ALTERNATIVE

เปิด กองทุนเปิดภัทร SET50 ESG หน่วยลงทุนชนิดเพื่อการออมพิเศษ (PHATRA SET50 ESG-SSFX)

2 เมษายน 2563…เลือกหุ้นตามหลักเกณฑ์ที่บริษัทจัดการกำหนด เช่น ปัจจัยพื้นฐาน หลักเกณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับนโยบายและการดำเนินการด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล

ยุทธพล ลาภละมูล กรรมการผู้จัดการ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน ภัทร จำกัด (บลจ. ภัทร) บริษัทในกลุ่มธุรกิจการเงินเกียรตินาคินภัทร เปิดเผยว่า บลจ. จะเปิดเสนอขายกองทุนเปิดภัทร SET50 ESG หน่วยลงทุนชนิดเพื่อการออมพิเศษ (PHATRA SET50 ESG-SSFX) ในระหว่างวันที่ 1 – 8 เมษายน 2563 โดยกองทุนนี้เน้นลงทุนในหลักทรัพย์ที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ โดยเฉลี่ยในรอบปีบัญชีไม่น้อยกว่าร้อยละ 65 ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุน

กองทุนมีเป้าหมายเน้นลงทุนในหุ้นของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ ที่เป็นส่วนประกอบของดัชนี SET 50 โดยจะคัดเลือกหุ้นตามหลักเกณฑ์ที่บริษัทจัดการกำหนด เช่น หลักเกณฑ์ด้านปัจจัยพื้นฐาน หลักเกณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับนโยบายและการดำเนินการด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล (Environmental, Social and Governance หรือ ESG) เป็นต้น

กองทุน PHATRA SET50 ESG-SSFX นี้เหมาะสำหรับผู้ลงทุนที่ต้องการกระจายเงินลงทุนไปในหุ้นที่อยู่ในดัชนี SET50 และสามารถรับความเสี่ยงจากการลงทุนในหุ้น โดยต้องลงทุนต่อเนื่องเป็นระยะเวลาอย่างน้อย 10 ปี ตามหลักเกณฑ์และกฎหมายที่เกี่ยวข้อง

ยุทธพล อธิบายถึงตลาดหุ้นไทยในช่วงไตรมาสแรกของปี 2563 นี้ ได้ปรับตัวลดลงมากกว่าร้อยละ 30 เนื่องมาจาก 2 ปัจจัยสำคัญ ได้แก่

1) การเกิดโรคระบาดไวรัสโควิด 19 ที่แพร่กระจายไปทั่วโลก ส่งผลให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจต่าง ๆ ของหลายประเทศรวมถึงประเทศไทย ไม่ว่าภาคการท่องเที่ยว การผลิต หรือการบริการหยุดชะงักลง
2) ความขัดแย้งระหว่างประเทศซาอุดีอาระเบียและรัสเซียเกี่ยวกับปริมาณการผลิตน้ำมันทำให้ราคาน้ำดิบโลกปรับลดลงกว่าร้อยละ 40 ซึ่งส่งผลกระทบเชิงลบต่อกลุ่มอุตสาหกรรมน้ำมันและโรงกลั่น

อย่างไรก็ตาม ธนาคารกลางต่าง ๆ ทั่วโลกรวมถึงไทย ได้ผ่อนคลายนโยบายทางการเงินโดยปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงและอัดฉีดสภาพคล่องเข้ามาในระบบเป็นจำนวนสูงมาก ประกอบกับรัฐบาลในหลายประเทศและไทยได้เริ่มอนุมัติงบประมาณทางการคลังช่วยเหลือทั้งภาคธุรกิจและเอกชนที่ได้รับผลกระทบจากโรคระบาด ทำให้ความผันผวนของตลาดหุ้นไทยเริ่มลดลง

“แม้ว่าแนวโน้มการลงทุนในตลาดหุ้นไทยในช่วงที่เหลือของปี 2563 ต้องขึ้นอยู่กับพัฒนาการของโรคระบาดเป็นสำคัญว่าจะลดความรุนแรงลงในระยะเวลายาวนานเพียงใด แต่ในมุมของการลงทุนระยะยาวแล้ว ในปัจจุบันมีหุ้นที่มีปัจจัยพื้นฐานที่ดีหลายตัว มีมูลค่าอยู่ในระดับต่ำเกินกว่าที่ควรจะเป็น จึงนับว่าเป็นโอกาสดีในการเข้าซื้อเพื่อลงทุนระยะยาว บลจ.ภัทร จึงขอเสนอทางเลือกสำหรับการลงทุนในหุ้นไทยที่มีปัจจัยพื้นฐาน อีกทั้งมีการดำเนินนโยบายด้านสิ่งแวดล้อม สังคมและธรรมาภิบาลที่ดีให้แก่นักลงทุนไทยผ่านการลงทุนในกองทุนเปิดภัทร SET50 ESG ชนิดเพื่อการออมพิเศษนี้เอง”

ทั้งนี้ กองทุนเพื่อการออมพิเศษ (SSFX) มีขึ้นเพื่อช่วยส่งเสริมการออมระยะยาว โดยรัฐให้สิทธิประโยชน์ทางภาษี ผู้ลงทุนสามารถหักลดหย่อนค่าซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนเพื่อการออมพิเศษ (SSFX) ได้ตามที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 200,000 บาท แยกต่างหากจากวงเงินหักลดหย่อนค่าซื้อหน่วยลงทุนในกองทุน SSF ปกติ และไม่อยู่ภายใต้เพดานวงเงินหักลดหย่อนรวมของเงินสะสม เงินสมทบหรือค่าซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนเพื่อการเกษียณอายุทั้งหมด

ผู้ใช้สิทธิหักลดหย่อนตามมาตรการนี้จะต้องซื้อหน่วยลงทุนกองทุนเพื่อการออมพิเศษ (SSFX) นี้ ระหว่างวันที่ 1 เมษายน 2563 ถึงวันที่ 30 มิถุนายน 2563 และต้องถือหน่วยลงทุนไว้ไม่น้อยกว่า 10 ปี ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขอื่น ๆ ที่อธิบดีกรมสรรพากรประกาศกำหนด กองทุนนี้จึงเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่น่าสนใจสำหรับผู้ลงทุนที่ต้องการออมระยะยาวอีกทั้งได้รับสิทธิลดหย่อนภาษีเพิ่มเติมอีกด้วย

สำหรับผู้ลงทุนที่สนใจสามารถขอรับหนังสือชี้ชวนและข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ บริษัทหลักทรัพย์ภัทร โทร. 02 305 9559 หรือ ธนาคารเกียรตินาคินทุกสาขา หรือ KKP Contact Center 02 165 5555 หรือ www.phatraasset.com หรือผู้สนับสนุนการขายและรับซื้อคืนที่ได้รับการแต่งตั้ง

ข้อมูล IPO กองทุน PHATRA SET50 ESG-SSFX:
-เปิด IPO วันที่ 1 – 8 เม.ย. 2563 เวลา 8.30-16.30 น.
-มูลค่าขั้นต่ำในการซื้อ 1,000 บาท
-ค่าธรรมเนียมการขาย/สับเปลี่ยนเข้า: ปัจจุบันยกเว้น

คำเตือน :
-การลงทุนมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน ความเสี่ยง และควรศึกษาข้อมูลสิทธิประโยชน์ทางภาษีในคู่มือการลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการออม รวมถึงกฎหมายภาษีอากรที่เกี่ยวข้องกับการลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการออมพิเศษก่อนตัดสินใจลงทุน
-กองทุนมีนโยบายเปิดให้มีการลงทุนในกองทุนรวมอื่นภายใต้ บลจ. เดียวกัน ซึ่งอาจก่อให้เกิดความขัดแย้งทางผลประโยชน์อันอาจเกิดจากนโยบายการลงทุนในหน่วยลงทุนภายใต้การจัดการของบริษัทจัดการเดียวกัน

 

 

You Might Also Like