30 พฤศจิกายน -1 ธันวาคม 2565…เกิดชุมชนนวัตกรรมขึ้นใน 753 ตำบล ครอบคลุมพื้นที่ 35 จังหวัดทั่วประเทศ เกิดการสร้างนวัตกรชุมชน 3,476 คน และเทคโนโลยีตลอดจนนวัตกรรมพร้อมใช้ รวมทั้งนวัตกรรมกระบวนการ สำหรับการแก้ปัญหาระดับชุมชนมากกว่า 860 นวัตกรรม
หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) ได้การจัดแสดงนิทรรศการผลงานวิจัยที่ได้รับการสนับสนุนทุนวิจัยจาก บพท.จำนวน 15 ชุดโครงการ ครอบคลุมพื้นที่ทั่วทุกภาคของประเทศ สิ่งเหล่านี้เป็นผลลัพธ์การดำเนินการแผนงานวิจัย”ชุมชนนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน” ในห้วงปีงบประมาณ 2563ต่อเนื่องถึงปีงบประมาณ 2565 ซึ่งเป็นห้วงเวลาที่ประเทศไทยเผชิญกับมรสุมเศรษฐกิจ และสถานการณ์การแพร่ระบาดอย่างรุนแรงของโควิด-19
ดร.กิตติ สัจจาวัฒนา ผู้อำนวยการหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) ขยายความต่อเนื่องถึงประเด็น การใช้ชุดความรู้ในโครงการนี้เข้าไปส่งเสริมให้ประเทศไทยพ้นวิฤตได้
“นอกจากการลงทุนขนาดใหญ่ของประเทศแล้ว อีกส่วนหนึ่งที่จะเป็นทางรอดของประเทศไทยด้วย จำเป็นต้องพัฒนาฐานราก ชุมชน ท้องถิ่น ให้เขามีองค์ความรู้ใหม่ ๆ เพื่อสร้างเศรษฐกิจที่ดีในชุมชน ลดความเหลื่อมล้ำรายได้ของคนฐานราก ความเหลื่อมของผู้ประกอบการธุรกิจขนาดใหญ่ ที่รัฐบาลลงทุนอยู่ก็จะเริ่มใกล้กันเข้ามา ทำให้เกิดความยั่งยืน”
อีกสิ่งหนึ่งที่บพท.ทำนอกเหนือจากการสนับสนุนเรื่องความรู้ คือ ดูแลผลการวิจัย ช่วยคิดแก้ปัญหาให้ ซึ่งเชื่อว่าเป็นการติดปีกปัญญา พัฒนาให้คน ปัจจุบันไม่ว่าจะอยู่ที่ไหนต้องทำให้ชุมชนมีพลังค้นหาตัวเองได้ มีพลังเสาะแสวงหาความช่วยเหลือจากภาครัฐ อบต. อบจ. นักวิชาการในพื้นที่เขาเอง สิ่งเหล่านี้บพท.ได้ออกแบบมาเพื่อการเกื้อกูลให้มีการพัฒนาขึ้น และเห็นภาพจากการทำงาน สองสามปีที่ผ่านมา พบว่าชุมชนท้องถิ่นมีความเข้มแข็ง มีความร่วมมือกันอย่างดี จะช่วยต่อยอดสิ่งที่ทำมาในอดีตเช่นสินค้าโอท้อป หรืออื่น ๆ เกิดความยั่งยืน
“จากความสำเร็จ ก็มีการต่อยอด เราใช้วิธีที่ว่าไฟลามทุ่ง เมื่อชุมชนใดเข้มแข็งแล้ว ต้องนำสื่อนั้นไปสานต่อในพื้นที่อื่น ซึ่งมีสภาพปัญหาหรือแนวทางการพัฒนาคล้าย ๆ กัน ก็เป็นการติดปีกด้วยความคิดใหม่ ๆ เช่นทอผ้า จากแบบดั้งเดิม ก็ให้มีเครื่องจักรเข้าไปช่วยเพื่อให้เส้นไหมที่ทอดีขึ้น จดจำลายผ้าด้วยเทคโนโลยี เหล่านี้สามารถส่งต่ออีกพื้นที่ แต่ลวดลายไม่เหมือนกันแล้ว สีแตกต่างตามพื้นที่ ทำให้เกิดการพัฒนา จากหนึ่งกลายเป็นสอง เป็นสิบ เป็นร้อย เป็นพัน หมื่น โดยการวัดความสำเร็จจะอยู่ที่การสร้างรายได้ให้กับตัวเองกับกลุ่มเขาได้มากเพียงใด โซึ่งจะใช้ใช้บัญชีครัวเรือน บัญชีต้นทุน ทุกอย่างเป็นระบบ”
ดร.กิตติ กล่าวถึงความท้าทาย มหาวิทยาลัยในท้องที่ต้องเป็นที่พึ่งทางปัญญา ให้ความรู้ การแก้ปัญหากับท้องถิ่นหาความรู้ใหม่ ๆ มาให้ท้องถิ่น ทั้งนี้มหาวิทยาลัยที่ได้ทุนต้องให้นักศึกษาเข้าไปทำงานในพื้นที่
ทั้งนี้ การจัดแสดงนิทรรศการผลงานวิจัยที่ได้รับการสนับสนุนทุนวิจัยจาก บพท.จำนวน 15 ชุดโครงการ ครอบคลุมพื้นที่ทั่วทุกภาคของประเทศ เช่น
-โครงการพัฒนาชุมชนนวัตกรรมด้วยการยกระดับศักยภาพด้านการท่องเที่ยวนโยบายสาธารณะ วิสาหกิจชุมชน และผลิตภัณฑ์ชุมชน โดยมหาวิทยาลัยพะเยา
-การยกระดับเศรษฐกิจฐานรากด้วยนวัตกรรมและเทคโนโลยีภายใต้บริบทชุมชน “เขา ป่า นา เล” ในพื้นที่จังหวัดตรังและจังหวัดนครศรีธรรมราช โดยมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย-การพัฒนาเศรษฐกิจฐานราก
-ต้นแบบแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิตอย่างยั่งยืนด้วยนวัตกรรมพร้อมใช้และนวัตกรชุมชน โดยมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน
-นวัตกรรมการพัฒนาระบบและกลไกการจัดการตนเองของชุมชนเพื่อรองรับสังคมสูงวัย โดยความร่วมมือขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นภาควิชาการและภาคีเครือข่ายจังหวัดอุตรดิตถ์ แพร่ น่าน โดยมหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์
-การยกระดับเศรษฐกิจและการสร้างความเข้มแข็งของชุมชนในพื้นที่เมืองเกษตรอุตสาหกรรมเพื่อสร้างเป็นต้นแบบชุมชนแห่งการเรียนรู้/ นวัตกรรมด้วยการจัดการชุมชนสร้างการเรียนรู้บนฐานทรัพยากร โดยมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
ดร.กิตติ กล่าวในท้ายที่สุดไทยทำไทยใช้ไทยเจริญ เมื่อเรื่องนี้บพท.พัฒาแล้ว ขอให้ใช้สินค้าไทย บพท.ต้องการคำแนะนำเพื่อปรับปรุงให้ดีขึ้นต้องการให้ทางธุรกิจให้ความสำคัญกับคุณค่าต้นทาง คนทำและชุมชนก็มีรายได้มากขึ้นเช่นเดียวกัน