ALTERNATIVE

การเปลี่ยนแปลงในการออกแบบสถาปัตยกรรมหลัง #COVID19

18 มิถุนายน 2563…นอกจากไวรัส Covid-19 แล้ว ต้องตรียมความพร้อมสําหรับไวรัสอื่น ๆ ในอนาคต เป็นผลให้การเปลี่ยนแปลงทางสถาปัตยกรรมเพื่อลดการแพร่กระจายของโรคเกิดขึ้น

ในจุดเริ่มต้น คาดว่าคนมากขึ้นจะทํางานจากที่บ้าน ซึ่งเรียกร้องให้มีการเปลี่ยนแปลงการออกแบบสถาปัตยกรรม เปลี่ยนพื้นที่ของครอบครัวกลายเป็นที่ทํางาน

“ในอนาคต คนจะใช้เวลาที่บ้านมากขึ้น โดยขยายเป็นการทํางานที่บ้านและการเรียนออนไลน์ บ้านต้องรองรับฟังค์ชั่นมากขึ้นในอนาคต ความต้องการบ้านขนาดใหญ่ มีมากขึ้นกว่าที่เคย” ศาสตราจารย์ Yoo Hyun-joon คณะสถาปัตยกรรม มหาวิทยาลัย Hongik และประธานของ Hyunjoon Yoo Architects กล่าว

เนื่องจากชาวเกาหลีใต้ส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในอพาร์ตเมนต์ที่ไม่มีห้องใต้หลังคาหรือชั้นใต้ดิน ซึ่งใช้เป็นตัวเลือกในการทํางานได้ เพราะพื้นที่ดังกล่าวแยกออกจากส่วนที่เหลือของบ้าน ทำให้การหาพื้นที่ทํางานในบ้านที่อยู่อาศัยปกติในเกาหลีทั่วไปเป็นเรื่องยาก

“ถ้าคนทํางานที่บ้านนานขึ้น ความสำคัญของหน้าต่างเพื่อให้ได้รับแสง และคุณภาพอากาศที่ดีกว่า จะเป็นเรื่องสำคัญกว่าเดิม ทุก ๆ ที่ไม่ว่าจะเป็นโต๊ะและที่วางเดสค์ท็อปสามารถเป็นที่ทํางาน ทั้งห้องนั่งเล่น ห้องนอน หรือห้องครัว ห้องจึงต้องมีฟังก์ชั่นหลากหลายในอนาคต” ศาสตราจารย์ Kim Suk-kyung จากภาควิชาตกแต่งและสภาพแวดล้อมภายในของ Yonsei University กล่าว

Kim ให้ข้อมูลว่า ในตลาดมีการออกแบบภายในที่วางโต๊ะทํางานในพื้นที่ที่เชื่อมต่อห้องนั่งเล่นและห้องครัวเข้าด้วยกันได้อยู่แล้ว ขณะที่อีกด้านหนึ่ง มีบริษัทก่อสร้างจำนวนมากให้ความสําคัญกับลูกค้าภาคเอกชน ที่คาดการณ์ความต้องการห้องซาวน่าในบ้านสร้างใหม่

“ผู้คนลังเลที่จะไปซาวน่าสาธารณะเพราะ Covid-19 เราต้องการรวมซาวน่าส่วนตัวภายในบ้านเพื่อให้ผู้คนเพลิดเพลินกับมันได้อย่างปลอดภัย และใช้เพื่อเพิ่มภูมิคุ้มกัน” Hyun Jung-jai หัวหน้าทีมวางแผนที่ Dream Love Housing บริษัทก่อสร้างเอกชนกล่าว

หลัง Covid-19 พื้นที่สํานักงานต้องเปลี่ยนไปเช่นกัน เมื่อการทํางานจากที่บ้านเป็นเรื่องป็อปปูล่าร์ มากขึ้น คนทำงานที่ออฟฟิศนับวันมีแต่จะน้อยลง เพราะออฟฟิศคนยิ่งเยอะ ความเสี่ยงติดเชื้อยิ่งมาก

“เราต้องพิจารณาว่า ในอนาคต ออฟฟิศจำเป็นต้องมีพื้นที่ขนาดใหญ่หรือไม่ ตัวอย่างเช่นสหรัฐอเมริกากำลังเน้นการใช้พื้นที่เล็ก ๆให้มีประสิทธิภาพสูงสุด การเปลี่ยนแปลงเลย์เอ้าท์ของ Work Station สามารถป้องกันเรื่องการต้องใช้พื้นที่ขนาดใหญ่รองรับเรื่อง Social Distance” Kim กล่าว

ทั้งนี้ วิธีหนึ่งที่ Kim แนะนําให้ทำ คือ สับเปลี่ยนหมุนเวียน Work Station รวมถึงติดตั้งผนังกั้นระหว่างโต๊ะทํางาน เพื่อให้พนักงานไม่หันหน้าเข้าหากัน สถานที่อื่น ๆ ที่จะได้เห็นการเปลี่ยนแปลงในยุคหลัง Covid-19 เป็นสถานที่ที่มีคนรวมตัวกันจำนวนมาก ซึ่งรวมถึงโรงเรียน โรงละคร และอาคารเพื่อทำพิธีทางศาสนา

Yoo กล่าวว่า โรงเรียนมีหน้าที่สำคัญ 3 เรื่อง คือ 1. ส่งมอบความรู้ 2. ดูแลเด็กๆ และ 3. จัดหาสถานที่ที่นักเรียนมีประสบการณ์ในการเข้าสังคม ฟังก์ชันแรกกลายเป็นเรื่องออนไลน์อย่างรวดเร็ว ขณะที่เขาไม่คิดว่าโรงเรียนทางกายภาพจะหายไป การออกแบบโรงเรียนเป็นการเตรียมความพร้อมสําหรับอนาคตจึงเป็นสิ่งสําคัญ.

เมื่อพูดถึงโรงหนังโรงละคร Kim จินตนาการว่า โรงภาพยนตร์ในอนาคตจะต้องมีทางเข้าที่กว้างขึ้นเพื่อให้คนไม่กระจุกอยู่แค่พื้นที่ใดพื้นที่หนึ่ง. นอกจากนี้ความจําเป็นในการมีพื้นทีว่างระหว่างภายนอกและโรงภาพยนตร์ซึ่งเป็นพื้นที่ตรวจสอบสุขภาพของผู้เข้าชมจะเพิ่มขึ้น แม้จะมีการเรียกร้องสําหรับการจัดที่นั่งที่กว้างขึ้นกันเพื่อความปลอดภัยเรื่อง social distancing ในโรงภาพยนตร์ในอนาคต โรงภาพยนตร์มัลติเพล็กที่เป็นเชนสําคัญในเกาหลีเช่น CGV กลับยังไม่ได้คิดถึงรูปแบบเลย์เอ้าท์สําหรับหลัง COVID-19 แม้แต่นิดเดียว เพราะพวกเขากำลังต่อสู้กับผลกระทบทางเศรษฐกิจของการระบาด.

การออกแบบสถาปัตยกรรมสามารถสร้างความประทับใจและการสื่อสารที่หนักแน่นได้ก็จริง คริสตจักรรวบรวมสมาชิกในโบสถ์ขนาดใหญ่ โดยทุกคนหันหน้าไปทางใดทางหนึ่ง และนั่งเคียงข้างกัน ให้ความรู้สึกของการสมานสามัคคี แต่ Yoo กล่าวว่า โครงสร้างแบบนี้ มีโอกาสสูงมาก ที่จะถูกโจมตีจากการแพร่กระจายของ Covid-19

“คริสตจักรสูญเสียพลังอย่างเห็นได้ชัด เพราะคนจะไม่มารวมตัวกันแบบนั้นอีกต่อไป คริสตจักรเกาหลีจะจัดการกับสถานการณ์นี้อย่างไรเป็นเรื่องที่ต้องติดตามกันต่อไป” Yoo กล่าว

ยุคหลัง Covid-19 ผู้เชี่ยวชาญ ระบุว่า จะเน้นการระบายอากาศ และกฎระเบียบต่าง ๆที่เข้มงวดมากขึ้น

“หน้าต่างระบายอากาศตามธรรมชาติ หรือเครื่องระบายอากาศเป็นสิ่งที่ทุกสถานที่ต้องมี ขณะที่เราอาศัยเครื่องช่วยหายใจมากกว่าการระบายอากาศตามธรรมชาติ แต่เราต้องพิจารณาการปรับเพื่อรองรับการระบายอากาศตามธรรมชาติด้วย” Kim ให้ความเห็น

Kim แนะนําว่า แนวทางที่เป็นได้มากที่สุด คือ การมีชั้นกึ่งเปิดสําหรับการระบายอากาศ

การมีชั้นซึ่งปิดมิดชิดทั้งหมด นําไปสู่การระบายอากาศที่ไม่ดี ขณะที่ชั้นแบบเปิดโล่ง ก็นําไปสู่การติดเชื้อแบบ Mass ดังนั้น การทำชั้นกึ่งเปิดกับพื้นที่ขนาดใหญ่ แบ่งเป็นโซนขนาดเล็กที่มีการระบายอากาศที่แยกต่างหากเป็นเรื่องที่เหมาะสม

บริษัทก่อสร้างยังพัฒนาระบบการกรองอากาศแบบใหม่สําหรับยุคหลัง COVID-19 ด้วย Lotte Construction พัฒนาระบบกรองอากาศและระบายอากาศที่สามารถกรองฝุ่นขนาดจิ๋ว เช่นเดียวกับสารที่เป็นอันตรายอื่น ๆ รวมถึงวางแผนที่จะติดตั้งในอพาร์ตเมนต์ใหม่ และสํานักงานเพื่อตอบสนองความต้องการอากาศบริสุทธิ์

นอกจากนี้วัสดุต้านเชื้อแบคทีเรียเช่นโลหะผสมทองแดง ซึ่งมีคุณสมบัติป้องกันการแพร่กระจายของไวรัสคาดว่าจะมีบทบาทมากกว่าเป็นแค่วัสดุก่อสร้าง และเรื่อง Facility Management จะยิ่งมีความสำคัญ

IoT จะยิ่งแพร่หลาย และเป็นประเด็นสําคัญในการออกแบบสถาปัตยกรรมยุคหลัง COVID-19 เหตุผลคือ ผู้สูงอายุมีความเสี่ยงมากที่สุดจากการแพร่กระจายของไวรัส และผู้เชี่ยวชาญกำลังจินตนาการถึงการใช้ IoT ในการตรวจสอบสุขภาพ ซึ่งจะกลายเป็นที่สินค้ายอดนิยม ในจำนวนนี้ รวมถึงการใช้ IoT ที่ทางเข้าอาคารเพื่อตรวจสอบอุณหภูมิของผู้มาเยือนจะต้องได้รับการพัฒนาต่อไป

ตามความเห็นของ Yoo เกี่ยวกับเรื่อง IoT การใช้รถยนต์ไร้ขับรถ จะทำให้เกิดการจัดส่งสินค้าในอุโมงค์ใต้ดินไปสู่ถนนขนาดเล็กบนพื้นดิน วิ่งผ่านสวนสาธารณะ ที่ผู้คนจำนวนมากสามารถมาอยู่รวมกัน รวมถึงบ้านขนาดใหญ่

ผู้เชี่ยวชาญ เพิ่มเติมว่า การเปลี่ยนแปลงด้านการออกแบบ จะต้องมาพร้อมกับเทคโนโลยีที่เหมาะสม กฎระเบียบและสําคัญที่สุด คือ รูปแบบการดําเนินชีวิตตามไลฟ์สไตล์ด้วย

ปัจจุบัน ครัวเรือนเกาหลีจํานวนมากมีห้องน้ําวางใกล้ประตูหน้าเพื่อให้ทุกคนล้างมือก่อนเข้าบ้าน อย่างไรก็ตาม ก่อนหน้านี้ รูปแบบการใช้ชีวิตของพวกเขา ไม่เคยต้องล้างมือเก่อนเข้าบ้านเลย ดังนั้น การออกแบบแบบที่ว่า อาจกลายเป็นเรื่องไร้ความหมายโดยสิ้นเชิงไปก็ได้

“เรามีประสบการณ์เรื่องสงครามโลกครั้งที่ 1 สงครามโลกครั้งที่สอง มีบทเรียนกันมาแล้ว และกำลังป้องกันไม่ให้สงครามโลกครั้งที่ 3 เกิดขึ้น ถ้าเราเรียนรู้เรื่องการแพร่กระจายของ Covid-19 เราจะเตรียมตัวได้ดีขึ้นสําหรับการระบาดครั้งต่อไปโดยการเปลี่ยนวิถีชีวิต และการออกแบบสามารถป้องกันการแพร่ระบาด ไม่ให้มันลุกลามได้เลยด้วยซ้ำ” Yoo กล่าวในท้ายที่สุด

ที่มา

 

 

You Might Also Like