ACTIVITIES

กรุงศรีแนะ SME ให้ความสำคัญ ESG เพื่อการได้เปรียบทางการแข่งขัน ลดความเสี่ยงธุรกิจ

27 มิถุนายน 2565…เป็นไปตามพันธกิจของธนาคารในการให้ความสำคัญในเรื่อง ESG ไม่ว่าจะเป็นการสนับสนุนทางการเงินแก่โครงการเพื่อสังคมและความยั่งยืนควบคู่ไปกับการสนับสนุนลูกค้าให้บรรลุเป้าหมายการลดก๊าซเรือนกระจกผ่านการลงทุนและการปรับโครงสร้างการดำเนินงานที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม


ดวงกมล ลิมป์พวงทิพย์ ประธานคณะเจ้าหน้าที่ด้านลูกค้าธุรกิจ SME ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) กล่าวเปิดงานและต้อนรับวิทยากร

พูนสิทธ์ ว่องธวัชชัย ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ สายงานการพัฒนาด้านสิ่งแวดล้อม สังคมและธรรมาภิบาลสู่ความยั่งยืน ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) เป็นหนึ่งในวิทยากรที่ร่วมแบ่งปันมุมมอง กล่าวถึงความสำคัญของ ESG ที่มีต่อธุรกิจ หรือการดำเนินธุรกิจโดยคำนึงถึงมิติด้านสิ่งแวดล้อม สังคมและธรรมาภิบาล ถือเป็นหนึ่งในทางรอดธุรกิจยุคใหม่ ที่จะสร้างข้อได้เปรียบในการแข่งขันและช่วยพัฒนาองค์กรสู่ความยั่งยืน รวมถึงเป็นหนึ่งในเมกะเทรนด์ในโลกยุคใหม่ที่ทั้งผู้บริโภค สังคม ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียต่างๆ ล้วนให้ความสำคัญและคาดหวังต่อธุรกิจ อีกทั้งการเตรียมองค์กรเพื่อพร้อมรับความเสี่ยงของโลกที่เกี่ยวเนื่องกับ ESG ในอนาคต

“ภาคธนาคารได้มีการส่งเสริมสนับสนุนด้านเงินทุนสำหรับ ESG ให้กับองค์กรธุรกิจในทุกระดับ ไม่ว่าเป็นตราสารหนี้ประเภท ESG Bond การระดมทุนผ่านกองทุนยั่งยืน ESG Fund สินเชื่อพิเศษที่สนับสนุนโครงการเกี่ยวกับ ESG เช่น สินเชื่อโซล่ารูฟสำหรับธุรกิจ รวมถึงการพัฒนาผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับดิจิทัลเทคโนโลยี ที่ช่วยลดเอกสารและการเดินทางอันเป็นการช่วยลดการใช้ทรัพยากรที่ส่งผลกระทบกับสิ่งแวดล้อมได้ด้วยเช่นกัน”

รศ.ดร. สิงห์ อินทรชูโต หัวหน้าศูนย์สร้างสรรค์การออกแบบเพื่อสิ่งแวดล้อม ภาควิชานวัตกรรมอาคาร คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และหัวหน้าคณะที่ปรึกษาศูนย์วิจัยและนวัตกรรมเพื่อความยั่งยืน (RISC) ได้กล่าวถึงแนวคิดการสร้างความยั่งยืนของธุรกิจยุคใหม่ด้วยแนวคิด Resilience

“ท่ามกลางความไม่แน่นอนในอนาคต องค์กรต้องมองมากกว่าความยั่งยืน หรือ Sustainability ที่เน้นเรื่องการสร้างความสมดุล สู่แนวคิดแบบยืดหยุ่น หรือ Resilience ที่เน้นเรื่องการทำอย่างไรที่องค์กรจะต้องปรับตัวเพื่อตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงที่ไม่สิ้นสุดและยากที่จะคาดเดา โดยมีความสามารถในการ Bounce Back นั่นคือ ลุกขึ้นได้เร็วและกลับมาดีขึ้น แข็งแกร่งขึ้นอีกด้วย ซึ่งการเปลี่ยนแปลงที่องค์กรจะต้องเตรียมรับมือจะเกิดจากปัญหาและวิกฤตใน 3 ด้าน ได้แก่ ภัยพิบัติจากธรรมชาติและสภาพแวดล้อม Nature & Environment ปัญหาด้านความเป็นอยู่และโครงสร้างสาธารณูปโภค Living & Infrastructure ปัญหาความเหลื่อมล้ำทางสังคมและเศรษฐกิจ Society & Economy ”

ทั้งนี้ องค์กรควรเลือกพิจารณาจากปัญหาย่อยในแต่ละด้านที่เกี่ยวเนื่องกับธุรกิจของตนก่อน และนำนวัตกรรมมาช่วยจัดการกับปัญหาต่างๆเหล่านั้น

อาจารย์อภิทาน ลี รองผู้อำนวยการศูนย์บริการวิจัยและออกแบบ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (REDEK) อีกหนึ่งในวิทยากร ได้กล่าวถึงการนำแนวคิด Innovation Culture นวัตกรรมเพื่อขับเคลื่อนองค์กรอย่างยั่งยืน สร้างองค์กรที่มีนวัตกรรมที่เรียบง่ายและยั่งยืนแบบฉบับ SME โดยก้าวแรกของการสร้างนวัตกรรมจะถูกคิดขึ้นมาเพื่อแก้ไขปัญหาต่างๆขององค์กร (Pain Points)

“ ESG เป็นหนึ่งในปัญหาที่ขององค์กรสามารถแก้ไขได้ด้วยรูปแบบ Business Innovation ที่ไม่ใช่แค่เรื่องเทคโนโลยีและการพัฒนาผลิตภัณฑ์เท่านั้น ธุรกิจสามารถสร้างนวัตกรรมในส่วนขั้นตอนการทำงาน Process การสร้างประสบการณ์ให้กับลูกค้า เพื่อตอบโจทย์ ESG ได้ด้วยเช่นกัน รวมทั้งในส่วนอื่น ๆ ขององค์กรอีกด้วย ซึ่งปัจจัยความสำเร็จในการสร้างนวัตกรรม จำเป็นที่องค์กรจะต้องมี Innovation Culture ที่เกิดจากการสร้างโดยผู้นำองค์กรที่พร้อมจะรับฟังอย่างแท้จริง นำแนวคิดไปพัฒนาเป็นรูปธรรม และกล้าที่จะผิดพลาด”

ทั้งนี้การสร้างนวัตกรรมที่มุ่งตอบโจทย์ ESG สามารถเริ่มต้นโดยพิจารณาอย่างน้อยหนึ่งในสามปัจจัยนี้ก่อน คือ ผู้คน (People) โดยมองว่าเราทำสิ่งดีต่อสังคมได้อย่างไร โลก (Planet) โดยมองว่าเราสร้างสิ่งดีหรือส่งผลกระทบกับสิ่งแวดล้อมให้น้อยที่สุดได้อย่างไร กำไร (Profit) โดยมองว่าเรามีการค้าขายอย่างเป็นธรรมหรือไม่

ภารกิจของกรุงศรี ยังต้องเดินหน้าสนับสนุนลูกค้าของธนาคารให้สามารถก้าวผ่านสู่การเติบโตอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน ส่วนหนึ่งผ่านการจัดกิจกรรมเพื่อแบ่งปันข้อมูลและโอกาสธุรกิจให้กับลูกค้า ในรูปแบบกิจกรรมสัมมนาต่างๆอย่างต่อเนื่องอยู่เสมอ โดยผู้ประกอบการธุรกิจสามารถรับชมคลิปสัมมนาย้อนหลังได้ที่

You Might Also Like