9 มีนาคม 2565…เมื่อวันนี้ ผู้หญิง-เด็กผู้หญิงมีโอกาสที่จะเป็นศูนย์กลางของการวางแผน และการดำเนินการเพื่อบูรณาการมุมมองทางเพศเข้ากับกฎหมาย นโยบายระดับโลกหรือระดับประเทศ จึงเป็นโอกาสคิดใหม่ กำหนดกรอบใหม่ และจัดสรรทรัพยากรใหม่
สำหรับประเทศไทย บทบาทผู้หญิงในสังคมการทำงานมีความโดดเด่นมาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งในปีนี้หลายแบรนด์ได้นำเสนอ “มุมมอง” บุคลากรหญิงในองค์กร ประกอบด้วย เอไอเอส ดีแทค วิศวะฯ มธ. เจียไต๋ และ แกร็บ
เอไอเอส เผยมุมมอง Women Empowerment
กับทีม “ผู้บริหารหญิง” ภายใต้ความท้าทายแบบ Women In Tech
-กานติมา เลอเลิศยุติธรรม ดูแลสายงานด้านทรัพยากรบุคคลและการ Transform Skill set พนักงาน เพื่อให้สามารถรับมือ Digital Disruption ได้อย่างดี
-นัฐิยา พัวพงศกร ดูแลงานด้านกลยุทธ์การดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืน รวมถึงการสื่อสารกับนักลงทุนในด้านทิศทางธุรกิจและภาพรวมการดำเนินงานขององค์กร
-สายชล ทรัพย์มากอุดม ดูแลงานประชาสัมพันธ์ พร้อมสร้างโอกาส ความเข้าใจ และทักษะด้านดิจิทัลให้กับคนไทย
-รุ่งทิพย์ จารุศิริพิพัฒน์ เบื้องหลังในการสร้าง Digital Service รวมถึงการสร้างนวัตกรรมใหม่ที่ส่งเสริมการเติบโตของ Digital Ecosystem เพื่อให้พร้อมตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์คนในยุคปัจจุบัน
ในฐานะผู้นำที่ต้องแบกรับความคาดหวังของทีมและเป้าหมายของบริษัท คือ ภารกิจในการผลักดัน Digital Literacy พร้อมด้วยการวางรากฐานทางด้านดิจิทัล ให้คนไทยได้เข้าถึงประสบการณ์การใช้งาน ลดความเหลื่อมล้ำ สร้างโอกาสและยกระดับสังคมไทยให้ก้าวทันโลกดิจิทัล
นับเป็นการร่วมส่งต่อพลังแก่ “ผู้หญิง” ให้เชื่อมั่นในศักยภาพ พร้อมก้าวข้ามทุกขีดจำกัด และ อคติต่างๆ อีกทั้งกล้าที่จะแสดงขีดความสามารถ เพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลงในเชิงบวกแก่ตนเองและส่วนรวมต่อไป
ดีแแทค #BreakTheBias
ทีมที่สมดุลนำมาซึ่งนวัตกรรม
ไพลิน อิทธิวัฒนกุล , ปิยนุช ชัยพรแก้ว , ดร.ธิดา พงศ์สงวนสิน คือกำลังสำคัญของทีม Data Analytics แห่งเทคโนโลยีกรุ๊ป นำมาสู่การพัฒนาและแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับโครงข่ายที่มีประสิทธิภาพมากขึ้นผ่านการใช้ดาต้า รวมถึงเป็นกำลังสำคัญในการขับเคลื่อนการดำเนินงานเพื่อยกระดับประสิทธิภาพการใช้พลังงานโครงข่าย จากการรวบรวมข้อมูลสถานีฐานทั่วประเทศ ภายใต้จุดมุ่งหมายในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกลงครึ่งหนึ่งภายในปี 2573
ทั้งสาม ฉายภาพการเปลี่ยนผ่านสายงานเทคโนโลยีในมิติทางเพศว่า ปัจจุบันสายงานวิศวกรรมมีความเปิดกว้างมากขึ้น จากในอดีต คนอาจมองว่าผู้หญิงเรียนสู้ผู้ชายไม่ได้เนื่องจากปัจจัยทางกายภาพ ตลอดจนค่านิยมทางสังคม ทำให้ผู้หญิงที่เรียนในคณะวิศวกรรมมีสัดส่วนที่น้อย แต่ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา ผู้หญิงได้แสดงให้เห็นว่าปัจจัยทางกายภาพไม่ได้มีผลต่อการศึกษาในคณะวิศวกรรมและการทำงานในสายงานที่ถูกมองว่าชายเป็นใหญ่ (male dominance) อย่างอุตสาหกรรมเทคโนโลยี
สังคมไทยมีพลวัฒน์ต่อการเปิดกว้างทางเพศในสนามแรงงานมากขึ้น ซึ่งถือเป็นแนวโน้มที่น่าสนใจอย่างยิ่ง
วิศวะ มธ.(TSE) จุดประกายการให้โอกาส
ส่งเสริมความเท่าเทียมสู่คนรุ่นใหม่
รองศาสตราจารย์ ดร.อุรุยา วีสกุล อาจารย์ประจำภาควิศวกรรมโยธา และ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุภมาศ สุชาตานนท์ อาจารย์ประจำภาควิศวกรรมอุตสาหการ ผู้ที่ผ่านทุกคำครหา ผ่านการแบ่งแยกจากเพศสภาพมาแล้ว และวันนี้ทั้ง 2 ท่านกำลังมุ่งมั่นที่จะพัฒนา TSE ให้เป็นจุดเริ่มต้นของพื้นที่ที่สร้างความเท่าเทียมในทุก ๆ ด้านให้นักศึกษาทุกคน
สิ่งที่จะทำให้ผู้หญิงในยุคนี้โดดเด่นคือความแตกต่าง และนำความแตกต่างนั้นมาประยุกต์ใช้กับงาน โดยเฉพาะความสามารถในการติดต่อ ประสานงาน ความละเอียดอ่อน ความรอบคอบ ความอ่อนหวาน หัวใจที่แข็งแกร่ง นี่คือจุดแข็งของเรา ซึ่งที่ผ่านมา TSE พบว่านักศึกษาหญิงทำงานผิดน้อยมาก การออกแบบก็มีความแตกต่าง ซึ่งผู้ชายยังขาดไป และตนเชื่อว่าผู้หญิงจะเข้ามาเสริมทำให้วิศวกรรมมีสีสันยิ่งขึ้น
การขับเคลื่อนของผู้หญิง ในการทะลายกำแพงการศึกษาโดยเฉพะคณะวิศวกรรมศาสตร์ที่มักมองว่าต้องเป็นชายในวันนั้น วันนี้ทำให้เราสามารถเลือกเรียน เลือกทำในสิ่งที่ชอบได้ ให้โอกาสทุกคนอย่างเท่าเทียม นับเป็นการลบภาพจำที่มองว่า วิศวกรรมต้องมีแต่ผู้ชาย
เจียไต๋แปนะนำนักปรับปรุงพันธุ์พืชหญิง
เบื้องหลังความยั่งยืนทางการเกษตร
จารุณี บัวบูชา ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการฝ่ายวิจัยและพัฒนา ถูกตั้งคำถาม “ผู้หญิงจบเกษตร จะไปทำอะไร”
ล่าสุดคือผลงานการปรับปรุงสายพันธุ์แตงโมเจียไต๋ Century Star แตงโมไร้เมล็ดสายพันธุ์ใหม่ ที่คว้ารางวัลสายพันธุ์ดีเยี่ยมระดับภูมิภาค หรือ รางวัล All-America Selections® Regional Winner จากสถาบัน All-America Selections (AAS) ประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งนอกจากช่วยเพิ่มตัวเลือกใหม่ให้ตลาดแล้ว ยังเพิ่มมูลค่าให้ผลิตผลทางการเกษตร
บทบาทของนักปรับปรุงพันธุ์พืช ถือได้ว่าเป็นผู้ที่พัฒนาพันธุ์ ทำให้มีสายพันธุ์ที่ให้ผลผลิตมากขึ้น มีคุณภาพ ตรงนี้ถือว่านักปรับปรุงพันธุ์พืชทำให้สายพันธุ์พืชมีความยั่งยืนต่อไป ไม่ว่าสภาพอากาศจะแปรเปลี่ยนไปอย่างไรก็ตาม เราก็ยังจะมีพันธุ์พืชที่สามารถปลูกได้… ถือว่าเป็นความยั่งยืนของวงการเกษตร โดยเฉพาะในส่วนของพืชที่เป็นอาหารของมนุษย์เรา
สามสาวเพื่อนรักนักขับ (แกร็บ)
โอกาส เป้าหมาย และความท้าทาย
ณพิชญา สาศิริ สาวร้อยเอ็ดคนขยันที่เชื่อว่าโอกาสมีอยู่เสมอสำหรับทุกคน ปนัดดา พิมพ์ประสาร สาวมั่นที่มีเป้าหมายแน่วแน่ในชีวิต และ อณัญญา วิสุทธิสระ คุณแม่เลี้ยงเดี่ยวนักสู้ผู้ฟันฝ่าอุปสรรคเพื่อส่งลูกสาวให้ไปถึงฝั่งฝัน
เมื่อก่อนอาชีพขับรถรับ-ส่งผู้โดยสารอาจถูกมองว่าเป็นอาชีพสำหรับผู้ชายเท่านั้น อาจเป็นเพราะกรอบความคิดหรือค่านิยมเดิม ๆ แต่ปัจจุบันภาพคนขับรถให้บริการสาธารณะที่เป็นผู้หญิงกลายเป็นสิ่งที่คุ้นตามากขึ้น นอกจากนี้ เทคโนโลยียังได้เข้ามาช่วยอำนวยความสะดวกและยกระดับมาตรฐานความปลอดภัย ช่วยสร้างความอุ่นใจให้กับทั้งคนขับและผู้โดยสารมากยิ่งขึ้น
ตอนเริ่มขับแกร็บใหม่ ๆ คนจะชอบถามว่ากลัวไหม ซึ่งทั้งสามตอบอย่างมั่นใจทุกครั้งว่า ไม่กลัว เพราะแกร็บมีเทคโนโลยีช่วยติดตามตำแหน่งระหว่างการเดินทาง หากเกิดเหตุอันตรายก็มีปุ่มฉุกเฉินเรียกตำรวจได้ทันที และสามารถทราบข้อมูลเบื้องต้นของผู้โดยสาร ทำให้เรารู้สึกปลอดภัย ยิ่งตอนนี้มีบริการ GrabCar (Lady) ก็ยิ่งมั่นใจ อย่างช่วงเวลาดึก ๆ ก็จะเน้นรับผู้โดยสารที่เป็นผู้หญิงเพื่อความสบายใจของทั้งเราและลูกค้า
การขับแกร็บไม่เพียงแต่ช่วยสานฝันให้กับทั้งสามสาว แต่ยังนำพาพวกเธอให้มารู้จักกันจนกลายเป็นเพื่อนรักกันสนิทกันมากกว่าเพื่อนรวมงานเสียอีก
บางตัวอย่างที่กล่าวถึง มีคำตอบไม่ใช่แค่เป้าหมาย SDGs 5 แต่ด้วยความก้าวหน้าของความเท่าเทียมทางเพศสำหรับ 17 เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน