ALTERNATIVE

ซีพี-เมจิ เคลื่อน ESG ในทุกมิติพัฒนาต้นทางน้ำนมดิบ+การผลิตอย่างยั่งยืน @เลย

24 ธันวาคม 2567… พัฒนาห่วงโซ่การผลิตตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำอย่างรับผิดชอบ มุ่งสู่เป้าหมายลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และสร้างคุณค่าในทุกมิติ


บริษัท ซีพี-เมจิ จำกัด ยังคงเดินหน้าสร้างความยั่งยืนในทุกมิติของธุรกิจตามแนวทาง ESG (Environmental, Social, Governance) โดยผสานเป้าหมายด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาลให้เป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการทำงานทั้งหมด

 

ชาลินี พูนลาภมงคล รองผู้อำนวยการฝ่ายองค์กรสัมพันธ์และความยั่งยืน บริษัท ซีพี-เมจิ จำกัด กล่าวว่า

“การดำเนินธุรกิจตามแนวทาง ESG ต้องฝังอยู่ในกระบวนการทำงาน ไม่ใช่สิ่งที่ทำเพิ่ม แต่คือสิ่งที่ต้องทำให้เป็นปกติ”

สายฝน ศรีภู สมาชิกสหกรณ์การเกษตรเมืองเลย กันทิมา สุนทราวิรัตน์ ผู้จัดการสหกรณ์การเกษตรเมืองเลย กล่าวถึงการร่วทำงานกับ ซีพี-เมจิ ซึ่งสายฝนยอมรับว่า อาชีพเกษตรกรโคนมสร้างรายได้ที่ดีให้กับครอบครัว

 

“การสนับสนุนจากซีพี-เมจิช่วยให้ฟาร์มเราสามารถยกระดับคุณภาพและมาตรฐานการเลี้ยงโคนมอย่างเป็นระบบ เราได้เรียนรู้การลดการใช้น้ำในฟาร์ม และการจัดการมูลโคที่สามารถนำมาผลิตเป็นพลังงานสะอาดได้ ฟาร์มเราสามารถลดต้นทุนได้ถึง 15% ในปีที่ผ่านมา และยังได้ผลผลิตที่มีคุณภาพสูงขึ้นด้วย”

กันทิมา ขยายความต่อเนื่อง การพัฒนาฟาร์มโคนมที่ยั่งยืนเป็นมากกว่าการเพิ่มผลผลิต ซีพี-เมจิให้การสนับสนุนสหกรณ์ทั้งในด้านความรู้ การจัดการขยะ และการส่งเสริมบรรจุภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เรามองว่านี่คือโอกาสสำคัญที่ช่วยยกระดับเกษตรกรในชุมชนให้เติบโตไปพร้อมกับมาตรฐานโลก

 

อาทิตย์ นุกูลกิจ รองผู้อำนวยการฝ่ายการจัดการน้ำนมดิบ ซีพี-เมจิ เล่าถึงความสำคัญกับการพัฒนาฟาร์มโคนมรายย่อย เพื่อสร้างความมั่นคงให้กับเกษตรกร และเพิ่มมาตรฐานการผลิต

“บริษัทจัดตั้งทีมบริหารจัดการน้ำนมดิบหรือ Raw Milk Management เพื่อถ่ายทอดความรู้และเทคโนโลยีให้กับเกษตรกร เช่น การจัดการอาหารโคนม การลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก และการเลี้ยงสัตว์อย่างมีสวัสดิภาพ เป้าหมายคือพัฒนาฟาร์มโคนมให้ผ่านมาตรฐาน Gold Standard ทั้งหมด”

 

 

ชาลินี อธิบายเพิ่มเติมถึงซีพี-เมจิได้กำหนดเป้าหมายสำคัญ 5 ด้าน ได้แก่ การจัดการสภาพภูมิอากาศ พลังงาน น้ำ ของเสีย และการจัดซื้อจัดหาอย่างรับผิดชอบ พร้อมตั้งเป้าลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกใน Scope 1 และ 2 ลง 30% ภายในปี 2030 เทียบจากปีฐาน 2020 ขณะเดียวกันบริษัทเริ่มเก็บข้อมูล Scope 3 เพื่อขยายผลในอนาคต โดยทำงานร่วมกับบริษัทแม่ในเครือเจริญโภคภัณฑ์ (CPF)

ในด้านสิ่งแวดล้อม (E: Environment) ซีพี-เมจิริเริ่มโครงการปลูกป่าร่วมกับพนักงาน ชุมชน และกรมอุทยานแห่งชาติฯ เพื่อเพิ่มพื้นที่สีเขียว 1,000 ไร่ พร้อมทั้งเสริมสร้างความหลากหลายทางชีวภาพ (Biodiversity) ควบคู่ไปกับการลดการใช้น้ำ การลดของเสีย และการส่งเสริมการใช้พลังงานสะอาด เช่น การติดตั้งระบบพลังงานแสงอาทิตย์ ซึ่งขณะนี้ใช้อยู่ราว 18% และมีแผนขยายการใช้พลังงานทางเลือก เช่น Bio Mass

“ซีพี-เมจิยังมุ่งเน้นการออกแบบบรรจุภัณฑ์ให้เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม โดยตั้งเป้าให้วัสดุสามารถรีไซเคิล ใช้ซ้ำ หรือย่อยสลายได้ ปัจจุบัน 95% ของบรรจุภัณฑ์พลาสติกที่ใช้ในผลิตภัณฑ์โยเกิร์ตสามารถนำกลับมารีไซเคิลได้
สำหรับวัตถุดิบหลัก บริษัทกำหนดให้ต้องมาจากแหล่งผลิตที่ไม่ก่อให้เกิดการตัดไม้ทำลายป่า พร้อมตรวจสอบย้อนกลับได้ และซัพพลายเออร์ต้องปฏิบัติตามแนวทาง ESG”

การจัดการน้ำและขยะ เมื่อน้ำถือเป็นทรัพยากรสำคัญในกระบวนการผลิต ซีพี-เมจิตั้งเป้าลดการปล่อยน้ำเสียจากโรงงานให้เป็นศูนย์ ด้วยการนำน้ำกลับมาใช้ใหม่ นอกจากนี้ยังมีการจัดการขยะอย่างถูกต้อง และสร้างการรับรู้ให้ผู้บริโภคผ่านโครงการ “รีไซขุ่น” ซึ่งนำพลาสติกขุ่น (HPDE) กลับมารีไซเคิล ปีแรกได้ผลิต “ถังขยะเพื่อแยกขยะ” จำนวน 500 ถัง และมีแผนขยายผลต่อเนื่อง

พัฒนาสังคมและชุมชน (S: Social) ในมิติของสังคม ซีพี-เมจิดำเนินโครงการพัฒนาทั้ง 6 ด้าน ได้แก่ โภชนาการ การพัฒนาบุคลากร สิทธิมนุษยชน คุณภาพและความปลอดภัยอาหาร สุขภาพและความปลอดภัยในการทำงาน และการสนับสนุนชุมชน ตัวอย่างเช่น การจัดตั้งโรงผลิตน้ำสะอาดในโรงเรียนหินกอง จังหวัดสระบุรี ซึ่งเริ่มเปิดใช้งานในปี 2567

ซีพี-เมจิยังริเริ่มโครงการ “Innovative Education” ร่วมกับโรงเรียนพัฒนาหลักสูตรเสริมด้าน STEM เช่น Robotics และ Coding โดยสนับสนุนอุปกรณ์การเรียน และจัดเวทีแข่งขันระดับประเทศ เพื่อสร้างโรงเรียนต้นแบบด้านการศึกษาและโภชนาการ

 

ส่งเสริมเกษตรภายใต้การดำเนินงานตามแนวทาง ESG ซีพี-เมจิมุ่งสู่เป้าหมาย “Net Zero Emissions” ภายในปี 2593 ครอบคลุมทุกมิติของห่วงโซ่คุณค่า พร้อมขับเคลื่อนการพัฒนาอย่างยั่งยืนในระดับประเทศและระดับโลก

 

You Might Also Like