาร์บอนเครดิตด้วย สุดท้ายโมเดลนี้ไม่เพียงยกระดับคุณภาพชีวิตผู้อยู่อาศัย แต่ยังช่วยสร้างแบรนด์ภาพลักษณ์ใหม่ในฐานะ Sustainable Real Estate Developer ที่ตอบโจทย์ Green Living และ ESG”  ผศ.ดร.สักรินทร์ ขยายความ

แนวคิด Community Waste ยังสะท้อนถึงวัฒนธรรมการจัดการขยะอย่างเข้มงวดของประเทศญี่ปุ่น ซึ่งไม่เพียงแค่แยกขยะเท่านั้น แต่ฝังอยู่ในวิถีชีวิตของประชาชน เช่น การกำหนดวันทิ้งขยะเฉพาะแต่ละประเภท การล้างภาชนะก่อนทิ้งการให้คะแนนห้องเช่า/คอนโดจากพฤติกรรมการจัดการขยะ

ในญี่ปุ่น การแยกขยะจึงไม่ใช่แค่ ‘กฎ’ แต่กลายเป็น ‘วัฒนธรรมที่สะท้อนความรับผิดชอบต่อส่วนรวม’ ซึ่ง Waste Wise Station ตั้งใจนำแนวคิดนี้มาปรับใช้ในสังคมไทย เพื่อให้การจัดการขยะในชุมชนกลายเป็นพลังร่วมของคนเมือง 

3.Franchise Waste

เมื่อบริษัทเริ่มใช้โมเดลดังกล่าวมากขึ้น สตาร์ทอัพสายสิ่งแวดล้อม ก็จะมีส่วนช่วยบริหารจัดการขยะด้วยดาต้ามากขึ้น

4.Smart Technology

ระบบ IoT ตรวจจับขยะเต็มถังแบบเรียลไทม์ แอปพลิเคชันสะสมแต้มจากการแยกขยะ แพลตฟอร์มซื้อขายน้ำมันใช้แล้ว (RECYCOEX) เครือข่ายบริหารจัดการการรับคืนของเสียรีไซเคิล

5.Carbon Credit

ข้อมูลจากนวัตกรรมทั้ง 5 ด้าน จะสามารถพัฒนาเป็นระบบ “คาร์บอนเครดิตชุมชน” (Community Carbon Credit Platform) ที่ชาวบ้านทั่วไปก็มีสิทธิ์ได้รับเครดิตจากพฤติกรรมการจัดการขยะ

โครงการ Waste Wise Station คือการบูรณาการข้อมูลการทิ้งขยะเพื่อนำไปต่อยอด ระบบคาร์บอนเครดิต สำหรับชุมชนและธุรกิจในพื้นที่ ซึ่งสามารถเป็นต้นแบบของ Carbon-Neutral District ได้ในอนาคต เปิดโอกาสให้เกิดการจ้างงานใหม่ การลงทุนในระดับสตาร์ทอัพไปจนถึง การสร้างเมืองที่ไม่ต้องพึ่งงบประมาณรัฐเพียงอย่างเดียว

 

You Might Also Like