2 กุมภาพันธ์ 2565…บรรลุเป้าหมายแรกลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ 300,000 ตัน CO2 จากสาขากระบวนการทางอุตสาหกรรมและการใช้ผลิตภัณฑ์ มาตรการทดแทนปูนเม็ด และเพื่อเป็นการสนับสนุนนโยบายภาครัฐในการมุ่งสู่ Net Zero จึงพร้อมสนับสนุนเพิ่มเป้าหมายการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกให้ได้ 1,000,000 ตัน CO2ในปี พ.ศ. 2566
รองศาสตราจารย์ ดร.ปิยะบุตร วานิชพงษ์พันธุ์ นายกสภาวิศวกร กล่าวว่า “การลดก๊าซเรือนกระจกเป็นเรื่องสำคัญ โดยสภาวิศวกรมุ่งส่งเสริมให้วิศวกรในทุกสาขามีส่วนร่วมดำเนินการ ปัจจุบัน Requirement โลกให้ความสำคัญกับเรื่องการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ อีกทั้งเทคโนโลยีมีความก้าวหน้า วัสดุ และผลิตภัณฑ์ที่ใช้ในงานโครงสร้างอาคารได้รับการวิจัยและพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ทั้งด้านความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม มีมาตรฐาน มีความคงทน สอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน หรือ SDGs ซึ่งเป็นวาระสำคัญที่ร่วมกันของโลก”
อาคารที่ทำการสภาวิศวกรแห่งใหม่ พื้นที่ใช้สอยประมาณ 9,000 ตารางเมตรนี้ สภาวิศวกรให้ความสำคัญถึงสภาพแวดล้อมทางภายภาพ กรอบอาคาร ระบบวิศวกรรม และมุ่งการอนุรักษ์พลังงานตามมาตรฐานอาคารเขียวไทย (TREES) รวมทั้งสภาวิศวกรส่งเสริมให้ใช้ ‘ปูนซีเมนต์ไฮดรอลิก’ มาตรฐาน มอก. 2594 ซึ่งเป็น low carbon cement ในการก่อสร้าง สามารถช่วยลดก๊าซเรือนกระจกได้ถึง 62,000 กิโลกรัม CO2(เทียบเท่าปลูกต้นไม้ 7,341 ต้น)