ACTIVITIES NEXT GEN

DEATH FEST 2025 ชวนคิด วางแผน เตรียมพร้อม เพราะความตายเป็นเรื่องใกล้ตัว x ส่วนหนึ่งของชีวิต

22-23 มีนาคม 2568…“เราจะตายอย่างไร?” เป็นคำถามที่คนส่วนใหญ่ไม่อยากคิดถึง แต่คำถามนี้กลับกลายเป็นประเด็นหลักที่กระตุ้นให้เราตระหนักถึงคุณค่าของการมีชีวิต และการจากไปอย่างสงบ

วรรณา จารุสมบูรณ์ ประธานกลุ่ม Peaceful Death ผู้ผลักดันเรื่อง “สิทธิในการตายดี” ทรงกลด บางยี่ขัน บรรณาธิการบริหาร The Cloud ผู้อยู่เบื้องหลังแนวคิดการออกแบบนิทรรศการ และประสิทธิ์ วิทยสัมฤทธิ์ Co-founder และ Creative Director ชูใจ กะ กัลยาณมิตร ผู้ดูแลประสบการณ์ภายในงาน Death Fest 2025: Better Living, Better Leaving

 

วรรณา ,ทรงกลด ,ประสิทธิ์

นับเป็นงานแฟร์ครั้งแรก ! ที่รวบรวมองค์ความรู้ บริการ และโซลูชันเพื่อการ “อยู่ดี-ตายดี” อย่างครบวงจร ภายในงานมีทั้ง นิทรรศการ เวิร์กช็อป เสวนา และโซนจำลองประสบการณ์เกี่ยวกับการเตรียมตัวก่อนตาย

 

“เพราะความตายไม่ใช่เรื่องไกลตัว แต่เป็นสิ่งที่เราควรวางแผนล่วงหน้า อยากให้ความตายเป็นเรื่องที่พูดได้” นี่คือแนวคิดหลักของ Death Fest 2025 ที่รวมทุกแง่มุมของความตายไว้ในที่เดียว ครอบคลุมทุกด้านเกี่ยวกับความตาย ตั้งแต่การวางแผนการรักษาพยาบาล การจัดการทรัพย์สิน การเลือกโลงศพ ไปจนถึงการพิจารณาว่าตัวเราอยากให้ช่วงสุดท้ายของชีวิตเป็นแบบไหน ฯลฯ

บูธภาคธุรกิจที่ร่วมงาน เช่น…หีบศพจากสุริยาหีบศพมีหลายราคาที่นำมาแสดง เริ่มจาก 2พันบาท-1ล้านบาท อีกทั้งมีแพคเกจให้ผู้สั่งจอง….พร้อมกันนี้ในงานได้ให้ผู้ชมทดลองทดสอบการการนอนโลงศพได้ ซึ่งมีผู้ชมงานได้ทดสอบไม่น้อย
….การวางแผนจัดการทรัพย์สินก่อนตาย
…และก่อนจะไปถึงจุดสุดท้าย การเป็นอยู่ที่ดีก็สามารถเลือกใช้วัสดุที่ป้องกันการลื่นล้มในบ้านของผู้สูงวัยในบ้านได้ด้วยผลิตภัณฑ์ของ SCG

เพื่อให้ทุกคนได้เรียนรู้ “การตายดี” ไม่ใช่แค่เรื่องของจุดจบ แต่เป็นการวางแผนเพื่อให้ชีวิตมีความหมายจนถึงวินาทีสุดท้าย

เริ่มต้นที่พื้นที่นี้กันก่อน เราจะเป็นคนเลือกอายุ…ในภาพผู้ชมงานเลือกอายุที่จะอยู่ถึง 75 ปี…ระบบจะคำนวณออกมาว่า นับจากนี้คุณมีเวลาเหลือกี่วันที่จะอยู่บนโลกใบนี้ โดยคุณใช้ชีวิตผ่านไปแล้วกี่เปอร์เซ็นต์ !

 

งานนี้ เป็นมากกว่านิทรรศการ แต่เป็น แพลตฟอร์มที่ช่วยให้ทุกคนเข้าถึงแนวคิด ‘การจากไปอย่างสงบ’ อย่างทั่วถึงและเท่าเทียม Death Fest ถูกออกแบบให้เหมือนกับ Wedding Fair ที่เปิดโอกาสให้ผู้เข้าชมเลือกบริการที่เหมาะสมกับตัวเอง เพราะสุดท้ายแล้ว “การเตรียมตัวตายที่ดีที่สุด คือการใช้ชีวิตอย่างดีที่สุด”

Death Fest เกิดขึ้นจากความร่วมมือของหลายองค์กรชั้นนำ เช่น
📌 สสส. – สนับสนุนองค์ความรู้ด้านสุขภาวะและการดูแลระยะท้าย
📌 สภากาชาดไทย และ กรมการแพทย์ – ผลักดันการรักษาแบบประคับประคอง (Palliative Care)
📌 สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ – ส่งเสริมเรื่องสิทธิในการเลือกการรักษาช่วงสุดท้าย
📌 โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ – พัฒนาโครงการสมุดเบาใจ เพื่อช่วยให้ผู้คนสามารถวางแผนวาระสุดท้ายของตนเองได้อย่างมีศักดิ์ศรี

 

ผู้ร่วมงานจะได้รับ “สมุดเบาใจ” คือเครื่องมือวางแผนล่วงหน้า ซึ่งผู้ชมหลายคนเมื่อเดินดูงานแล้ว ตกตะกอนความคิด ก็สามารถเลือกหัวข้อต่าง ๆ เช่น สภาวะใดบ้าง ที่ท่านยอมรับไม่ได้
-ไม่มีสติรู้คิด จำคนรักไม่ได้
-อยู่ในสภาพผักถาวร (นอนไม่รู้สึกตัว ไม่ตอบสนอง ช่วยเหลือตัวเองไม่ได้)
-ต้องใช้เครื่องช่วยหายใจไปตลอดชีวิต
…หรือ…
ฉันต้องการเสียชีวิตที่…บ้าน…โรงพยาบาล …อื่น ๆ

“เราออกแบบให้ DEATH  FEST เป็นงานแฟร์ที่ทุกคนเข้าถึงได้ ไม่ว่าคุณจะเป็นผู้สูงอายุที่อยากเตรียมความพร้อม คนวัยทำงานที่อยากวางแผนทรัพย์สิน หรือแม้แต่เยาวชนที่ต้องการเข้าใจแนวคิดเรื่องชีวิตและความตายอย่างลึกซึ้ง งานนี้จะเป็นพื้นที่ที่ทำให้ ความตายไม่ใช่เรื่องต้องปิดกั้น แต่เป็นเรื่องที่ควรเรียนรู้ เพื่อให้เราสามารถดูแลตัวเองและคนที่เรารักได้ดียิ่งขึ้น”

 

เด็กหรือเยาวชนเกี่ยวอะไรด้วย !? เพราะเรื่องความตายเป็นเรื่องใกล้ตัว เป็นส่วนหนึ่งของชีวิต ดังนั้นการคุยเรื่องนี้พ่อแม่ ผู้ปกครองสามารถพูดคุยกับเด็ก ๆ ได้เพื่อสร้างความเข้าใจ

 

นิทรรศการแบ่งโซนหลัก ตามช่วงชีวิต ได้แก่
🔹 แก่ดี – การเตรียมตัวเข้าสู่วัยชรา สุขภาพ และการดูแลตนเอง
🔹 เจ็บดี – ความเข้าใจเรื่องการรักษาพยาบาล และการดูแลผู้ป่วยระยะท้าย
🔹 เตรียมตัวตายดี – การวางแผนด้านทรัพย์สิน เจตจำนงทางการแพทย์ และพิธีกรรม
🔹 ตายดี – ทางเลือกของการจัดการร่างกายหลังความตาย และมุมมองด้านศาสนา

นิทรรศการที่ชวนให้ตั้งคำถามกับชีวิตและความตาย “อยากจากไปอย่างไร?”

เมื่อเดินเข้างาน เราเตรียมตัวตายอย่างไร
…ด้านขวามีการเขียนวางแผนทุกอย่าง เจ็บป่วยก็รักษาแบบประคับประคอง ขั้นสุดท้ายขออยู่กับครอบครัว เป็นต้น
…ส่วนด้ายซ้าย ตรงกันข้าม ไม่มีการเตรียมเตรียม เมื่อเจ็บป่วย ลูกมีความเห็นในการรักษาแตกต่างกัน ทะเลาะกัน เมื่อเข้าสู่การรักษาก็พยายามยื้อชีวิตเพื่อให้คนที่รักอยู่กับเราได้นานวัน โดยไม่รู้ว่านั่นคือความเจ็บปวดของการใช้เครื่องมือในการยื้อ อาจจะช่วยยื้อชีวิตได้แต่ก็เป็นการนอนติดเตียง ในเวลาต่อมาเป็นต้น

 

เมื่อเดินเข้าสู่งาน Death Fest สิ่งแรกที่สะดุดตาคือ “เส้นทางจำลองชีวิต” ที่ให้ผู้เข้าชมเดินผ่านช่วงเวลาต่างๆ ของชีวิตไปจนถึงช่วงสุดท้าย บรรยากาศของนิทรรศการถูกออกแบบให้ผู้เข้าชมได้สัมผัสถึง “การเลือก” ว่าอยากให้วาระสุดท้ายของตัวเองเป็นอย่างไร

🔹 การรักษาแบบประคับประคอง (Palliative Care) – ทำความเข้าใจกับทางเลือกในการรักษาเมื่อถึงช่วงสุดท้ายของชีวิต เราจะยื้อชีวิตอย่างไม่มีที่สิ้นสุด หรือจะเลือกการดูแลแบบประคับประคองเพื่อให้จากไปอย่างสงบ
🔹 สมุดเบาใจ – ผู้เข้าชมสามารถเขียนสิ่งที่ต้องการให้คนรอบข้างทำเมื่อตนเองจากไป เป็นการเตรียมความพร้อมด้านจิตใจและการวางแผนล่วงหน้า
🔹 การวางแผนทรัพย์สินและมรดก – เพราะการจากไปโดยไม่มีการจัดการที่ดี อาจทำให้คนข้างหลังต้องเผชิญกับปัญหาตามมา

 

“ตายเหมือนกัน แต่เราจะตายแบบไหน?”

การเดินผ่านนิทรรศการนี้ ไม่ใช่เพียงแค่เรื่องของความตาย แต่เป็นเรื่องของ “คุณภาพชีวิตก่อนตาย” ที่เราทุกคนสามารถกำหนดได้

 

เทคโนโลยี AI และการออกแบบนิทรรศการสุดล้ำ

 

ด้านนอก และด้านในเป็นสตูดิโอถ่ายรูป

Death Fest ไม่เพียงแต่ใช้ ภาพ เสียง และกิจกรรมโต้ตอบ เท่านั้น แต่ยังมี เทคโนโลยี AI ที่ช่วยให้ผู้เข้าชมสามารถ ถ่ายภาพคู่กับบุคคลที่จากไปแล้ว ผ่านระบบ AI Reconstruction เพื่อสร้างภาพที่ให้ความรู้สึกว่าเราได้เจอคนที่รักอีกครั้ง

Death Photo เป็นอีกหนึ่งไฮไลต์ของงาน ที่ให้ผู้เข้าร่วมสามารถถ่ายภาพสุดท้ายของตัวเอง พร้อมกับเขียนข้อความสุดท้ายที่อยากฝากถึงโลกใบนี้

 

เมื่ออาหารกลายเป็นสัญลักษณ์ของความทรงจำ

Death Fest ยังนำเสนอแนวคิดเกี่ยวกับ “อาหารมื้อสุดท้าย” ผ่านโซน Taste of Memory ที่รวบรวมเมนูอาหารที่มักถูกเสิร์ฟในงานศพจากหลากหลายวัฒนธรรม ทั้งอาหารไทย อาหารจีน และอาหารฝรั่ง พร้อมตั้งคำถามกับผู้เข้าชมว่า

💬 “ถ้าคุณสามารถเลือกอาหารมื้อสุดท้ายได้ คุณจะเลือกอะไร?”

 

เมื่อความตายไม่ใช่เรื่องไกลตัวอีกต่อไป

Death Fest ไม่ได้ทำให้ความตายดูน่ากลัว แต่กลับเปิดมุมมองใหม่ว่า “การเตรียมตัวก่อนตาย” คือการดูแลตัวเองและคนรอบข้างในแบบที่ดีที่สุด

 

วิภาวี ภู่ทิม ผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้าย ถูกเลือกมาจากคนที่สมัครเข้ามาเป็นประธานงานเปิด DEATH FEST 2025 โดยผู้จัดงานเล่าว่า เลือกเธอเพราะเธออยู่ในประสบการณ์จริง พร้อมการวางแผน

หนึ่งในไฮไลต์ของงานคือประธานกล่าวเปิดงานโดย วิภาวี ภู่ทิม ผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้ายที่ตัดสินใจเลือกการรักษาแบบประคับประคองแทนการทำคีโม เธอได้กล่าวว่า

“ฉันเลือกที่จะใช้เวลาที่เหลืออยู่อย่างมีความสุข ไปดูคอนเสิร์ตศิลปินที่ชอบ บอกแม่ว่าไม่ต้องเสียใจ และจัดการทุกอย่างเพื่อให้คนที่รักไม่ต้องวุ่นวายเมื่อฉันจากไป เพราะความตายเป็นเรื่องธรรมชาติ และเราสามารถออกแบบมันได้”

เพราะสุดท้ายแล้ว…
“การวางแผนความตายที่ดี คือการใช้ชีวิตที่ดีขึ้น”

อ่านอีกครั้งช่วยเตือนใจหลังจากชมงาน DEATH FEST 2025

📍 Death Fest 2025 – นิทรรศการที่ทำให้คุณมองความตายในมุมใหม่
📅 วันที่: 21 – 23 มีนาคม 2568
📍 สถานที่: IMPACT Exhibition Hall 6
🎟️ เข้าชมฟรี! ลงทะเบียนล่วงหน้าเพื่อรับกิจกรรมพิเศษ

You Might Also Like