18 มีนาคม 2564…Susann Tischendorf และ Alexandra Harris ของ the Inclusive Business Action Network ให้คําแนะนําว่าธุรกิจสามารถตอบสนองต่อความต้องการของผู้บริโภคที่เพิ่มขึ้น ลดทอนความไม่เท่าเทียมกันในการดําเนินงาน
ปี 2020 เป็นปีแห่งการต่อสู้ ตั้งแต่การต่อสู้ระดับโลกกับ Covid-19 การต่อสู้เพื่อความยุติธรรมทางเชื้อชาติ โดยมีหัวหอกเป็นการประท้วง Black Lives Matter ไปถึงการเลือกตั้งสหรัฐอเมริกา
ประเด็นสําคัญอย่างหนึ่งที่เปิดเผยอย่างสุดโต่งจากเหตุการณ์เมื่อปีที่แล้วคือ ความเหลื่อมล้ำที่มีอยู่ทั่วโลก แม้กระทั่งก่อนที่การระบาดใหญ่ รายงานของ Oxfam เปิดเผยว่า อภิมหาเศรษฐีระดับพันล้านจำนวน 2,153 รายของโลกมีความมั่งคั่งมากกว่าประชากร 4.6 พันล้านคนรวมกัน ซึ่งถือเป็นสัดส่วน 2 ใน 3 ของประชากรโลก
ที่สำคัญคือ Covid-19 ได้แสดงให้เห็นว่า มันสามารถเปลี่ยนวิธีการทําธุรกิจของเราได้อย่างรวดเร็ว
ทั้งหมดนี้ ต้องขอบคุณความเป็น Globalisation หรือโลกาภิวัตน์ ที่ขยายการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตและการแพร่กระจายของโซเชียลมีเดีย การรับรู้ถึงความเหลื่อมล้ำที่ไม่เคยสูงขึ้นในหมู่ประชาชนทั่วไป ขณะที่มีคนจำนวนหนึ่งทำงานอย่างหนักอยู่ในรัฐบาลเพื่อแก้ไขปัญหาเหล่านี้ ท่ามกลางความพยายามในการขยายขอบเขตเพื่อ “สร้างสิ่งที่ดีขึ้น” จากวิกฤต Covid-19, ธุรกิจจะต้องดำเนินบทบาทที่จะเป็นส่วนหนึ่งของเรื่องเหล่านี้เช่นกัน
นี่คือ 3 วิธีที่ทำได้
1. เข้าถึงผู้บริโภคให้มากขึ้น
ภายหลังความท้าทายที่เกิดขึ้นในปี 2020 ผู้นําธุรกิจที่ต้องการพลิกโฉมให้เกิดสิ่งใหม่ในปีนี้ ต้องแก้ไขเพื่อให้ความเท่าเทียมเกิดเป็นจริง โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อผู้บริโภคจำนวนมากขึ้น พิจารณาผลกระทบทางสังคมจากการซื้อ โดยเลือกสถานที่ที่จะจับจ่ายใช้สอยเงินของพวกเขาด้วย
Claudia Castellanos ผู้ร่วมก่อตั้งและกรรมการผู้จัดการของ บริษัท speciality food company ที่ชื่อ Black Mamba Foods จดบันทึกแนวโน้มที่เพิ่มขึ้นในหมู่ผู้บริโภค ที่ให้ความสนใจเรื่องความเสมอภาค ควบคู่ไปกับราคาที่เป็นธรรม และการดําเนินธุรกิจที่มีธรรมาภิบาล
การเชื่อมช่องว่างระหว่างผู้ซื้อและผู้ผลิตเป็นกุญแจสําคัญ ไม่เพียงแต่ทำให้ผู้บริโภครู้สึกเห็นอกเห็นใจเท่านั้น แต่ยังช่วยให้พวกเขาเข้าใจว่าทางเลือกของพวกเขาสามารถนํามาซึ่งการเปลี่ยนแปลงได้อย่างไรด้วย
David Chen และ Phoebe Swinn Yap ของ Golden Sunland ให้ความเห็นว่า การสร้างวงจรข้อเสนอแนะเชิงบวกระหว่างผู้ผลิตและผู้บริโภค เพื่อให้ทั้งสองฝ่ายตัดสินใจได้ดีขึ้นเป็นสิ่งจําเป็น ทั้งนี้ ธุรกิจการเกษตรที่เป็นพันธมิตร ระหว่างเกษตรกรรายย่อยในชนบททั่วสิงคโปร์และพม่า ช่วยให้ทั้งสองฝ่ายเข้าถึงตลาดต่างประเทศ
2.พัฒนา Business Model ใหม่ๆ
เพื่อต่อสู้กับความเหลื่อมล้ำอย่างแข็งขัน อีกด้านหนึ่ง การมุ่งเน้นที่ความเป็นธรรม และความเสมอภาคต้องดำเนินการไปให้ไกลกว่ากลยุทธ์ทางการตลาด ทั้งนี้ Caroline Ashley ผู้อํานวยการของ Forum for the Future ย้ำว่า การคิดแต่คนที่ “อยู่ชายขอบ” หรือซื้อจากคนยากจนไม่เพียงพอ
บริษัทต่างๆต้องออกแบบหรือปรับปรุงจากรากขึ้นมา เกี่ยวกับความต้องการ การจัดลําดับความสําคัญในชีวิตของกลุ่มชายขอบ ทั้งนี้ การทําตามตัวอย่างที่กําหนดโดยกิจการเพื่อสังคมเป็นจุดเริ่มต้นที่ดี
วิธีนี้มักเรียกว่า “ธุรกิจที่ไม่ทิ้งใครไว้เบื้องหลัง” มีลักษณะเด่นที่การให้อํานาจการตัดสินใจของการมีส่วนร่วม การกํากับดูแลและการจัดการ รูปแบบนี้สามารถให้ทั้งแม่แบบ และบทเรียนที่มีคุณค่าแก่ผู้นําธุรกิจที่มุ่งมั่นที่จะทําให้การดําเนินงานของตนเองมีความเท่าเทียมกันมากขึ้น
ด้วยวิธีภายในองค์กรที่ชื่อว่า “gender-biased” approach Black Mamba มุ่งเน้นเพิ่มขีดความสามารถให้กับผู้หญิงผ่านการจ้างงานที่ยั่งยืน
ตัวอย่างเช่น Black Mamba Foods ได้พัฒนารูปแบบธุรกิจเกี่ยวกับการทํางานโดยตรง กับชุมชนชนบทและผู้หญิงใน Eswatini ทางตอนใต้ของแอฟริกา บริษัทพยายามเพิ่มขีดความสามารถให้กับผู้หญิงผ่านการจัดหางานที่ยั่งยืนซึ่งช่วยให้พวกเธอสนับสนุนครอบครัว ให้ทุนการศึกษา ฝึกอบรมด้านสุขภาพ ปัญหาเพศและสิทธิสตรี
บริษัทร่วมมือกับ Guba องค์กรพัฒนาเอกชนในท้องถิ่น ฝึกอบรมผู้ถือหุ้นรายย่อยผู้ทำ Regenerative Agriculture รวมถึงยังซื้อผลิตผลสด เช่น ซอสพริก และแยม ของเกษตรกร
ด้วยแนวทางที่เท่าเทียมกันในนโยบายการจ้างงานและขยายการดําเนินงาน 80% ของแรงงาน และ 70% ของเกษตรกรรายย่อยที่ทํางานร่วมกันเป็นผู้หญิง
3.ทํางานแบบ Partnership
อันที่จริงความร่วมมือเชิงกลยุทธ์อาจเป็นประตูอีกบานหนึ่ง เพื่อส่งเสริมความเสมอภาค ทําให้โซลูชั่นที่เป็นนวัตกรรมสามารถขยายขนาดได้
นี่เป็นแนวคิดเบื้องหลังเครื่องมือใหม่ที่พัฒนาโดย MIT D-Lab และ SEED ซึ่งมีจุดมุ่งหมายเพื่อให้ผู้นําธุรกิจและผู้ประกอบวิชาชีพด้านการพัฒนาที่มีค่านิยมเดียวกันสามารถร่วมออกแบบรูปแบบความร่วมมือแบบไฮบริดที่เท่าเทียมกันมากขึ้น
กับบริษัทขนาดใหญ่ องค์กรพัฒนาเอกชนและรัฐบาลที่มีแนวโน้มที่จะมองว่าความร่วมมือกับกิจการเพื่อสังคมมีความเสี่ยง ทั้ง MIT D-Lab และ SEED จึงจัดการกับความท้าทายนี้ผ่านห้องปฏิบัติการการเรียนรู้ร่วมกันเป็นเวลาหนึ่งปี การปรึกษากับผู้ประกอบการเพื่อสังคมห้องปฏิบัติการได้พัฒนา Partnership Co-design Toolkit (P.ACT) ซึ่งเป็นกรอบการออกแบบร่วม 4 ขั้นตอน เพื่อให้แน่ใจว่าพันธมิตรสามารถมีส่วนร่วมในการพัฒนารูปแบบความร่วมมือที่ทํางานได้ดีกับทุกฝ่าย
องค์กรหนึ่งที่ได้รับประโยชน์จากเครื่องมือใหม่นี้คือ clinicPesa ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มการจัดหาเงินทุนด้านการดูแลสุขภาพของยูกันดาที่ก่อตั้งโดย Chrispinus Onyancha ด้วย Business Model นี้ ความสำเร็จเกิดจากความร่วมมือของบริษัทโทรคมนาคมใหญ่ที่สุดของแอฟริกา และสถาบันการเงินขนาดใหญ่
Onyancha ต้องการการสนับสนุน และเจรจาเพื่อให้ได้เงื่อนไขที่ดีสําหรับองค์กรของเขา การทํางานร่วมกัน ห้องปฏิบัติการใช้เครื่องมือ P.ACT เพื่อสร้างกรอบการทํางานที่ช่วยให้เขาสามารถจัดสรรมูลค่าและต้นทุน ในที่สุดทําให้เขาสามารถได้รับเงื่อนไขทางการเงินที่ดีขึ้นในความร่วมมือทั้งสองฝ่าย
ที่มา