22 มีนาคม 2567…นับเป็นความขัดแย้งระหว่างคนกับช้างภายในอุทยานแห่งชาติกุยบุรีมามากกว่า 20 ปี และก่อนจะมาถึงกุยบุรี โมเดล ผู้เกี่ยวข้องในพื้นที่ รวม องค์การกองทุนสัตว์ป่าโลกสากล สำนักงานประเทศไทย (WWF-Thailand) ได้ช่วยกันหาทางออกลดความขัดแย้งระหว่างคนกับช้าง และอยู่ร่วมกันได้ในกุยบุรี โมเดล อีกทั้งเกิดทัวร์ผืนป่ากุยบุรี ซาฟารีเมืองไทย ดูช้างป่า ส่องกระทิง ที่นำโดยมัคคุเทศก์ในพื้นที่
อรรถพงษ์ เภาอ่อน หัวหน้าอุทยานแห่งชาติกุยบุรี กล่าวว่า ความขัดแย้งออย่างต่อเนื่อง โดยอุทยานฯ ตระหนักถึงปัญหาของประชาชนที่อาศัยรอบเขตอุทยานฯ รวมถึงผลกระทบของชาวบ้านอยู่เสมอในแง่ของการทำลายพืชผลทางการเกษตรของของชาวบ้านโดยช้างป่า
ก่อนที่จะพบทางออกนั้น ระหว่างพูดคุยก็มีการเสนอขึ้นมาว่า “ถ้าไม่เอาช้างออกให้หมด ก็ต้องเอาคนออกไปให้หมด” แต่เมื่อเป็นไปไม่ได้ทั้ง 2 แบบ ก็ต้องให้อยู่ด้วยกันได้ แม้ว่าฝั่งของคนต้อง “ทำใจ” ก็ตาม แต่เพื่อลดความขัดแย้ง และมีเรื่องการท่องเที่ยวเพิ่มขึ้นมา
“เขาออกมาอย่าไปทําอะไรเขา เดี๋ยวเขาก็กลับเข้าไปเอง ในขณะที่คนได้รับผลประโยชน์จากการท่องเที่ยว ชุมชนก็จะเกิดความหวงแหนเพราะเป็นรายได้ที่เกิดขึ้น หากนักท่องเที่ยวหายไปก็นับเป็นเรื่องเศร้าเช่นกัน ซึ่งในการทำงานตรงนี้อุทยานฯ เป็นพันธมิตรกับ WWF ประเทศไทย มาอย่างยาวนานในหลาย ๆ ด้าน อาทิ ด้านการป้องกันปราบปราม ด้านการศึกษาวิจัย และด้านการท่องเที่ยว พวกเราพยายามที่จะแก้ไขปัญหาเรื่องนี้อย่างจริงจัง โดยพยายามพัฒนาความเป็นอยู่และสภาพแวดล้อมของอุทยานฯ ให้กับช้างป่า และพยายามจัดการความขัดแย้งต่าง ๆ อย่างเต็มที่ตลอดทุกวัน”
เช่น การบุกรุกพื้นที่เกษตรกรรมของช้างป่า การดำเนินการของพวกเราสามารถทำได้อย่างสำเร็จลุล่วงด้วยการประสานความร่วมมือจากหน่วยงานมากมาย ไม่ว่าจะเป็น ชุมชนโดยรอบ ภาคเอกชน และ WWF ประเทศไทย พวกเราหวังเป็นอย่างยิ่งว่าประชาชนจะเข้าใจในธรรมชาติและความเป็นมาของช้างป่า เข้าใจถึงจุดกำเนิดของปัญหาและความขัดแย้งระหว่างคนกับช้างอย่างแท้จริง และร่วมมือกับพวกเราในการแก้ไขปัญหาเหล่านี้ไปด้วยกัน”
พิมพ์ภาวดี พหลโยธิน ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร WWF ประเทศไทย กล่าวว่า WWF ประเทศไทย มีบทบาทสำคัญในการพัฒนาและแก้ไขปัญหาความขัดแย้งระหว่างคนกับช้างภายในอุทยานแห่งชาติกุยบุรีมามากกว่า 20 ปี ได้นำเครื่องมือและวิธีการอันทันสมัยเข้ามาดำเนินงาน ไม่ว่าจะเป็น ระบบลาดตระเวนเชิงคุณภาพ (Patrol system) ระบบตรวจจับและติดตามประชากรช้างป่าและสัตว์ป่าด้วยกล้องดักถ่ายภาพอัตโนมัติ (Camera Traps) และระบบเตือนภัยล่วงหน้า (SMART Early Warning System) ทำให้จำนวนการเกิดภัยคุกคาม เช่น การลักลอบจับช้างป่าและสัตว์ป่า การบุกรุกพื้นที่ภายในชุมชน รวมถึงการทำลายพืชผลทางการเกษตร ลดลงอย่างเห็นได้ชัด
การทำงานจริง ณ ช่วงหัวค่ำ พบกระทิงหน้าไร่พี่คิด แปลงพี่ปาน 1 ตัว เข้าตรงไร่ลุงวัฒน์ได้เลยนะคะ เดี๋ยวเอาโดรนชี้พิกัดกระทิงให้ เป็นภารกิจทุกคืนของเจ้าหน้าที่อทชฬ.กุยบุรี ผลักดันให้ช้างและกระทิงกลับเข้าป่าอุทยานฯ และภายในห้องควบคุม การติดตามประชากรช้างป่าและสัตว์ป่าด้วยกล้องดักถ่ายภาพอัตโนมัติ (Camera Traps) ระบบที่ใช้สำหรับการแจ้งเตือนไปยังทีมเฝ้าระวังช้างป่าและชุมชน เมื่อเห็นถึงความผิดปกติที่ช้างจะออกนอกพื้นที่เขตอุทยานฯ
WWP มีการดำเนินงานนี้เป็นหนึ่งในงานอนุรักษ์ภายใต้โครงการอนุรักษ์สัตว์ป่าอีกมากมายที่ได้ดำเนินการอยู่ อาทิ โครงการฟื้นฟูประชากรเสือโคร่ง ในอุทยานแห่งชาติแม่วงก์ และอุทยานแห่งชาติคลองลาน โครงการต่อต้านการค้าสัตว์ป่าผิดกฎหมาย และโครงการติดตามสถานภาพสัตว์ป่าใกล้สูญพันธุ์และถิ่นอาศัยในเขตผืนป่าตะวันตก
“ในวันนี้ พวกเรามีความยินดีเป็นอย่างยิ่งที่จะเปิดตัวแคมเปญ We’re Ele-Friends: Allies for a Safer Future for Wild Elephants หรือ เพื่อช้าง เพื่อนเรา ซึ่งเป็นแคมเปญสำคัญภายใต้โครงการ Elly Allies ที่มีจุดมุ่งหมายรณรงค์การอนุรักษ์ช้างระดับภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และประเทศจีน โดยกลุ่มเป้าหมายของโครงการนี้ไม่ใช่เพียงชุมชนโดยรอบเขตอุทยานฯ เพียงเท่านั้น แต่ยังมีเจตนารมณ์ที่จะสร้างการตระหนักรู้ในกลุ่มคนเมืองให้เข้าใจถึงความสำคัญของการมีความสัมพันธ์อันดีต่อกันระหว่างคนกับช้างป่า นอกเหนือจากช้างบ้านที่คนเลี้ยง เป้าหมายของเราคือการเสริมสร้างความเข้าใจให้กับสาธารณชน ได้รับรู้ถึงปัญหาและความท้าทายต่าง ๆ ที่ชาวบ้านและชุมชนโดยรอบพบเจอจากช้างป่า แสดงให้เห็นถึงความร่วมมือระหว่างภาคส่วนที่ต้องการจะเร่งแก้ไขปัญหาเหล่านี้อย่างมีประสิทธิภาพ พวกเราหวังเป็นอย่างยิ่งว่าโครงการนี้จะเป็นโครงการที่จะช่วยกระตุ้นความมุ่งมั่นในการอนุรักษ์สัตว์ป่า พร้อมทั้งสรรสร้างอนาคตอันสดใสให้กับทั้งมนุษย์และสัตว์ป่าได้อย่างยั่งยืน” พิมพ์ภาวดี กล่าวในท้ายที่สุด