2 มีนาคม 2562…ถ้าหยุดการทำประมงแบบทำลายล้างลงได้ เพราะห่วงโซ่อาหารในทะเลเป็นเรื่องที่สำคัญ การทำการประมงที่ไปตัดห่วงโซ่อาหารในทะเลจะส่งผลกระทบต่อพันธุ์สัตว์น้ำชนิดอื่นๆให้ลดจำนวนลงหรือหมดไป
บรรจง นะแส ที่ปรึกษา สมาคมรักษ์ทะเลไทย ได้กล่าวถึงความสมบูรณ์ของท้องทะเลไทย ที่มีสัตว์น้ำมากมายเติบโตเต็มวัยเป็นห่วงโซ่อาหารในทะเล สร้างเศรษฐกิจชุมชนในกับชาวประมงได้เป็นอย่างดี หากหยุดการทำประมงแบบทำลายล้างลงได้
การดำเนินงานเรื่องนี้ สอดคล้องเป้าหมาย SDGs 14 การใช้ประโยชน์จากมหาสมุทรและทรัพยากรทางทะเล อนุรักษ์และใช้ประโยชน์จากมหาสมุทรและทรัพยากรทางทะเลเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน ผู้คนกว่าสามพันล้านคนใช้ชีวิตขึ้นอยู่กับความหลากหลายทางชีวภาพทางทะเลและชายฝั่ง แต่ในปัจจุบันนี้เราจะเห็นได้ว่า 30% ของปลาทะเลของโลกได้ถูกใช้ไปเกินขนาด ซึ่งต่ำกว่าระดับที่พวกเขาสามารถผลิตผลตอบแทนที่ยั่งยืนให้ได้
หากพิจารณาตามเอกสารของ วิโชคศักดิ์ รณรงค์ไพรี สมาคมรักษ์ทะเลไทย #กรมประมง จะพบการใช้ประโยชน์จากมหาสมุทรและทรัพยากรทางทะเล 4 เรื่องสำคัญคือ
1) ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับปริมาณการผลิต
สถิติของกลุ่มวิจัยและวิเคราะห์สถิติการประมง ศูนย์สารสนเทศ กรมประมง รายงานไว้ว่า ปริมาณสัตว์น้ำจากการทำประมงนอกน่านน้ำโดยเฉพาะในเขตรัฐชายฝั่ง ประเทศไทยสามารถจับ ได้มาเพิ่มมากขึ้นทุกปีจนในปี 2547 สามารถจับสัตว์น้ำจากการทำ ประมงนอกน่านน้ำได้ถึง 1.1 ล้านตัน คิดเป็น 43.51 เปอร์เซ็นต์ของปริมาณการจับสัตว์น้ำรวมใน และนอกน่านน้ำของ ประเทศไทย และมีตัวเลขปี พ.ศ. 2556 ประมาณ 1.1 ล้านตัน ในขณะที่จับในน่านน้ำไทย ได้ประมาณ 1.2 ล้านตัน สรุปได้ ว่า ปริมาณการจับสัตว์น้ำธรรมชาติของไทยจากในน่านน้ำ และนอกน่านน้ำไทย มีปริมาณใกล้เคียงกัน รวมประมาณ 2.3 ล้านตันต่อปี
ในขณะเดียวกัน กลุ่มวิเคราะห์การค้าสินค้าประมงระหว่างประเทศ กองประมงต่างประเทศ กรมประมง ประมวลข้อมูลจากกรมศุลกากร / ปรับปรุงข้อมูล เมื่อ กรกฎาคม 2556 ได้รายงานว่า ประเทศไทยมีการนำเข้าสัตว์น้ำทุกปี ประมาณ 1.6 -1.7 ล้านตัน ต่อปีเช่นกัน สรุปว่า ประเทศไทย มีสัตว์น้ำในสต็อคเฉลี่ยประมาณ 4 ล้านตัน ต่อปี
เมื่อรวมกับตัวเลขการผลิตโดยการเพาะเลี้ยง (ส่วนใหญ่เป็น กุ้งทะเล) อีกประมาณ 4-5 แสนตัน หมายความว่า ประเทศไทยมี สต็อครวม 4.5 ล้านตัน/ปี โดยประมาณ
2) การบริโภคในประเทศ
ในรายงานการวิจัยของหลายสำนัก เช่นของ ประพันธ์ โนระดี ได้อ้างอิงข้อมูลกรมประมง ว่า คนไทยบริโภค (รวมการใช้ทุกประเภท ทั้งแปรรูป /รับประทาน/ ผลิตอาหารสัตว์ ฯลฯ แล้ว) สัตว์น้ำในประเทศเอง ประมาณ 2 ล้านตันต่อปี
3) การส่งออก ประเทศไทย
ส่งออกสัตว์น้ำไปขายต่างประเทศ เฉลี่ยปีละประมาณเกือบ 2 ล้านตัน (ตัวเลขปี 2555 ส่งออก 1,908,099 ตัน) และเมื่อพิจารณาผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำที่ส่งออก เป็น ทูน่า (ซึ่งประเทศไทยนำเข้า) และ กุ้ง (จากการเพาะเลี้ยง) รวมกัน ประมาณ 70% ของการส่งออก ทั้งหมด หมายความว่า ผลผลิตในประเทศ และการจับเองจากน่านน้ำต่างประเทศ คนไทยใช้เอง ส่วนที่ส่งออก กลับเป็นสินค้าประเภทนำเข้ามาแปรรูป และการเพาะเลี้ยง ซึ่งไม่เป็นผลผลิต ธรรมชาติ/ ไม่เป็นของประชากรประมงส่วนใหญ่
4) การประมงทำลายล้างตัวเอง
ถึงแม้ว่าจากข้อมูลบ่งชี้ว่า การประมงจากธรรมชาติของไทย เพียงพอกับการบริโภค ในประเทศ แต่ก็เกิดการทำลายตัวเองไปด้วยในขณะเดียวกัน โดยข้อมูลกรมประมงปี 2557 ระบุว่า ไทยจับสัตว์น้ำประมงทะเลในน่านน้ำไทย 1,728,000 (รวมทั้งหมด; ตัน) โดยการจับด้วยวิธีการพาณิชย์ประเภท อวนลาก อวนล้อม ปั่นไฟล่อสัตว์น้ำ เป็นหลัก
ถ้าคำนวณบนฐานสมมุติ อัตราส่วนการจับ (ตัวเลขจากกรมประมง) ประมงพาณิชย์ จับประมาณ 80 เปอร์เซนต์ หรือประมาณ 1,382,400 ตัน (ส่วนใหญ่เป็นสัตว์น้ำรวม) ส่วนประมงพื้นบ้าน คิดที่ ๒๐ เปอร์เซนต์ จับได้ 345,600 ตัน (ส่วนใหญ่เป็นสัตว์เศรษฐกิจ)
ในตัวเลข 1,382,400 ตัน ของประมงพาณิชย์ ลองนำมาเทียบเคียงองค์ประกอบสัตว์น้ำ จากงาน วิจัยอวนลาก ระบุว่ามีสัตว์น้ำ ศฐ. ที่ ๓๓ เปอร์เซนต์ (หรือประมาณ 456,192 ตัน) ที่เหลือ 67% เป็น ปลาเป็ด (ทำป่นอาหารสัตว์ประมาณ 926,208 ตัน)
ในปริมาณปลาเป็ดทั้งหมดนั้น ประมาณ 30 % เป็นสัตว์น้ำ ศฐ.เล็ก 2 แสนกว่าตัน ถ้าคิดเฉพาะ สัตว์น้ำ ศฐ. ขนาดเล็ก หากสามารถโตเป็นสัตว์น้ำเต็มวัยใน 1 ปีการประมง สามารถมีน้ำหนักได้ถึง 20 ล้านตัน เทียบมูลค่าได้ 1 กก. ละ 1๐๐ บาท (ราคาปลาทู) จะได้ มูลค่า 2,000,000,000,000 บาท (สองล้านล้านบาท)”….
ที่มา