2 กรกฎาคม 2563…เอไอเอส เดินหน้าปฏิบัติการเพื่อสิ่งแวดล้อม บอกต่อการทิ้งขยะอิเล็กทรอนิกส์อย่างถูกวิธี ขยายจุดรับทิ้งขยะ E-Waste ไปวางที่สำนักงานของบริษัทต่างๆ
นัฐิยา พัวพงศกร หัวหน้าแผนกงานพัฒนาธุรกิจอย่างยั่งยืน เอไอเอส และพิมพรรณ ดิสกุล ณ อยุธยา ผู้อำนวยการเครือข่ายเพื่อความยั่งยืนแห่งประเทศไทย ร่วมกันกล่าวถึงความร่วมมือในครั้งนี้ พร้อมกับกลุ่มบริษัทจดทะเบียน ภายใต้การกำกับดูแลของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ทั้ง 9 องค์กร สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์,บางกอกแอร์เวย์ส, ไทยออพติคอล, อีสท์ วอเตอร์, การบินไทย, ยูนีซัน, เอสซี แอสเสท, ธนาคารกรุงศรีอยุธยา และ สิงห์ เอสเตท ดึงพลังจากพนักงานคนรุ่นใหม่ในองค์กรกว่า 20,000 คน ร่วมรณรงค์และบอกต่อการทิ้งขยะอิเล็กทรอนิกส์อย่างถูกวิธี ให้แพร่หลายไปยังครอบครัวและคนรอบข้าง
“ในฐานะ Digital Life Service Provider ที่มุ่งมั่นสร้างสรรค์ Digital Infrastructure เพื่อคนไทย เราให้ความสำคัญในการดำเนินธุรกิจแบบเติบโตไปพร้อมกันทุกภาคส่วน โดยเฉพาะในประเด็นของสิ่งแวดล้อม ที่เราตระหนักถึงและมีนโยบายในการร่วมดูแลรักษา ฟื้นฟู ในช่วงต้นปีที่ผ่านมาเราได้สานต่อภารกิจเพื่อสิ่งแวดล้อม โดยขยายผลแคมเปญใหญ่ “คนไทยไร้ E-Waste” จับมือกับพันธมิตรทุกภาคส่วนทั่วประเทศ เพื่อสร้างการตระหนักรู้เรื่องภัยอันตรายที่แฝงมากับขยะอิเล็กทรอนิกส์ พร้อมขยายจุดรับทิ้งขยะทั่วประเทศ อำนวยความสะดวกให้คนไทยสามารถเข้าถึงจุดรับทิ้งขยะ E-Waste ได้ง่าย ใกล้บ้านคุณ”
สำหรับ TRBN มีเป้าหมายสำคัญในการขับเคลื่อนให้บริษัทเอกชนไทย คำนึงถึงปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อมและสังคม รวมถึงการมีธรรมาภิบาลที่ดีในการดำเนินธุรกิจหรือเป็นส่วนหนึ่งของแผนธุรกิจ เพราะการที่บริษัทต่างๆ เข้าใจว่าบริษัทตนเองเกี่ยวข้องกับประเด็นด้านสิ่งแวดล้อม สังคม ธรรมาภิบาลอย่างไรนั้น จะทำให้บริษัทรู้จักการบริหารจัดการความเสี่ยง และสร้างภูมิคุ้มกันที่ดีในการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืน ในขณะเดียวกันก็ร่วมสร้างคุณค่าให้กับสังคมไปพร้อมกันด้วย และสิ่งเหล่านี้คือพันธกิจของ TRBN
พิมพรรณกล่าวถึงอีกหนึ่งพันธกิจสำคัญของเครือข่ายคือ การสร้างแพลตฟอร์ม หรือ ความร่วมมือของธุรกิจต่างๆ ที่อยากให้บริษัทตนเองมีส่วนในการสร้างสิ่งความเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นในสังคม ซึ่งประเด็นด้านสิ่งแวดล้อมเป็นเรื่องที่สำคัญมากในการดำรงชีวิตและในการดำเนินธุรกิจ ผลกระทบค่อนข้างชัดเจนและหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่เราจะต้องพึ่งพาหรือสร้างผลกระทบให้สิ่งแวดล้อม
“สิ่งที่ เอไอเอสทำอยู่นี้เป็นเรื่องที่น่าสนใจมาก เป็นสิ่งที่ช่วยได้มาก และคิดว่าเป็นเรื่องที่คนไทยส่วนใหญ่ยังไม่รู้ยังไม่เข้าใจ ซึ่งเอไอเอสไม่ได้ทำคนเดียว มีการร่วมมือกับพาร์ทเนอร์ บริษัทเอกชนและหน่วยงานราชการลุกขึ้นมาเก็บคืนเรียกคืน โดยใช้เครือข่ายร่วมกันทำมันก็จะกระจายความตระหนักตรงนี้ออกไปและที่สำคัญคือทำให้ง่ายต่อการเข้าถึง ง่ายต่อการมีส่วนร่วม และถ้าทุกคนช่วยกันบอกต่อให้ทุกคนเข้าใจว่ามันคือภัยเงียบ คือภัยใกล้ตัวที่เราส่วนมากมักจะมองข้าม”
ขยะอิเล็กทรอนิกส์ (E-Waste) ใน “คนไทยไร้ E-Waste” มุ่งเน้นมีทั้งหมด 5 ประเภท ได้แก่ โทรศัพท์มือถือ/แท็บเล็ต, แบตเตอรี่มือถือ, พาวเวอร์แบงก์, สายชาร์จ หูฟัง และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ขนาดเล็ก อาทิ กล้องถ่ายรูป เครื่องเล่น MP3 โดยขยะ E-Waste ทั้งหมดที่เข้าสู่โครงการจะถูกรวบรวมและนำไปกำจัดแบบถูกวิธีด้วยกระบวนการ Zero Landfilled
ปัจจุบัน “คนไทยไร้ E-Waste” มีจุดรับทิ้งขยะ E-waste รวมทั้งสิ้น 1,806 จุด อาทิ ที่ทำการไปรษณีย์ 160 แห่ง, AIS Shop จำนวน 136 สาขาทั่วประเทศ, AIS Telewiz, ศูนย์การค้าเครือเซ็นทรัล 34 แห่ง, มหาวิทยาลัยต่างๆ และอาคารชุด คอนโด ในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานครและหัวเมืองใหญ่ทั่วประเทศ
ถ้าจะติดตามว่า E-Waste ตามความนิยามข้างต้นมีจำนวนเท่าไหร่แล้ว คลิกที่ “คนไทยไร้ E-Waste”