15 มกราคม 2562… ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ประเมินว่า ผลทางเศรษฐกิจจากปัญหาฝุ่นละอองในกรุงเทพฯ และปริมณฑล เบื้องต้นที่ใช้ในการคำนวณ ไม่เกิน 1 เดือน
ฝุ่น PM 2.5 เริ่มเกิดขึ้นมาอย่างมากอีกครั้ง ตั้งแต่ช่วงปลายปี 2561 นับเป็นโจทย์ท้าทายที่ทุกฝ่ายต้องร่วมมือกันทั้งการศึกษาหาสาเหตุและการวางแนวทางแก้ไขปัญหา
การประเมินผลกระทบทางเศรษฐกิจเบื้องต้นจากปัญหาฝุ่นละอองในกรุงเทพฯและปริมณฑล
หมายเหตุ: กรอบเวลาที่ใช้ในการคำนวณ ไม่เกิน 1 เดือนซึ่งเริ่มตั้งแต่ช่วงปลายปี 2561
ครึ่งหนึ่งของจำนวนผู้ป่วยโรคภูมิแพ้ในเขตกรุงเทพฯและปริมณฑลเดินทางไปพบแพทย์ (อ้างอิงข้อมูลเปอร์เซ็นต์ผู้ป่วยโรคภูมิแพ้จากงานวิจัยเรื่องความชุกของสารก่อภูมิแพ้ในอากาศจากการทดสอบภูมิแพ้ทางผิวหนังในคลินิกโรคภูมิแพ้ โรงพยาบาลรามาธิบดี) และยังไม่ได้รวมผู้ที่ไม่ได้เป็นโรคภูมิแพ้ที่อาจมีอาการเจ็บป่วยจากสถานการณ์ฝุ่นละออง
ทั้งนี้ การประเมินผลกระทบทางเศรษฐกิจข้างต้น เป็นการประมาณการในเบื้องต้น ซึ่งศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองว่า ขนาดของผลกระทบทั้งหมดที่แท้จริง คงจะยังต้องขึ้นอยู่กับเงื่อนไขด้านระยะเวลาและความรุนแรงของปัญหา รวมถึงแนวทางการบริหารจัดการเพื่อแก้ปัญหาด้วย ซึ่งภาครัฐก็ได้มีการดำเนินการเพื่อบรรเทาและแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าแล้ว ไม่ว่าจะเป็นการปฏิบัติการฝนหลวง การควบคุมและตรวจสอบรถยนต์ที่ปล่อยควันดำ การฉีดพ่นละอองน้ำและล้างถนนเพื่อกำจัดฝุ่นละออง รวมถึงการหารือร่วมกับทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องเพื่อวางแนวทางดำเนินการต่อไป
อย่างไรก็ดี ในระยะยาวแล้ว ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองว่า การศึกษาเพื่อให้เข้าใจลักษณะของปัญหาฝุ่นละอองเกินมาตรฐานว่าเกิดจากจากปัจจัยใดในน้ำหนักเท่าไร เช่น รถยนต์ โรงไฟฟ้า โรงงานอุตสาหกรรม ก่อสร้าง ผังเมือง หรือสภาพภูมิอากาศที่ปิด เป็นต้น เป็นสิ่งที่สำคัญและจำเป็นเพื่อให้สามารถวางแนวทางการแก้ไขปัญหาได้อย่างตรงประเด็น
การประเมินผลกระทบทางเศรษฐกิจข้างต้น เป็นเพียงการชี้ให้เห็นถึงเม็ดเงินผลกระทบที่เกิดขึ้นส่วนหนึ่งเท่านั้น สิ่งที่ยังประเมินออกมาเป็นมูลค่าผลกระทบอย่างชัดเจนได้ยาก ยังคงมีอยู่ ไม่ว่าจะเป็น ผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชนในระยะยาว/ความเสี่ยงของการเกิดโรคภัยไข้เจ็บ ตลอดจนผลต่อภาพรวมของประเทศภายใต้ยุทธศาสตร์ที่ทางการมุ่งหวังจะให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางทางธุรกิจทั้งการท่องเที่ยว การแพทย์ และอื่นๆ ในเวทีโลก
Cr.ภาพ