CIRCULAR ECONOMY

กล้วยเกษตรแปรรูป กลายเป็นบรรจุภัณฑ์พลาสติกชีวภาพ

14-15 ธันวาคม 2562…แม้พืชทุกชนิดจะมีศักยภาพในการเป็นแหล่งนาโนเซลลูโลส แต่ปริมาณเซลลูโลสที่สูงของกล้วยทำให้มีความเหมาะสมกว่าพืชชนิดอื่น ๆ พร้อมกับความจริงที่ว่า มีการปลูกกล้วยต้นใหม่ ๆ เพิ่มทุกปี

กล้วยจำนวนมากที่เราซื้อจากร้านค้านั้นได้งอกออกมาจากโครงสร้างของลำต้นที่เรียกว่า ลำต้นเทียม (Pseudostem)*1 และโดยทั่วไป ขณะที่ส่วนหนึ่งของกล้วยถูกทิ้งในระหว่างการเก็บเกี่ยว ในไม่ช้าอาจพบว่าลำต้นเทียมสามารถใช้งานได้ไม่ต่างจากพลาสติกย่อยสลายได้ทางชีวภาพ และนำกลับมารีไซเคิลได้สมบูรณ์เต็มร้อย

ข้อมูลของมหาวิทยาลัยนิวเซาธ์เวลส์ของออสเตรเลีย (UNSW) ระบุว่า การปลูกกล้วยเป็นรูปแบบเกษตรกรรมที่สิ้นเปลืองอย่างยิ่ง โดยมีเพียง 12 % ของกล้วยเท่านั้น ที่ถูกนำมาใช้ประโยชน์ ซึ่งลำต้นเทียมเป็นหนึ่งในจำนวนนั้น โดยมันสามารถนำไปใช้ในกระบวนการทำปุ๋ยหมักหรือใช้ในการผลิตสิ่งทอ ถ้าไม่อย่างนั้นก็จะถูกโยนทิ้งไป

เพื่อที่จะสร้างคุณค่าใหม่ให้กับของเหลือทิ้งเหล่านั้น ทีมของ UNSW นำโดยผู้ช่วยศาสตราจารย์ Jayashree Arcot และศาสตราจารย์ Martina Stenzel ได้ร่วมกันพัฒนาและสร้างกระบวนการรีไซเคิลแบบใหม่ขึ้น

ภาพบน ….Associate Professor Jayashree Arcot, Professor Martina Stenzel and researcher Kehao Huang in the lab. Pictures: Richard Freeman/UNSW และภาพล่าง…ตัวอย่างพลาสติกกล้วยนาโนเซลลูโลส มหาวิทยาลัยนิวเซาธ์เวลส์ของออสเตรเลีย

มันเริ่มต้นจากการนำลำต้นเทียมมาสับเป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อย ต่อมา นำชิ้นส่วนเหล่านั้นไปอบในเตาอบที่อุณหภูมิต่ำจากนั้นนำไปบดเป็นผงละเอียด ผงดังกล่าวจะถูกชำระล้าง ผ่านสารเคมีเจือจาง ขั้นตอนนี้แยกวัสดุที่เรียกว่า Nanocellulose คือ เส้นใยเซลลูโลสเล็ก ๆ จากส่วนที่เหลือของผงออกมา ซึ่ง Nanocellulose นี่เอง ที่เอามาเคลือบแผ่นพลาสติก

ผลิตภัณฑ์สำเร็จรูปที่ได้มานี้ มีความคงเส้นคงวา ไม่ต่างจากกระดาษรองที่ใช้อบขนม และอาจนำไปใช้ในผลิตภัณฑ์ เช่น ถุงช้อปปิ้ง และบรรจุภัณฑ์อาหารได้ด้วย ยิ่งกว่านั้น มันสามารถนำมารีไซเคิลได้สมบูรณ์เต็มร้อยถึง 3 ครั้งโดยไม่สูญเสียคุณภาพใด ๆ และเมื่อทิ้งฝังดินก็จะย่อยสลายไปเอง นอกจากนี้การทดสอบในห้องปฏิบัติการระบุว่าวัสดุดังกล่าวไม่ได้เป็นสารพิษสะสมในอาหารแต่อย่างใด

ปัจจุบัน บรรดานักวิทยาศาสตร์กำลังมองหาพันธมิตรในอุตสาหกรรมที่สนใจลงทุนกับกระบวนการนี้ เพื่อให้การผลิตเป็นเชิงพาณิชย์ได้ และทำให้คุ้มค่าที่สุด

เพิ่มเติม *1 กล้วยมีลำต้นอยู่ใต้ดินเรียกว่า หัว หรือเหง้า (Rhizome) ที่หัวมีตา (Bud) ซึ่งจะเจริญ เป็นต้น เกิดหน่อ (Sucker) หลายหน่อเรียกว่า การแตกกอ หน่อที่เกิดหรือต้นที่เห็นอยู่เหนือดิน ความจริงมิใช่ลำต้น เรียกว่า ลำต้นเทียม (Pseudostem) ส่วนนี้เกิดจากการอัดกันแน่นของกาบใบที่เกิดจากจุดเจริญของลำต้นใต้ดิน กาบใบจะชูก้านใบและใบ และที่จุดเจริญนี้มีการเจริญเป็นดอกตามขึ้นมาหลังจากสิ้นสุด (ข้อมูลจาก banana story,bananas51.wordpress.com)

ที่มา

You Might Also Like