BIODIVERSITY & REGENERATIVE

การเดินทางของ “ดิน” @Regenerative Agriculture : ความหวังใหม่ต่อมนุษยชาติ

19 สิงหาคม 2567…เกษตรกรรมเชิงฟื้นฟู (Regenerative Agriculture) ทำได้ค่อนข้างง่าย คือ เป็นการเกษตรรูปแบบใดก็ได้ ซึ่งขณะเดียวกันก็ช่วยปรับปรุงสิ่งแวดล้อม ซึ่งหมายถึงการฟื้นฟูดินเป็นหลัก เป็นเรื่องการเดินทาง ไม่ใช่จุดหมายปลายทาง


เป็นเวลาหลายพันปีที่เกษตรกรได้นําเมล็ดพันธุ์มาปลูกบนดินที่พรวนอย่างดี อุดมสมบูรณ์ด้วยสารอาหาร และไม่ถูกรบกวนจากวัชพืช แต่หลังจากนั้นไม่กี่ปี ความอุดมสมบูรณ์จากแรกเริ่มก็หมดไป ผลผลิตพืชผลจะลดลง เกษตรกรต้องปรับสภาพดินรอบใหม่ ทำแบบนี้ซ้ำแล้วซ้ำเล่า

กล่าวได้ว่า ดินที่อุดมสมบูรณ์ เป็นระบบนิเวศซับซ้อนน่าอัศจรรย์ ประกอบด้วยสิ่งมีชีวิตขนาดเล็กนับไม่ถ้วนหลายพันล้านตัวที่ทํางานอยู่ในซอกเล็กๆ ของตัวเอง จากนั้นระบบทั้งหมดก็ขับเคลื่อนจากการเพาะปลูก รวมถึงช่วยให้พืชเติบโต

ในอดีต เรายอมรับว่า ทุกครั้งที่เพาะปลูก สภาพดินก็จะแย่ลง แต่ปัจจุบัน เรารู้แล้วว่าไม่เป็นอย่างนั้นตลอดไป โดยสามารถทำเกษตรฟื้นฟู ซึ่งมี 5 หลักการที่ต้องปฏิบัติ

1.อย่าทำลายสภาพดิน

ดินประกอบด้วยเครือข่ายซับซ้อน ทั้งรูหนอน เชื้อรา และเขาวงกตของช่องอากาศขนาดเล็กล้อมรอบด้วยมวลรวมของอนุภาคดิน การพรวนดิน ใส่ปุ๋ย หรือพ่นสารบำรุงปริมาณมากจะทําให้ความอุดมสมบูรณ์กลับคืนมา

2. คลุมผิวดิน

ผลกระทบของเม็ดฝน แสงแดด หรือน้ําค้างแข็งที่เผาไหม้ล้วนทำอันตรายต่อดิน ขณะที่เปลือกไม้ หรือแม้แต่ซังข้าวโพดก็สามารถช่วยป้องกันดินได้เช่นกัน

3. เก็บรากที่มีชีวิตไว้ในดิน

บางครั้ง การหมุนเวียนดินที่ใช้เพาะปลูกทําได้ยาก รากที่ยังมีชีวิตในดินสําคัญต่อการให้อาหาร แบคทีเรียและเชื้อราให้อาหารแก่โปรโตซัว ไส้เดือน ฯลฯ นอกจากนี้เชื้อราไมคอร์ไรซาล และซิมไบออนต์ ช่วยสิ่งมีชีวิตเจริญเติบโต มีความสําคัญต่อการบํารุงพืช เป็นเหมือนการใส่ปุ๋ย และรดน้ําพืชผลฟรี

4. ปลูกพืชหลากชนิด

เวลาเดียวกัน เช่น ในทุ่งหญ้า การปลูกพืชเชิงเดี่ยวไม่ได้เกิดขึ้นตามธรรมชาติ และสิ่งมีชีวิตในดินเจริญเติบโตจากความหลากหลาย การปลูกพืชสองชนิดพร้อมกัน และแยกออกจากกันหลังการเก็บเกี่ยว สามารถทําได้ การปลูกพืชคลุมดิน (การปลูกพืชที่ไม่ได้นําไปเก็บเกี่ยว แต่ช่วยปกป้องและเลี้ยงดิน) มีบทบาทสำคัญในการจับแสงแดด และป้อนพลังงานไปสู่โลกใต้ดินในช่วงที่ยังไม่มีการเพาะปลูก

5. นําสัตว์กินหญ้ากลับมาที่ดิน

การนำสัตว์มายังที่ดินเป็นมากกว่าทำให้เป็นทุ่งหญ้าถาวร ช่วยให้เกษตรกรผู้เพาะปลูกสามารถพักที่ดินของตนได้ 1-2 ปีขึ้นไป การทำปศุสัตว์ เน้นสัตว์กินหญ้าจะเพิ่มผลดีต่อดิน

เกือบ 70% ของพื้นที่เกษตรกรรมในสหราชอาณาจักรกําลังทำเรื่องเกษตรกรรมเชิงฟื้นฟู อย่างไรก็ตาม การปรับที่ดินจํานวนมากทำไม่ถูกต้อง เช่น ใส่ปุ๋ยมากเกินไป ส่วนพื้นที่เลี้ยงสัตว์ส่วนใหญ่ปลูกพืชชนิดเดียวถูกรบกวนเป็นประจํา ขณะที่ดินส่วนที่เป็นโคลน หรือที่เป็นเนินเขาของประเทศมักจะเกิดการกัดเซาะ และเกิดน้ําท่วมเพิ่มขึ้น

ไม่มีใครแน่ใจว่าจะทำดินได้ดี เช่น คนไม่เห็นด้วยจะถามว่าเก็บกักคาร์บอนได้มากน้อยแค่ไหน ในอดีต นั่นเป็นจริงได้เฉพาะชั้นดินที่หนาราว 6 นิ้วจากผิวดินเท่านั้น แต่เมื่อเวลาผ่านไป หากทำเกษตรกรรมเชิงฟื้นฟู เราสามารถทำให้ผิวดินหนาขึ้น สามารถกักเก็บน้ําฝน ช่วยให้ราก และไมซีเลียมทํางานได้ดี รวมถึงมีพื้นที่กักเก็บคาร์บอนระยะยาวได้มากขึ้น

การทำเกษตรกรรมเชิงฟื้นฟู ไม่เพียงดีสําหรับเกษตรกรเท่านั้น แต่ยังเป็นวิธีที่หากดําเนินการทั่วโลก ความหวังที่มนุษยชาติจะใช้ชีวิตอยู่บนโลกอย่างน่ารื่นรมย์ก็มีมากขึ้นด้วย

ที่มา

 

You Might Also Like