ALTERNATIVE

ฟาร์มแนวตั้งในร่ม เป็น “การเกษตรแห่งอนาคต” ได้จริงหรือ?

30 สิงหาคม 2565…ฟาร์มในร่มควบคุมเข้มงวดในเขตอุตสาหกรรมเซาท์ซานฟรานซิสโก ใช้หุ่นยนต์สี่ตัวชื่อ John, Paul, George และ Ringo ย้ายต้นกล้าจากถาดบาร์โค้ดไปยังแท่งสูง 15 ฟุตที่แขวนแนวตั้งภายในห้องปลูกขนาด 4,800 ตารางฟุตอย่างระมัดระวัง

ภายในพื้นที่ที่ถูกสุขลักษณะ ซึ่งดําเนินการโดย Plenty บริษัททําฟาร์มในร่ม ไม่ได้ปลูกบนดิน ไม่ใช้แสงแดดหรือรถแทรกเตอร์ แต่เป็นแถวของพืชที่แขวนอยู่ ส่องสว่างด้วยไฟ LED หลากสี ตรวจสอบอย่างระมัดระวังโดยกล้องเซ็นเซอร์และปัญญาประดิษฐ์ เมื่อมีบางแท่งพร้อมเก็บเกี่ยว กระบวนการอัตโนมัติที่ชวนให้นึกถึงสายพานลําเลียงก็จะเริ่มขึ้น

หุ่นยนต์ชื่อ Garfunkel (คู่หูที่อยู่ใกล้เคียงชื่อ Simon) ค่อยๆ จับ และหมุนแท่งสูง ก่อนจะวางมันลง เพื่อตัดแต่งด้วยเครื่องจักร คนงานในชุดจั๊มสูทตรวจสอบผลผลิตเพื่อหาต้นที่ใช้ไม่ได้ แต่แทบไม่มีเลย จากนั้นผลิตภัณฑ์ที่ปราศจากสารกําจัดศัตรูพืชจะถูกบรรจุ วางบนรถบรรทุก เพื่อส่งไปยังตลาดท้องถิ่น ซึ่งลูกค้าจะเป็นคนแรกที่สัมผัสมัน

ยินดีต้อนรับสู่โลกของการทําฟาร์มแนวตั้งในร่ม, ขึ้นอยู่กับว่าคุณถามใคร, จะปฏิวัติอนาคตของการเกษตรในโลกที่กำลังร้อนขึ้น หรือเป็นการแก้ปัญหาสภาพภูมิอากาศเนื่องจากต้นทุนพลังงานสูง

“เรากําลังก้าวเข้าสู่ยุคที่ภาวะโลกรวนกําลังเปลี่ยนแปลงจุดที่ว่าเราเคยปลูกพืชอะไร และเคยทำด้วยวิธีใด” Nate Storey ผู้ก่อตั้งร่วม และผู้อำนวยการฝ่ายวิทยาศาสตร์ของ Plenty กล่าว “ท้ายที่สุดแล้ว ผมคิดว่าเรากําลังทำการเกษตรที่จะกลายเป็นอนาคตสําหรับมวลมนุษยชาติ”

ด้วยจํานวนประชากรโลกที่คาดว่าจะสูงถึงเกือบ 10,000 ล้านคนภายในปี 2050 ซึ่งส่วนใหญ่จะอาศัยอยู่ในเมืองต่างๆ ผู้เชี่ยวชาญกล่าวว่าจะต้องเพิ่มระดับการผลิตอาหารทั่วโลกขึ้นอีก 70% จากปัจจุบัน แต่ด้วยพื้นที่เกษตรกรรมที่ขาดแคลนเนื่องจากวิกฤตสภาพภูมิอากาศและการขยายตัวของเมือง จึงเห็นได้ชัดว่าระบบอาหารปัจจุบันไม่พร้อม

คาดว่ามีฟาร์มแนวตั้งมากกว่า 2,000 แห่งในสหรัฐอเมริกาที่กำลังผลิตวัตถุดิบ เช่น ผักกาดหอม สมุนไพร และผลเบอร์รี่ ผู้นําตลาดเช่น Plenty, Bowery, Kalera และ AeroFarms สามารถทํางานได้ 365 วันต่อปีโดยไม่ต้องกังวลเรื่องสภาพอากาศและบริษัทต่างๆเช่น AppHarvest และ Gotham Greens ผลิตในเรือนกระจก ซึ่งพวกเขามองว่าตัวเองเป็นส่วนหนึ่งของการแก้ปัญหา และนักลงทุนก็เห็นด้วย

การทําฟาร์มในร่มระดมทุนได้มากกว่า 1,000 ล้านดอลลาร์ในปี 2021 ซึ่งมากกว่าการระดมทุนปี 2018 และ 2019 รวมกัน และคาดว่าทั่วโลก อุตสาหกรรมนี้จะเติบโตเป็น 9,700 ล้านดอลลาร์ภายในปี 2026

เมื่อต้นปีนี้ Walmart ได้ประกาศการลงทุนใน Plenty ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการระดมทุน Series E มูลค่า 400 ล้านดอลลาร์ ยักษ์ใหญ่ค้าปลีกจะจัดหาผักใบเขียวสําหรับร้านค้าในแคลิฟอร์เนียทั้งหมดจากฟาร์มเรือธงแห่งใหม่ของ Plenty ขนาด 95,000 ตารางฟุตในเมืองคอมป์ตัน รัฐแคลิฟอร์เนีย ซึ่งจะเปิดให้บริการในต้นปีหน้า

นอกจากนี้ยังมีการปลูกสตรอเบอร์รี่ของ Driscoll ใน Laramie, Wyoming, ฟาร์มวิจัยและพัฒนาเป็นส่วนหนึ่งของสัญญาฉบับใหม่

แต่นักวิจารณ์ก็ให้ความเห็นว่าต้นทุนพลังงานมหาศาลที่จําเป็นในการดําเนินการฟาร์มแนวตั้งและโรงเรือน ทําให้การปฏิบัติดูเหมือนอยู่ไกลจากเรื่องความเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เมื่อเทียบกับการสร้างแบรนด์ของพวกเขา รวมถึงตั้งคําถามว่าพวกมันสามารถเลี้ยงชาวโลกที่อาศัยแคลอรี่จากธัญพืช เช่น ถั่วเหลือง ข้าวโพด และข้าวสาลีได้อย่างไร

ฟาร์มแนวตั้งถูกออกแบบมาเพื่อให้ได้ผลิตผลผลิตสูงกว่าการทําฟาร์มกลางแจ้งแบบดั้งเดิมหลายร้อยเท่า โดยใช้พื้นที่เช่นอาคารหรือตู้คอนเทนเนอร์ขนส่งในขณะที่ใช้น้ําน้อยลง 70 ถึง 95% เนื่องจากสามารถใช้ซ้ำ และรีไซเคิลน้ําแทนที่จะเสียไปจากการบริหารด้านชลประทานหรือการระเหยที่ไม่ดี ผลิตภัณฑ์สามารถตรวจสอบย้อนกลับได้อย่างสมบูรณ์ตั้งแต่เมล็ดจนถึงการวางบนชั้นวางของ พริกคงความสดใหม่ได้นานขึ้น และมีความเสี่ยงเพียงเล็กน้อยต่อแบคทีเรียเช่น E coli ซึ่งนําไปสู่การเรียกคืนผักกาดหอมโรเมนจํานวนมากในปี 2019 และ 2020 เนื่องจากไม่มีการปนเปื้อนจากน้ําเสีย หรือต้องขนส่งไกลๆด้วยรถบรรทุกและเครื่องบินบรรทุกสินค้า

ขณะที่ Irving Fain ซีอีโอและผู้ก่อตั้ง Bowery Farming ในแมนฮัตตันให้ความเห็นว่า สิ่งที่ชัดเจน มนุษยชาติกําลังอยู่ในโลกที่วางใจไม่ได้ และความไม่แน่นอนมีมากขึ้นเรื่อย ๆ

“เราจําเป็นต้องทำให้ทั้งสองเรื่องเกิดขึ้น และต้องลงมือทําทันที”

ฟาร์มอัจฉริยะของ Bowery ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือรวบรวมข้อมูลแบบเรียลไทม์หลายพันล้านจุดผ่านเซ็นเซอร์และกล้องที่ป้อนเข้าสู่อัลกอริทึมการเรียนรู้ของเครื่อง เพื่อส่งมอบผลผลิตให้กับร้านขายของชํามากกว่า 1,100 แห่ง รวมถึง Whole Foods, Albertsons, Safeway และ Amazon

ในกระบวนการพยายามหาทางแก้ไขช่องโหว่ในระบบผลิตอาหาร ผู้ประกอบการอย่าง Fain กล่าวว่า พวกเขากําลังรวบรวมความรู้เกี่ยวกับการเจริญเติบโตของพืชและพืชไร่ ที่ต้องใช้เวลาหลายศตวรรษสะสมข้อมูล

“เรากําลังจินตนาการถึงการทําฟาร์มใหม่ สร้างสรรค์ห่วงโซ่อุปทานอาหารสดขึ้นใหม่ สร้างห่วงโซ่อุปทานที่ง่ายกว่า ปลอดภัยกว่า สร้างความมั่นใจในการจัดหามากกว่า และท้ายที่สุดก็ต้องยั่งยืนกว่ามากเช่นกัน”

Fain เพิ่มเติมว่า เขายังไม่คิดไกลถึงขนาดที่จะบอกว่าอุตสาหกรรมเกษตรในร่มจะเข้ามาแทนที่ หรือกระทั่งแซงการเกษตรแบบดั้งเดิม

แต่ไม่ใช่ทุกคนที่มองโลกในแง่ดีเกี่ยวกับโอกาสของการทําฟาร์มในร่ม

Tamar Haspel คอลัมนิสต์วอชิงตันโพสต์และพิธีกรร่วมของพอดคาสต์ Climavores เรียกการทําฟาร์มแนวตั้งว่า “ผักกาดหอมสําหรับคนรวย” การพูดคุยเกี่ยวกับฟาร์มแนวตั้ง Haspel และพิธีกรร่วม Mike Grunwald เน้นย้ำถึงวิธีที่ฟาร์มจะเติบโตได้ในบ้าน และสามารถหลีกเลี่ยงปัญหามากมายจากการทําฟาร์มแบบดั้งเดิม แต่ก็บอกว่าต้นทุนพลังงานมหาศาลที่จําเป็นในการขับเคลื่อนฟาร์มแนวตั้ง ก็ทำให้พวกมันเป็น “ตัวทําลายคำปฏิญาณในประเด็นความยั่งยืน”

ขณะที่ Plenty, Bowery และฟาร์มแนวตั้งอื่น ๆ ไม่ได้เปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับปริมาณพลังงานที่พวกเขาใช้ แต่รายงานการสํารวจสํามะโนประชากรของ Global CEA ปี 2021 พบว่าผู้ปลูกเรือนกระจกใช้พลังงานมากกว่า 15-20 เท่าโดยเฉลี่ยและฟาร์มแนวตั้งใช้พลังงานมากกว่า 100 เท่าของเกษตรกรผู้ปลูกผักกาดหอมกลางแจ้งในรัฐแอริโซนา รายงานฉบับเดียวกันนี้ตั้งข้อสังเกตว่าโรงงานขนาดเล็กใช้พลังงานสูงขึ้นอย่างมีนัยสําคัญเมื่อเทียบกับโรงงานขนาดใหญ่

Gale Taylor ประธานภาควิชาพืชศาสตร์ที่มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย กล่าวว่า การทําฟาร์มแนวตั้งปัจจุบันใช้พลังงานเข้มข้น ไม่ต่างจากการทําฟาร์มกลางแจ้งแบบดั้งเดิม รวมถึงมีประเด็นอื่นต้องพิจารณาด้วย

“บางครั้งเราก็ลืมผลกระทบที่ตามมาอื่น ๆ ด้วย เช่นจํานวนครั้งที่คุณขับรถแทรคเตอร์ข้ามทุ่งนาหรือจํานวนรถบรรทุกที่คุณใช้เพื่อนําผักกาดหอมจากชายฝั่งตะวันตกไปยังชายฝั่งตะวันออก และการส่งอาหารไปทั่วโลก” เทย์เลอร์กล่าว

ฟาร์มอย่าง Plenty และ Bowery ใช้พลังงานหมุนเวียนทั้งหมดแล้ว แต่ Kale Harbick วิศวกรวิจัยการเกษตรของ USDA ซึ่งทํางานเกี่ยวกับการเพิ่มประสิทธิภาพของการเกษตรที่มีการควบคุมสภาพแวดล้อม กล่าวว่า สิ่งสําคัญคือต้องเข้าใจขนาดของปัญหา

“ผมเชื่อว่าในอีก 10 ปีข้างหน้า เราจะได้เห็นการขยายตัวของอุตสาหกรรมเนื่องจากฟาร์มแนวตั้งใช้รูปแบบธุรกิจที่ยั่งยืนมากขึ้นและต้นทุนของการทําฟาร์มแนวตั้งลดลง” Brandon Bay ผู้เขียนร่วมของรายงานล่าสุดโดยบริษัทเทคโนโลยี IDTechExเพิ่มเติมเกี่ยวกับการทําฟาร์มแนวตั้ง

นักวิจัยกําลังออกแบบพืชใหม่ให้เติบโตในระบบใหม่เหล่านี้ ดังนั้น พืชอย่างมะเขือยาว พริก และต้นโกโก้ อาจปลูกในบ้านได้ในอนาคตอันใกล้

ปัจจุบันมะเขือเทศประมาณหนึ่งในสามปลูกในโรงเรือน แต่ Harbick เห็นว่า มันก็ยังไม่เหมาะกับฟาร์มแนวตั้ง เพราะมันต้องใช้ไฟฟ้ามากกว่ามากกว่าผักกาดหอม 60%

Taylor กล่าวว่า ผู้คนจําเป็นต้องเริ่มจินตนาการใหม่เกี่ยวกับฟาร์มในร่ม ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของเศรษฐกิจหมุนเวียน โดยให้ข้อสังเกตว่าพลังงานหมุนเวียนรูปแบบอื่น ๆ เช่น การย่อยสลายแบบไม่ใช้ออกซิเจน เป็นกระบวนการที่แบคทีเรียสลายอินทรียวัตถุ เช่น เศษอาหารสามารถช่วยขับเคลื่อนฟาร์มในร่มได้

อีกวิธีหนึ่งคือการสร้างฟาร์มแนวตั้งและโรงเรือนใกล้กับศูนย์กลางอุตสาหกรรมที่ลดคาร์บอน ซึ่งพยายามลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก เพื่อให้ฟาร์มสามารถจับความร้อนและคาร์บอนไดออกไซด์เพื่อประหยัดค่าไฟฟ้า

Gale Taylor ประธานภาควิชาพืชศาสตร์ที่มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย สรุปว่า การทำเกษตรไม่จําเป็นต้องเป็นอย่างเดียว

“ฟาร์มในร่มไม่มีวันเข้ามาแทนที่การเกษตรกลางแจ้ง แต่มันจะดีขึ้น และทําให้ระบบจัดหาอาหารแก่ชาวโลกดีขึ้น”

ที่มา

 

You Might Also Like