11 กันยายน 2563 …เพื่อขจัดเนื้อหาที่เกี่ยวกับการก่อการร้ายและความรุนแรงออกจากโลกออนไลน์ ซึ่งการประกาศเข้าร่วม ข้อเรียกร้องไครสต์เชิร์ช (Christchurch Call) LINE กลายเป็นบริษัทจากเอเชียบริษัทแรกที่ผนึกกำลังกับข้อเรียกร้องนี้
ในขณะที่อินเทอร์เน็ตกลายมาเป็นส่วนสำคัญในชีวิตประจำวันของคนในสังคม หลากหลายประเทศทั่วโลกต่างเผชิญหน้ากับการก่อการร้ายที่ก่อตัวในรูปแบบออนไลน์เพิ่มมากขึ้น LINE ตั้งใจที่จะป้องกันการแพร่การจายของเนื้อหาที่เป็นอันตรายดังกล่าว ในขณะเดียวกัน ก็พร้อมเคารพเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น วัฒนธรรมและความเชื่อที่แตกต่าง รวมถึงรักษาความเป็นกลางและความเป็นธรรม
LINE จึงตัดสินใจยกระดับมาตรการป้องกันการก่อการร้าย โดยร่วมมือกับรัฐบาล บริษัทเอกชน และภาคประชาสังคมในประเทศต่างๆ ประกาศให้การสนับสนุนข้อเรียกร้องไครสต์เชิร์ช อย่างเป็นทางการ
ในฐานะผู้ลงนามร่วมในข้อเรียกร้อง LINE จะยึดมั่นในหลักการของข้อเรียกร้องไครสต์เชิร์ช และยกระดับความร่วมมือกับรัฐบาล บริษัท และภาคประชาสังคมในการพัฒนาเทคโนโลยีและนโยบายเพื่อป้องกันการอัปโหลดและแพร่กระจายของเนื้อหาที่เป็นอันตรายในโลกออนไลน์
จาซินดา อาร์เดน นายกรัฐมนตรีนิวซีแลนด์ กล่าวว่า “การเข้าร่วมจากทาง LINE แสดงให้เห็นถึงความรับผิดชอบต่อสังคมและการเคารพในสิทธิ เสรีภาพบนโลกอินเทอร์เน็ต เพื่อสร้างชุมชนอินเทอร์เน็ตที่เปิดกว้างและปลอดภัยอย่างแท้จริง ด้วยการทำงานร่วมกับเราในการยุติการเผยแพร่เนื้อหารุนแรงหรือเนื้อหาเกี่ยวข้องกับการก่อการร้ายให้หมดไปบนโลกออนไลน์”
“การเข้าร่วมข้อเรียกร้องไครสต์เชิร์ชจากหลากหลายองค์กรในหลากหลายประเทศ ไม่ว่าจะเป็นภาครัฐ บริษัทเอกชน และภาคประชาสังคมต่างๆ ชี้ให้เห็นถึงหลักการที่มั่นคงของเราในการสร้างชุมชนอินเทอร์เน็ตที่อิสระเสรี เปิดกว้าง และปลอดภัยร่วมกัน” ฌอง-อีฟส์ เลอ ดริออง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศและภาคพื้นยุโรป ประเทศฝรั่งเศส กล่าวทิ้งท้าย
สำหรับข้อเรียกร้องไครสต์เชิร์ช มาจากเหตุการณ์ถ่ายทอดสดการก่อการร้าย ณ เมืองไครสต์เชิร์ช ประเทศนิวซีแลนด์ ที่ได้แพร่กระจายบนโลกออนไลน์ในเดือนมีนาคม 2562 นายกรัฐมนตรีนิวซีแลนด์ จาซินดา อาร์เดน และประธานาธิบดีฝรั่งเศส เอมมานูเอล มาครง จึงริเริ่มจัดการประชุมข้อเรียกร้องไครสต์เชิร์ชขึ้นในเดือนพฤษภาคม ปีเดียวกัน ด้วยเป้าหมายเพื่อกำจัดเนื้อหาที่เกี่ยวกับการก่อการร้ายและความรุนแรงในอินเทอร์เน็ต
- ข้อเรียกร้องไครสต์เชิร์ช
- รายนามผู้เข้าร่วมข้อเรียกร้องไครสต์เชิร์ช
- อ้างอิง: เว็บไซต์กระทรวงการต่างประเทศของประเทศญี่ปุ่น (ภาษาญี่ปุ่น)