7 มิถุนายน 2564…เป็นงานที่อิเกียดำเนินงานมานานและต่อเนื่อง เช่นการทำงานใน ไทย จอร์แดน และอินเดีย ถ่ายทอดงานดีไซน์ร่วมสมัยผสมผสานงานหัตถกรรมท้องถิ่น ออกแบบเป็นของใช้ในบ้านที่สะท้อนถึงวัฒนธรรม วิถีชีวิต และงานฝีมือพื้นบ้าน
Lars Svensson Head of Sustainability IKEA Southeast Asia and Mexico หม่อมหลวงดิศปนัดดา ดิศกุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหารมูลนิธิแม่ฟ้าหลวงฯ และ พลอยพรรณ ธีรชัย – เดชา อรรจนานันท์ ผู้ก่อตั้ง THINKK Studio ร่วมพูดคุยถึงคอลเล็คชั่นพิเศษ “LOKALT/ลูคอลต์” สำหรับอีเกีย แล้วการทำงานด้านนี้มีมานาน เพื่อผนวกแนวคิดด้านความยั่งยืนให้เป็นส่วนหนึ่งของธุรกิจ และร่วมส่งเสริมโครงการต่าง ๆ ที่สร้างประโยชน์ให้แก่เยาวชนและสิ่งแวดล้อม
ในประเทศไทยก็ใช้ศักยภาพของดอยตุง อย่างต่อเนื่องตั้งแต่แรกที่เริ่มทำงานนี้ด้วยกัน เพราะช่างฝีมือมีคุณภาพ โรงงานก็มีความพร้อม โดยในปีนี้ คอลเล็คชั่นพิเศษ “LOKALT/ลูคอลต์” อิเกียได้ร่วมงานกับสองนักออกแบบจาก THINKK Studio โดยพลอยพรรณ ธีรชัย และ เดชา อรรจนานันท์ ผ่านความร่วมมือกับทีมช่างฝีมืองานเครื่องปั้นดินเผาจากโครงการพัฒนาดอยตุงฯ ซึ่งเป็นธุรกิจเพื่อสังคมและเป็นพันธมิตรที่ยาวนานของอิเกีย ตั้งแต่ พ.ศ. 2550 สร้างงานให้กับกลุ่มชาติพันธุ์ในภาคเหนือของประเทศไทย
คอลเล็คชั่น LOKALT/ลูคอลต์ สองนักออกแบบได้นำเสนอชุดหัตถกรรมไทยและการจัดโต๊ะอาหารแบบไทยๆ ที่จะทานอาหารร่วมกัน โดยเพิ่มความทันสมัยและฟังก์ชั่นการใช้งานเข้าไป สองนักออกแบบไทยอธิบายเพิ่มเติม หากใครมีโอกาสเห็นในอิเกีย บางนา ในวันที่ 3 มิถุนายน 2564 และทางออนไลน์ IKEA.co.th ในวันที่ 7 มิถุนายน 2564 เป็นต้นไป
“อิเกียได้จัดเวิร์คช็อปขึ้นที่ดอยตุง เพื่อให้ดีไซเนอร์ทั้งหมดได้พูดคุยกันเป็นครั้งแรกก่อนแยกย้ายกันไปทำงาน สำหรับขั้นตอนการทำงานของเรา เริ่มจากการรวบรวมข้อมูลทั้งหมด การเยี่ยมชมโรงงานและนำมาผสมผสานเข้ากับงานออกแบบของเรา ซึ่งเป็นโอกาสที่ดีในการร่วมงานกับอิเกีย และดอยตุง อย่างใกล้ชิดในทุกกระบวนการ เราหวังว่าผลิตภัณฑ์แต่ละชิ้นจะทำให้ผู้ที่นำมันกลับบ้านรู้สึกถึงภูมิปัญญางานฝีมือของไทย THINKK Studio มักจะผสมผสานการออกแบบไทยร่วมสมัยเข้ากับงานหัตถกรรมแบบดั้งเดิม สำหรับคอลเล็คชั่นนี้จะสะท้อนถึงงานทำมือ หรือ craftmanship ไว้โดยการประทับรอยนิ้วมือไว้บนพื้นผิวของ จาน ชาม แจกัน และยังสะท้อนให้เห็นถึงประเพณี ธรรมเนียมความนอบน้อมในการมอบสิ่งของให้ผู้อาวุโสโดยการใช้ทั้งสองมือส่งมอบสิ่งของต่างๆ เราจึงได้เพิ่มด้ามจับ 2 ข้างไว้บนชามเซรามิกของ LOKALT/ลูคอลต์”
โครงการริเริ่มของ IKEA Social Entrepreneur โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อทำให้การใช้ชีวิตประจำวันดีขึ้น สร้างอาชีพระยะยาวให้กับผู้หญิง และกลุ่มผู้ด้อยโอกาส เช่น ผู้ลี้ภัย ผ่านการทำงานร่วมกับนักออกแบบท้องถิ่น และองค์กรธุรกิจเพื่อสังคมในการผลิตสินค้า ซึ่งเป็นงานหัตถกรรมสมัยใหม่ที่ได้รับแรงบันดาลใจจากประเพณีและวิถีชีวิตของแต่ละประเทศ ภายใต้โครงการนี้ อิเกียได้พัฒนาผลิตภัณฑ์ร่วมกับช่างฝีมือตั้งแต่ปี 2556 จนถึงปัจจุบันมีการสร้างงานกว่า 30,000 ตำแหน่งให้กับช่างฝีมือและธุรกิจในชุมชนขนาดเล็ก ซึ่งการเดินทางครั้งนี้จะยังคงดำเนินต่อไป