23 สิงหาคม 2564…ผู้เชี่ยวชาญด้านการดักจับคาร์บอนและผู้ผลิตกางเกงโยคะระดับไฮเอนด์ได้พัฒนาโพลีเอสเตอร์ โดยใช้ก๊าซใช้แล้ว ซึ่งมีรูปลักษณ์ คุณสมบัติ และฟังก์ชันการทำงานเหมือนโพลีเอสเตอร์บริสุทธิ์ เป็นตัวเปลี่ยนเกมด้วยการใช้วัตถุดิบที่มีคาร์บอนต่ำสำหรับอุตสาหกรรมเครื่องนุ่งห่ม
LanzaTech สตาร์ทอัพด้านเทคโนโลยีชีวภาพได้ร่วมมือกับ Lululemon แบรนด์เสื้อผ้ากีฬาระดับไฮเอนด์ สร้างเส้นด้ายและผ้าผืนแรกของโลกที่ทำจากการปล่อยคาร์บอน LanzaTech ใช้วิธีแก้ปัญหาจากธรรมชาติเพื่อผลิตเอทานอลจากแหล่งของเสียคาร์บอน และความร่วมมือครั้งนี้ เป็นการทำงานร่วมกับผู้ผลิตปิโตรเคมีที่ “เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม” India Glycols Limited (IGL) และผู้ผลิตสิ่งทอชาวไต้หวัน Far Eastern New Century (FENC) เพื่อแปลงเอทานอลเป็นโพลีเอสเตอร์
LanzaTech ซึ่งได้รับทั้งรางวัล People’s Choice และ Target Overall Winner ในงาน Sustainable Brands Innovation Open ในปี 2558 จากการเปรียบเทียบเทคโนโลยีรีไซเคิลคาร์บอน กับเทคโนโลยีของโรงเบียร์ แทนที่จะใช้น้ำตาลและยีสต์ผลิตเบียร์ สู่การเปลี่ยนแบคทีเรียให้เป็นเชื้อเพลิงและสารเคมี
การรีไซเคิลคาร์บอนเป็นองค์ประกอบพื้นฐานของ Circular Economy โดยเก็บคาร์บอนฟอสซิลไว้ในพื้นดิน ซึ่งช่วยลดมลภาวะ และการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลเมื่อใช้ผลิตผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าเพิ่ม เช่น โพลีเอสเตอร์
ทั้งนี้ FENC แถลงว่าเส้นใย FENC® TOPGREEN® Bio3-PET เป็นโพลีเอสเตอร์ผลิตจากก๊าซใช้แล้ว ซึ่งทำจากเอธานอลของ LanzaTech ไม่เพียงมีลักษณะเหมือนกัน แต่ยังมีคุณสมบัติและฟังก์ชันการทำงานของโพลีเอสเตอร์บริสุทธิ์เช่นเดียวกัน ด้วยคาร์บอนฟุตพริ้นท์ที่ต่ำ สิ่งทอรีไซเคิลนี้เปลี่ยนแปลงทั้งผลิตภัณฑ์ของ lululemon และอุตสาหกรรมเครื่องนุ่งห่มได้ในวงกว้าง
“เราต้องเปลี่ยนวิธีการจัดหา ใช้ และกำจัดคาร์บอนอย่างสิ้นเชิง” Jennifer Holmgren ซีอีโอของ LanzaTech กล่าว “การรีไซเคิลคาร์บอนช่วยให้บริษัทต่าง ๆ เช่น lululemon ผันตัวเองจากแหล่งฟอสซิลบริสุทธิ์ นำเรื่อง Circular มาสู่ผลิตภัณฑ์ของตน และบรรลุเป้าหมายจัดการภาวะโลกร้อน ด้วยการลดคาร์บอน เราเรียกสิ่งที่เกิดขึ้นนี้ว่า CarbonSmart’”
ในเดือนตุลาคม lululemon แถลงถึง Impact Agenda ฉบับแรก โดยสรุปกลยุทธ์ช่วงหลายปีข้างหน้า เพื่อแก้ไขปัญหาทางสังคมและสิ่งแวดล้อมที่สำคัญ โดยมีเป้าหมาย 12 ประการ ในการขับเคลื่อนเพื่อความก้าวหน้า การเป็นพันธมิตรกับ LanzaTech เป็นหนึ่งในหลาย ๆ วิธีที่ lululemon มุ่งเน้น จากการนำเทคโนโลยีใหม่ๆ มาสู่ธุรกิจ
“เราทราบดีว่านวัตกรรมที่ยั่งยืนจะมีบทบาทสำคัญในอนาคตของการค้าปลีกและเครื่องแต่งกาย และรู้สึกตื่นเต้นที่ได้เป็นผู้นำด้านเทคโนโลยีที่เป็นนวัตกรรม” Ted Dgnese ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายซัพพลายเชนของ lululemon กล่าว “การเป็นพันธมิตรกับ LanzaTech จะช่วยให้ lululemon บรรลุเป้าหมายที่ตั้ง Impact Agenda ไว้ เพื่อให้ผลิตภัณฑ์ทั้ง 100 % ของเราผลิตด้วยวัสดุที่ยั่งยืน และโซลูชันแบบใช้แล้วทิ้ง ซึ่งจะนำพาเราไปสู่ระบบนิเวศน์แบบ Circular ภายในปี 2573”
โลกธุรกิจให้ความสำคัญกับการพัฒนาโซลูชันลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ซึ่งสำคัญอย่างยิ่งต่อการทำให้แน่ใจถึงการดำรงชีวิต และการเติบโตไม่หยุดยั้งของมนุษยชาติ ทำให้เกิดความร่วมมือ กระบวนการ และผลิตภัณฑ์ที่เป็นนวัตกรรมใหม่ๆ มากขึ้นเรื่อยๆ รวมถึงเครื่องประดับแฟชั่นที่ขจัดคาร์บอนซึ่งมีวางจำหน่ายแล้วจากแบรนด์ Covalent ของ Newlight Technologies และ Tide ผลิตภัณฑ์ Footprint ต่ำ เป็นต้น
ทั้งนี้ LanzaTech พร้อมที่จะเป็นผู้เล่นหลักดำเนินการเรื่องนี้ โดยนำเทคโนโลยีการดักจับและรีไซเคิลคาร์บอนมาสู่สายการบิน บริษัทดูแลบ้าน บริษัทน้ำหอม และตอนนี้คือการผลิตสิ่งทอ
การปล่อยมลพิษทางอุตสาหกรรม เช่น จากโรงงานเหล็ก จะถูกเผาไหม้และปล่อยออกมาเป็นกาซเรือนกระจก และการปล่อยอนุภาคที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพของโลกและชุมชน การดักจับและนำคาร์บอนกลับมาใช้ใหม่เพื่อทำเส้นด้าย เสื้อผ้าสำเร็จรูป ไม่เพียงแต่ทำให้การปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ลดลงเท่านั้น แต่ยังช่วยให้มั่นใจว่าระดับมลพิษในชุมชนจะลดลงอีกด้วย
เมื่อสิ่งทอที่ทำจากสารเคมีเหล่านี้หมดอายุการใช้งาน ก็ยังสามารถทำให้เป็นแก๊สและหมักได้โดยกระบวนการของ LanzaTech ในแง่ดังกล่าว เรื่องนี้ส่งเสริมการทำ Circular โดยให้คาร์บอนยังคงอยู่ในวัฏจักรของการเป็นวัตถุดิบ
“นับจากการริเริ่มเชื่อมโยงจัดตั้งบริษัทร่วมทุนของ LanzaTech กับโรงงานนำร่องในไต้หวัน ดิฉันเชื่อว่าการก่อตัวของโพลีเอสเตอร์ที่ใช้ก๊าซใช้แล้วนี้จะเป็นทางออกที่ยั่งยืนสำหรับอุตสาหกรรมโพลีเอสเตอร์” Dr. Fanny Liao, EVP of RD & BD ของ FENC กล่าว “เรายินดีที่จะร่วมมือกับ IGL และ lululemon เพื่อทำให้ซัพพลายเชนของโครงการประวัติศาสตร์นี้เสร็จสมบูรณ์ และยังคงทำงานร่วมกับ LanzaTech ต่อไป มุ่งสู่เป้าหมายร่วมกันของเรา เพื่อสร้างโลกที่ดีกว่า”
ที่มา