ALTERNATIVE

ยูนิเซฟชี้เด็กและเยาวชนไทย กังวลปัญหาการเงินของครอบครัว ช่วงการแพร่ระบาดใหญ่

4 มีนาคม 2564…องค์การยูนิเซฟ ระบุวันนี้ว่า นับตั้งแต่โควิด-19 เริ่มแพร่ระบาด มีเด็กและเยาวชนทั่วโลกราว 332 ล้านคน หรืออย่างน้อย 1 ใน 7 คน ต้องอยู่ในบ้านมาแล้วอย่างน้อย 9 เดือนตามมาตรการควบคุมการแพร่ระบาด ส่งผลให้เด็กและเยาวชนเหล่านั้นเสี่ยงต่อปัญหาด้านสุขภาพจิตและสุขภาวะโดยรวม ยูนิเซฟเรียกร้องให้เพิ่มการลงทุนในบริการสุขภาพจิต

ผลวิเคราะห์ล่าสุดของยูนิเซฟ ซึ่งใช้ข้อมูลจาก Oxford COVID-19 Government Response Tracker ระบุว่า นับตั้งแต่วันที่ 11 มีนาคม 2563 ซึ่งประกาศให้โควิด-19 เป็นการระบาดใหญ่ มีเด็กจำนวน 139 ล้านคนทั่วโลกที่ต้องอยู่แต่ในบ้านเป็นระยะเวลาอย่างน้อย 9 เดือน เนื่องจาก คำสั่ง ให้ประชาชนทั่วประเทศอยู่แต่ในบ้านที่ประกาศใช้ในหลายประเทศ เช่น ปารากวัย เปรู และไนจีเรีย ขณะที่เด็กอีกจำนวน 193 ล้านคนก็มักใช้ชีวิตอยู่แต่ในบ้านเช่นกัน หลังจากที่ประเทศต่าง ๆ ทั่วโลกมีมาตราการ แนะนำ ให้ประชาชนทั่วประเทศอยู่ในบ้าน

เฮนเรียตตา โฟร์ ผู้อำนวยการบริหาร องค์การยูนิเซฟ กล่าวว่า “ด้วยมาตรการล็อกดาวน์ทั่วประเทศและข้อกำหนดต่าง ๆ ที่จำกัดการเดินทาง ทำให้ปีที่ผ่านมานับเป็นช่วงเวลาที่ยาวนานสำหรับเราทุกคน โดยเฉพาะสำหรับเด็ก ๆ วันแล้ววันเล่าพวกเขาไม่ได้พบกับเพื่อนและอยู่ห่างไกลคนที่รัก หรือบางคนอาจต้องอยู่ร่วมกับสมาชิกในบ้านที่ใช้ความรุนแรง ทั้งหมดนี้ส่งผลกระทบมหาศาลต่อเด็ก ๆ เด็กจำนวนมากต้องอยู่ในบ้านด้วยความกลัว โดดเดี่ยว กระวนกระวาย และวิตกกังวลต่ออนาคต ดังนั้น เราต้องผ่านวิกฤตนี้พร้อมกับการจัดการปัญหาสุขภาพจิตเด็กและวัยรุ่นที่ดีกว่าเดิม โดยเริ่มจากการให้ความสำคัญกับเรื่องนี้อย่างจริงจัง”

ในประเทศไทย ผลสำรวจของยูนิเซฟและภาคีซึ่งจัดทำในเดือนเมษายน 2563 พบว่า เด็กและเยาวชนกว่า 7 ใน 10 คน กล่าวว่าวิกฤตโควิด-19 ส่งผลกระทบต่อสภาพจิตใจ พวกเขามีความเครียด เป็นห่วงและวิตกกังวล โดยเรื่องที่พวกเขากังวลมากที่สุดคือปัญหาการเงินของครอบครัว

© UNICEF/2020/Sukhum Preechapanich (สุขุม ปรีชาพานิช)
ด้วยการสนับสนุนของยูนิเซฟ และยูเอสเอด เจ้าหน้าที่ลงพื้นที่เยี่ยมชุมชนแห่งหนึ่งในกรุงเทพฯ เพื่อให้การช่วยเหลือ เช่น มอบเครื่องใช้เพื่อสุขอนามัยแก่เด็กและครอบครัวในช่วงการแพร่ระบาดของโควิด-19

การแพร่ระบาดของโควิด-19 ได้เข้าสู่ปีที่สองและกำลังส่งผลกระทบต่อสุขภาพจิตและสุขภาวะโดยรวมของเด็กและเยาวชน ในภูมิภาคละตินอเมริกาและแคริบเบียน ผลโพลยูรีพอร์ตของยูนิเซฟ ซึ่งได้สำรวจเยาวชนกว่า 8,000 คน พบว่า เยาวชนกว่า 1 ใน 4 เคยมีภาวะวิตกกังวล ขณะที่ร้อยละ 15 เคยเผชิญกับภาวะซึมเศร้า

ตั้งแต่ก่อนการแพร่ระบาด เด็กและเยาวชนจำนวนมากก็เผชิญกับปัญหาสุขภาพจิตอยู่แล้ว ทั้งนี้ โรคที่เกี่ยวข้องกับความผิดปกติทางจิตประมาณครึ่งหนึ่ง มักจะก่อตัวขึ้นก่อนอายุ 15 ปี ขณะที่ร้อยละ 75 เกิดขึ้นในช่วงผู้ใหญ่ตอนต้น แต่ละปีมีผู้เสียชีวิตจากการฆ่าตัวตายราว 800,000 คน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นเยาวชน การทำร้ายตัวเองยังเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับที่สามในกลุ่มคนที่มีอายุระหว่าง 15-19 ปี โดยวัยรุ่นหญิงมีอัตราที่สูงกว่า นอกจากนี้ มีการคาดการณ์ว่า เด็ก 1 ใน 4 คนทั่วโลกอาศัยอยู่กับผู้ปกครองที่มีปัญหาสุขภาพจิต

สำหรับเด็ก ๆ ที่เผชิญกับความรุนแรง การถูกละเลย หรือการถูกทำร้ายที่บ้าน มาตรการล็อกดาวน์ทำให้พวกเขาต้องติดอยู่กับสมาชิกในบ้านที่ใช้ความรุนแรงโดยปราศจากการช่วยเหลือจากครู สมาชิกครอบครัวคนอื่น ๆ หรือคนในชุมชน ในขณะเดียวกัน ปัญหาและความต้องการด้านสุขภาพจิตของเด็กกลุ่มเปราะบาง เช่น เด็กที่ใช้ชีวิตตามท้องถนน เด็กที่มีความบกพร่องทางร่างกายและสติปัญญา และเด็กที่อยู่ในพื้นที่ ๆ มีการสู้รบ ก็มักถูกมองข้ามโดยสิ้นเชิง

Nancy and María José, Protection Counselors, provide psychosocial care and interview to children who together with their caregivers request the Protection Council support for conflict resolution in their family, in Táchira state, on July 22, 2020. © UNICEF/UNI357931/Poveda เจ้าหน้าที่งานปกป้องและคุ้มครองเด็กในประเทศเวเนซูเอลา สัมภาษณ์และให้คำปรึกษาเด็กและผู้ปกครองเพื่อลดปัญหาความขัดแย้งในครอบครัว

องค์การอนามัยโลกระบุว่า โควิด-19 ทำให้บริการด้านสุขภาพจิตต้องหยุดชะงักหรือช้าลงลงในเกือบทุกประเทศทั่วโลก ทั้ง ๆ ที่ความต้องการบริการด้านนี้กำลังเพิ่มขึ้น งานศึกษาจาก 194 เมืองในประเทศจีน พบว่า ร้อยละ 16 ของผู้ตอบแบบสอบถาม บอกว่าตนเองมีอาการซึมเศร้าในระดับปานกลางถึงรุนแรงในช่วงการแพร่ระบาด และร้อยละ 28 มีอาการวิตกกังวลในระดับปานกลางถึงรุนแรง

ในแง่ของการรับมือ ยูนิเซฟได้สนับสนุนรัฐบาลและองค์กรภาคีให้เห็นความสำคัญของเรื่องนี้พร้อมปรับรูปแบบการให้บริการสำหรับเด็ก ๆ เช่น ในประเทศคาซัคสถาน ยูนิเซฟได้เปิดช่องทางออนไลน์ให้คำปรึกษาสำหรับเด็กแบบตัวต่อตัว พร้อมจัดฝึกอบรมทางไกลสำหรับผู้เชี่ยวชาญทางด้านสุขภาพจิต ในประเทศจีน ยูนิเซฟ และ Kuaishou บริษัทด้านสื่อออนไลน์ ร่วมกันจัดกิจกรรมออนไลน์เพื่อช่วยเด็กๆ ลดความวิตกกังวล

ในประเทศไทย ยูนิเซฟร่วมกับมูลนิธิแพธทูเฮลท์ (Path2Health) ให้บริการปรึกษาออนไลน์แก่วัยรุ่นในเรื่องต่างๆ รวมถึงด้านสุขภาพจิต ตั้งแต่สี่โมงเย็นจนถึงเที่ยงคืนโดยไม่มีค่าใช้จ่าย ผ่านทาง เลิฟแคร์ สเตชั่น www.lovecarestation.com โดยเป็นบริการเฉพาะสำหรับวัยรุ่นที่เข้าถึงง่าย และเป็นมิตรกับวัยรุ่น นอกจากนี้ เมื่อปีที่แล้ว ยูนิเซฟยังร่วมกับภาคีภาครัฐและเอกชนจัดทำโครงการ The Sound of Happiness ฟังและเล่า = ความสุข นำเสนอพอดแคสต์ 13 ตอน บอกเล่าเรื่องราวการจัดการกับปัญหาด้านจิตใจสำหรับวัยรุ่น โดยผู้เชี่ยวชาญผ่านแอปพลิเคชั่น JOOX เพื่อช่วยให้เด็กและเยาวชนนำไปปรับใช้เพื่อรับมือกับปัญหาต่าง ๆ ที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพจิตและสุขภาวะของพวกเขา

ในปี 2564 นี้ ยูนิเซฟจะออกรายงานประจำสองปี ชื่อว่า State of the World’s Children ซึ่งจะเน้นประเด็นด้านสุขภาพจิตเด็กและวัยรุ่น เพื่อสร้างความตระหนักถึงความท้าทายในเรื่องนี้ พร้อมเสนอแนวทางแก้ไขเพื่อกระตุ้นให้รัฐบาลต่าง ๆ ทั่วโลกหันมาให้ความสำคัญกับประเด็นนี้มากขึ้น

“ถ้าเราไม่ทันได้ตระหนักถึงความเร่งด่วนในการแก้ไขปัญหานี้ก่อนการแพร่ระบาด แน่นอนว่าตอนนี้เราต้องตระหนักแล้ว ประเทศต่าง ๆ ต้องเพิ่มการลงทุนในบริการและการสนับสนุนด้านสุขภาพจิตสำหรับวัยรุ่นและผู้ปกครอง ทั้งในชุมชนและในโรงเรียน นอกจากนี้ เราต้องส่งเสริมพ่อแม่และผู้ดูแลเด็กให้มีความรู้และทักษะมากขึ้น เพื่อให้แน่ใจว่าเด็ก ๆ ในครอบครัวที่เปราะบางจะได้รับการดูแลและปกป้องคุ้มครองอย่างเหมาะสมที่บ้าน” กล่าวในท้ายที่สุด

On 7 August 2020, a girl plays with her dog during a visit by social worker Iryna Laposhyna (not pictured) to meet with his family in the village of Soledarska hromada, Eastern Ukraine. Iryna works with nine families in the village. During the quarantine in place to stem the spread of COVID-19, she has been providing psychological help as well as in-kind assistance such as providing food and hygiene items, and helping to obtain government benefits.
In Ukraine, disruptions caused by the COVID-19 response and associated containment measures disproportionally affect children and their families. 42,000 children, including those with disabilities, were sent back home from boarding schools and other child care institutions as a result of measures enacted to stem the spread of COVID-19. Moreover, the poverty rate in Ukraine is expected to increase significantly in 2020; economic deterioration will have the most devastating impact on vulnerable groups, especially households with children. The impact of COVID is tangibly harder for those in Eastern Ukraine affected by conflict.
The situation has led to growing demand for social services and for enhancing the role of social workers in the community. Being at the forefront of response actions to COVID-19, social workers are particularly at risk during the pandemic, yet despite the risks they continue to work with families; their role is crucial for addressing the consequences of the outbreak.
UNICEF Ukraine is working with regional and local partners to rapidly assess the situation and provide support to children and families in vulnerable communities, as well as to equip front-line responders in Eastern Ukraine with protective supplies and technical guidance. © UNICEF/UNI359075/Zmey เด็กหญิงกำลังเล่นกับสุนัขขณะที่เจ้าหน้าที่สังคมสงเคราะห์เดินทางมาเยี่ยมครอบครัวของเธอในยูเครนตะวันออก การช่วยเหลือประกอบด้วยการให้คำปรึกษาเชิงจิตวิทยา การมอบอาหารและอุปกรณ์ป้องกันโรค รวมถึงการช่วยให้พวกเขาได้เข้าถึงสวัสดิการของรัฐบาล

หมายเหตุ
ตัวเลขต่าง ๆ อ้างอิงจาก Dashboard on government responses to COVID-19 and the affected populations ของ ยูนิเซฟ ซึ่งวิเคราะห์ด้วยข้อมูลของ Oxford COVID-19 Government Response Tracker และ UN DESA Population Division, ที่รวบรวมขึ้นระหว่างวันที่ 11 มีนาคม 2563 ถึง 22 กุมภาพันธ์ 2564

นโยบายการกักตัวอยู่ที่บ้าน ถูกแบ่งได้ตามระดับต่าง ๆ ดังนี้
0 – ไม่มีมาตรการใด ๆ
1 – แนะนำไม่ให้ออกจากบ้าน
2 – งดเดินทางออกจากบ้าน ยกเว้นในบางกรณี ได้แก่ ออกกำลังกาย ซื้อของใช้ และการเดินทางที่มีนัดหมายสำคัญ
3 – งดเดินทางออกจากบ้าน ด้วยข้อยกเว้นที่เข้มงวด เช่น ออกจากบ้านได้เพียงสัปดาห์ละครั้ง หรือออกจากบ้านได้เพียงคนเดียวต่อครั้ง

เด็ก 332 ล้านคน คือตัวเลขคาดการณ์ขั้นต่ำ และหมายถึงเด็กในประเทศต่าง ๆ ที่มีการออกนโยบายตามระดับ 1-3 ข้างต้นที่ประกาศใช้ทั่วทั้งประเทศ เด็ก 139 ล้านคนเป็นจำนวนคาดการณ์ขั้นต่ำ และหมายถึงเด็กในประเทศที่ใช้นโยบายตามข้อ 2-3 ที่ประกาศใช้ทั่วทั้งประเทศ ข้อมูลนี้ไม่รวมจำนวนเด็ก ๆ ที่ได้รับผลกระทบจากมาตรการล็อกดาวน์ในประเทศที่ดำเนินมาตราการเหล่านี้ในบางพื้นที่เท่านั้น

On 6 August 2020, psychologist Olena Davydova (left) meets with a family in Bilokurakyno, Eastern Ukraine. During the COVID-19 pandemic, it is important for families to be supported and empowered, and also to be informed about quarantine rules put in place to stem the spread of the disease.
In Ukraine, disruptions caused by the COVID-19 response and associated containment measures disproportionally affect children and their families. 42,000 children, including those with disabilities, were sent back home from boarding schools and other child care institutions as a result of measures enacted to stem the spread of COVID-19. Moreover, the poverty rate in Ukraine is expected to increase significantly in 2020; economic deterioration will have the most devastating impact on vulnerable groups, especially households with children. The impact of COVID is tangibly harder for those in Eastern Ukraine affected by conflict.
The situation has led to growing demand for social services and for enhancing the role of social workers in the community. Being at the forefront of response actions to COVID-19, social workers are particularly at risk during the pandemic, yet despite the risks they continue to work with families; their role is crucial for addressing the consequences of the outbreak.
UNICEF Ukraine is working with regional and local partners to rapidly assess the situation and provide support to children and families in vulnerable communities, as well as to equip front-line responders in Eastern Ukraine with protective supplies and technical guidance. © UNICEF/UNI359079/Zmey นักจิตวิทยาเดินทางเยี่ยมครอบครัวในยูเครนตะวันออก การให้การสนับสนุนและเสริมสร้างกำลังใจแก่ครอบครัวนับเป็นเรื่องสำคัญในช่วงการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19

 

You Might Also Like