9 กันยายน 2563…เดินหน้าสร้าง Engagement อย่างต่อเนื่อง โดย “เอไอเอส E-Waste ทิ้งรับพอยท์” ต้องการขอบคุณคนไทยที่ร่วมเป็นส่วนหนึ่งในภารกิจเพื่อสิ่งแวดล้อมครั้งสำคัญ “คนไทยไร้ E-Waste” หวังให้การคำนึงถึงสิ่งแวดล้อมในการกำจัดขยะอิเล็กทรอนิกส์ทิ้งอย่างถูกวิธี จะกลายเป็นไลฟ์สไตล์ เมื่อถึงเวลาต้องทิ้ง E-Waste ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งจะช่วยลด Climate Change ข้อกังวลของโลก
สมชัย เลิศสุทธิวงค์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือ เอไอเอสกล่าวถึงในฐานะ Digital Life Service Provider ที่นอกจากจะมุ่งมั่นสร้างสรรค์บริการที่ตอบโจทย์ทุกไลฟ์สไตล์ของผู้บริโภคทุก เจเนอเรชันแล้ว ในเรื่องสังคม และสิ่งแวดล้อมก็ต้องตอบโจทย์นี้
“เอไอเอสในฐานะ Corporate Citizen เราได้เห็นสิ่งที่เชื่อมโยงกับธุรกิจของเรามากคือ ขยะอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งทั้งโลกมีขยะประเภทนี้จำนวนมากประมาณ 54 ล้านเมตริกตันและกว่าครึ่งอยู่ในทวีปเอเชีย โดยเฉพาะเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ประชากรใช้เครื่องอิเล็กทรอนิกส์จำนวนมากตามความต้องการในยุคของ Digitalization แต่ทิ้งและกำจัดอย่างถูกวิธีเพียง 17%ซึ่งจะไม่สร้างปัญหาให้สิ่งแวดล้อมและคนที่จะอยู่บนโลกต่อไป ส่วนที่เป็นปัญหาคืออีกประมาณ 83%ขยะดังกล่าวจะทิ้งกันอย่างไม่ถูกวิธี เพราะจะไปเป็นขยะฝังกลบที่ดิน ทำให้ดินและน้ำมีสารพิษที่มาจากขยะ สร้างปัญหาต่อสิ่งแวดล้อม สุขภาพของคนในระยะยาว”
นัฐิยา พัวพงศกร หัวหน้าแผนกงานพัฒนาธุรกิจอย่างยั่งยืน เอไอเอส กล่าวถึงในฐานะบริษัทจดทะเบียน กลยุทธ์การดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืน 3 ด้านคือ เศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม ซึ่งเอไอเอสทำงานอย่างต่อเนื่องทั้ง 3 เรื่อง สำหรับเรื่องสิ่งแวดล้อมสิ่งที่โฟกัสคือเรื่อง Emission การปล่อยมลพิษในชั้นบรรยากาศ และการกำจัดขยะอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งจากตัวเลขสถานการณ์ขยะอิเล็กทรอนิกส์ข้างต้น เอไอเอสมีความมุ่งมั่นบริหารจัดการโดยแบ่งเป็น 3 ส่วนคือ E-Waste จากผู้ใช้มือถือ จาก Office Waste และจาก Network โครงข่ายเอไอเอสเอง ต้องนำขยะอิเล็กทรอนิกส์เหล่านี้กลับไปรีไซเคิลอย่างถูกวิธี
“เอไอเอส เป็นแกนกลางผู้ส่งบริการดิจิทัลให้ผู้บริโภคทุกคนใช้มือถือ ซึ่งซื้อผ่านผู้ให้บริการอย่างเอไอเอส เพราะฉะนั้นเราต้องรับของที่ผู้บริโภคไม่ใช้แล้วคืนกลับ โดยชักชวนให้นำมาทิ้งอย่างถูกวิธีกับe โครงการ “คนไทยไร้ E-Waste” เพื่อส่งเข้าสู่กระบวนการกำจัดอย่างไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม แต่ปัญหาที่เราพบคือคนจำนวนไม่น้อยเก็บมือถือ/แท็บเล็ต, แบตเตอรี่มือถือ, สายชาร์จ, หูฟัง และพาวเวอร์แบงก์ ที่ใช้งานไม่ได้แล้วไว้ที่บ้าน หากมีรถรับซื้อของเก่าเข้ามาก็ขายออกไป ดังนั้นการร่วมมือกับพันธมิตร ภาคีเครือข่ายต่างๆ เพื่อขยายจุดรับ E-Waste ให้ได้มากที่สุด จึงเป็นสิ่งที่เราเร่งดำเนินงาน พร้อมทั้งการสื่อสารรูปแบบต่าง ๆ อย่างต่อเนื่องกระตุ้นการทิ้ง E-Waste บอกเล่าถึงผลเสีย ปลายทางหากทิ้งไม่ถูกที่”
นับจากนี้ไปอีก 2 เดือน เอไอเอสมีความตั้งใจ Encourage เรื่องของ E-Waste อย่างจริงจัง ไม่ต่างจากการทำธุรกิจขายสินค้าใหม่ของเอไอเอส ที่จะมีแคมเปญอย่างต่อเนื่อง โดยครั้งนี้เป็น “เอไอเอส E-Waste ทิ้งรับพอยท์” เพื่อสร้างการมีส่วนร่วมดูแลสิ่งแวดล้อมและขอบคุณกลุ่มลูกค้ากว่า 41 ล้านราย เปลี่ยนทุกการทิ้งขยะอิเล็กทรอนิกส์ให้เป็นคะแนน AIS Points ด้วยขั้นตอนง่ายๆ
พร้อมกันนี้ ยังเน้นให้ความรู้การทิ้งขยะ E-Waste อย่างถูกวิธี เพื่อความปลอดภัยตามหลักสากล ใน 3 ขั้นตอน
นัฐิยา กล่าวต่อเนื่องว่า แคมเปญ “เอไอเอส E-Waste ทิ้งรับพอยท์” ที่เอไอเอสช้อป เข้ามาสร้าง Engagement เพิ่มเติมจากสิ่งดำเนินการอยู่แล้ว ที่มีความสนุกท้าทายเล็ก ๆ เมื่อเอไอเอส ผนึก 13 องค์กรชั้นนำบนถนนเส้นพหลโยธิน เครือข่าย “กรีนพหลโยธิน” ทำภารกิจครั้งสำคัญเพื่อสิ่งแวดล้อมไทย “E-Waste The Battle ถ้ารักษ์จริง…มาทิ้งแข่งกัน” ถือเป็นกิจกรรมการสื่อสารที่มีกระตุ้นเตือนเป็นระยะ ๆ เสริมในที่สิ่งที่ปัจจุบันโครงการ คนไทยไร้ E-Waste มีภาคีเครือข่ายทั่วประเทศรวมกว่า 52 องค์กร ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชน ที่จะร่วมสร้างการตระหนักรู้ สร้างความเข้าใจที่ถูกต้อง และเป็นจุดยุทธศาสตร์ในการรับทิ้ง E-Waste ซึ่งมีอยู่รวมกันกว่า 2,000 จุดทั่วประเทศ เป็นการช่วยเปลี่ยนพฤติกรรมเมื่อจะต้องทิ้ง E-Waste และช่วยสร้างไลฟ์สไตล์การคำนึงถึงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมเมื่อทิ้งขยะ
นัฐิยาขยายความต่อเนื่อง ในปี 2563-2573 UN คาดหวังว่า ภาคธุรกิจจะนำเรื่อง Climate Change เข้ามาหลอมรวมในนโยบายของธุรกิจ ขณะเดียวกันนักลงทุนสถาบันเองก็ให้ความสนใจลงทุนในบริษัทที่ดำเนินการเรื่องนี้ตามรายงาน โดยจับต้องและวัดผลได้ ซึ่ง E-Waste ก็เป็นเรื่องหนึ่งที่เอไอเอสดำเนินการตั้งแต่ปี 2559 จนถึงปัจจุบัน เอไอเอส สามารถนำขยะอิเล็กทรอนิกส์ที่เกิดจากโครงข่ายและการดำเนินธุรกิจ รวมไปถึงการรับจากคนไทยทั่วประเทศ ไปกำจัดอย่างถูกวิธี ผ่านกระบวนการที่ได้รับมาตรฐานระดับโลกรวมทั้งสิ้นกว่า 710 ตัน
“ขอเป็นตัวแทนชาวเอไอเอส เชิญชวนทุกท่านมาร่วมปฏิบัติภารกิจเพื่อสิ่งแวดล้อมครั้งสำคัญ โดยการนำขยะอิเล็กทรอนิกส์ ไม่ว่าจะเป็นโทรศัพท์มือถือ แท็บเล็ต แบตเตอรี่มือถือ สายชาร์จ หูฟัง หรือพาวเวอร์แบงก์ มาร่วมกำจัดกับเราได้กว่า 2,000 จุดทั่วประเทศ” สมชัย กล่าวในท้ายที่สุด
เพิ่มเติมเกี่ยวกับโครงการ คนไทยไร้ E-Waste ได้ที่ https://ewastethailand.com