6 มีนาคม 2567…วิศวกรในออสเตรเลียได้คิดค้นเทคนิคในการทําให้คอนกรีตแข็งแรงขึ้นเกือบ 30% โดยการผสมกับกากกาแฟเหลือทิ้งที่เปลี่ยนเป็นถ่านชีวภาพผ่านกระบวนการพลังงานต่ำที่เรียกว่าไพโรไลซิส เป็นการให้ความร้อนแก่ขยะอินทรีย์โดยไม่ใช้ออกซิเจน
“อุตสาหกรรมคอนกรีตมีศักยภาพที่จะมีส่วนสําคัญ เพิ่มอัตราการรีไซเคิลของวัสดุเหลือใช้นี้ อย่างไรก็ตาม เนื่องจากมีสารอินทรีย์สูง ไม่เหมาะที่จะใช้โดยตรงในคอนกรีตโครงสร้าง” นักวิทยาศาสตร์ให้ข้อมูลการศึกษาของพวกเขา
กากกาแฟใช้แล้วไพโรไลซิงที่อุณหภูมิ 350°C นําไปสู่ การปรับปรุงคุณสมบัติของวัสดุอย่างมีนัยสําคัญ ส่งผลให้กําลังรับแรงอัดของคอนกรีตคอมโพสิตผสมกับถ่านชีวภาพ ซึ่งผลิตจากกากกาแฟเพิ่มขึ้น 29.3%
ถ่านชีวภาพ ซึ่งผลิตจากกากกาแฟ ใช้วิธีใหม่ เพื่อทดแทนทรายสําหรับทําคอนกรีต เทคนิคนี้หากขยายออกไปใช้ในวงกว้างอาจส่งผลดีต่อสิ่งแวดล้อม เพราะสามารถลดปริมาณทรายธรรมชาติที่ใช้ในโครงการก่อสร้างซึ่งปัจจุบันอยู่ที่ 50,000 ล้านตันทั่วโลกทุกปี
ศาสตราจารย์ Jie Li ผู้นําการวิจัยกล่าวว่า การสกัดทรายธรรมชาติอย่างต่อเนื่องทั่วโลก ซึ่งโดยทั่วไปนํามาจากก้นแม่น้ําและริมฝั่ง เพื่อตอบสนองความต้องการที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วของอุตสาหกรรมการก่อสร้างมีผลกระทบอย่างมากต่อ สิ่งแวดล้อม
ศาสตราจารย์ Jie Li เสริมอีกว่า การรักษาอุปทานทรายอย่างยั่งยืน มีความท้าทายอย่างมาก เนื่องจากทรัพยากรมีจํากัด รวมถึงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมจากการทําเหมืองทราย
“ด้วยแนวทางเศรษฐกิจหมุนเวียน เราสามารถลดการนำขยะอินทรีย์ไปฝังกลบ และรักษา ทรัพยากรธรรมชาติของเราเช่นทรายให้ดีขึ้น”
ดังนั้น การแทนที่ทรายด้วยถ่านชีวภาพจากกากกาแฟใช้แล้วไม่เพียงแต่ทำให้คอนกรีตแข็งแรงเท่านั้นแต่ยังช่วยสิ่งแวดล้อมและลดของเสียในเวลาเดียวกัน แต่ละปีมีกากกาแฟ 10,000 ล้านกิโลกรัม ออสเตรเลียเพียงประเทศเดียวผลิตได้ 75 ล้านกิโลกรัม กากกาแฟซึ่งเป็นขยะอินทรีย์ส่วนใหญ่จบลงด้วยการฝังกลบ
อย่างไรก็ตาม Shannon Kilmartin-Lynch นักวิจัยปริญญาเอกที่ RMIT University ในเมลเบิร์น ย้ำว่า การวิจัยยังอยู่ในช่วงเริ่มต้น แต่ข้อดีคือการค้นพบที่น่าตื่นเต้น เหล่านี้นําเสนอวิธีการใหม่ในการลดปริมาณขยะอินทรีย์ที่นําไปฝังกลบอย่างมาก
ที่มา