CIRCULAR ECONOMY

แพลตฟอร์ม ชุมชน Circular ของ Carlsberg

5 กันยายน 2562…สำหรับกลุ่มโรงเบียร์เดนมาร์ก Carlsberg การรีไซเคิลและลดการใช้บรรจุภัณฑ์มีความสำคัญมากขึ้นเรื่อย ๆ เนื่องจากทรัพยากรหรือวัตถุดิบกลายเป็นสิ่งที่หายาก และราคาวัตถุดิบก็สูงขึ้น แต่ยักษ์ใหญ่ระดับโลกรายนี้ก็ไม่สามารถทำได้ด้วยตัวคนเดียว

Carlsberg ขายเบียร์และน้ำอัดลมประมาณ 36 พันล้านขวดต่อปี บรรจุภัณฑ์ เช่น ขวดแก้ว ขวดพลาสติก กระป๋องอลูมิเนียม ถัง กล่องใส่การ์ดและลัง รวมกันปล่อย CO2 ประมาณ 45% เทียบกับที่ปล่อยไปทั้งหมดของบริษัท นี่เป็นเหตุผลที่ดีที่จะให้ความสำคัญกับจุดนี้ อีกด้านหนึ่ง แรงกดดันด้านกฎระเบียบที่เพิ่มขึ้นเพื่อลดของเสีย และเพิ่มการรีไซเคิลก็เป็นแรงบันดาลใจให้ดำเนินการเชิงรุกในเรื่องนี้ด้วยเหมือนกัน

ในระยะสั้น บริษัทตระหนักว่าเพื่อที่จะขายสินค้าให้แก่ผู้บริโภค รวมถึงนำเสนอราคาที่สมเหตุสมผล ในอนาคตพวกเขาจำเป็นต้องมุ่งเน้นการทำให้บรรจุภัณฑ์ยั่งยืนมากขึ้น โดยการนำ Circular Economy มาใช้ รวมทั้งการคิดใหม่ทำใหม่เรื่องวัตถุดิบที่ใช้ทำบรรจุภัณฑ์

ด้วยเหตุนี้ บริษัทจึงก่อตั้ง Carlsberg Circular Community ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มการทำงานร่วมกันขึ้น โดย Carlsberg ร่วมมือกับพันธมิตรที่แตกต่างหลากหลาย เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพวัสดุบรรจุภัณฑ์สำหรับการใช้ซ้ำและรีไซเคิล เพื่อรักษาคุณค่าของวัสดุ

ในขั้นต้น ซัพพลายเออร์ 6 รายได้เข้าร่วมโครงการระดับ Global ขณะที่คู่ค้ารายอื่นมีส่วนร่วมในระดับท้องถิ่น เช่น เทสโก้ ซึ่งทำงานร่วมกับ Carlsberg ในโปแลนด์ เพิ่มความตระหนักเรื่องรีไซเคิลมากขึ้น

ไม่ดีแน่ ถ้าคุณทำจะเรื่อง Circular คนเดียว

กรอบการออกแบบ จากเบ้าหลอมหนึ่งสู่อีกเบ้าหลอมหนึ่ง หรือ  Cradle-to-cradle  คือปรัชญาเบื้องหลังโครงการ นี่หมายถึงการมองว่า บรรจุภัณฑ์เป็นสิ่งที่ควรปรับให้เหมาะสมสำหรับวงจรทางชีววิทยา หรือทางเทคนิค จากนั้นกลับเข้าสู่วงจรในฐานะทรัพยากรลักษณะเป็นวังวนไม่รู้จบ

เพื่อให้บรรลุปรัชญานี้ Circular Community ของ Carlsberg ให้ความสนใจการใช้บรรจุภัณฑ์ 4 ขั้นตอน – แต่ละขั้นตอนเหล่านี้ต้องการความร่วมมืออย่างใกล้ชิดระหว่างโรงเบียร์ Stakeholder ทุกฝ่าย ซึ่งรวมถึงฝ่ายผลิต ฝ่ายขาย และการบริโภคเบียร์  เป็นไปตามที่ Anne-Marie Skov รองประธานอาวุโสฝ่ายกิจการองค์กรกล่าวว่า

“ เราไม่สามารถทำสิ่งนี้ได้เพียงลำพัง เราต้องการพันธมิตร และการแบ่งปันความรู้ เพื่อค้นหาวิธีแก้ไขปัญหาในอนาคต ลดการพึ่งพาวัตถุดิบหลัก”
ขั้นตอนที่ 1: ปรับวัตถุดิบขาเข้า (Input) ให้เหมาะสม

ขั้นตอนแรกคือการตรวจสอบ Input ของวัตถุดิบ Carlsberg ได้ว่าจ้าง EPEA องค์กรวิทยาศาสตร์ที่มีชื่อเสียงของเยอรมันในการทำการวิเคราะห์ทางเคมี ซึ่งนำโดย Michael Braungart หนึ่งในผู้ก่อตั้งดั้งเดิม ผู้คิดค้นแนวคิด Cradle-to-Cradle

EPEA วิเคราะห์องค์ประกอบวัสดุของบรรจุภัณฑ์จนถึง 100 ชิ้นส่วนต่อล้านส่วน เพื่อระบุวัสดุที่เป็นอันตรายหรืออาจกลายเป็นปัญหาในภายหลังเมื่อวัสดุถูกนำมาใช้ซ้ำ จากนั้นซัพพลายเออร์จะทำงานเรื่องการเปลี่ยนหรือถอดวัสดุเหล่านั้นออก

Simon Hoffmeyer Boas ผู้ซึ่งกำลังทำงานเกี่ยวกับบรรจุภัณฑ์ที่ยั่งยืนในกลุ่ม Carlsberg กล่าวว่า

“ การเพิ่มประสิทธิภาพของวัตถุดิบในขั้นแรก ก็คือ คุณต้องไม่ใช้สารซึ่งสามารถลดได้ในขั้นตอนต่อ ๆ มา”
ขั้นตอนที่ 2: มีส่วนร่วมกับผู้ค้าปลีก

ลูกค้าสำคัญที่สุดของ Carlsberg คือ ผู้ค้าปลีก เช่น ซูเปอร์มาร์เก็ตขนาดใหญ่ ในบางประเทศ เช่น ประเทศแถบสแกนดิเนเวีย และเยอรมนี มีระบบที่จัดตั้งขึ้นเป็นอย่างดี สำหรับการรวบรวมขวดและกระป๋องที่ใช้แล้ว อย่างไรก็ตามในประเทศอื่น ๆ ไม่มีโครงสร้างพื้นฐานสำหรับการรีไซเคิล

ในรัสเซีย ตลาดใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งของ Carlsberg มีเพียง 4% ของขยะที่นำกลับมาใช้ใหม่ ด้วยเหตุนี้ Carlsberg กำลังทำงานเพื่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานของเสียโดยการขายขวดแก้วแบบรีฟิล และมีส่วนร่วมกับคู่ค้าเพื่อให้สามารถแน่ใจว่ามีการรวบรวมขวด และนำกลับไปโรงเบียร์เพื่อรีฟิล

ขั้นตอนที่ 3: มีส่วนร่วมกับผู้บริโภค

ผู้บริโภคจำเป็นต้องมีส่วนร่วมเช่นกัน และความท้าทายที่นี่คือการเปลี่ยนวัฒนธรรมและพฤติกรรม ในโปแลนด์กับผู้ค้าปลีกรายใหญ่ เทสโก้ Carlsberg จัดแคมเปญคอลเล็กชั่นประจำปี ซึ่งผู้บริโภคได้รับการสนับสนุนให้นำบรรจุภัณฑ์ที่ใช้แล้วมาให้ แล้วได้รับของขวัญเล็กๆน้อยๆหรือสะสมแต้มสำหรับช็อปปิ้งกลับไป

Carlsberg ยังรณรงค์ในงานเทศกาลดนตรีขนาดใหญ่เป็นประจำ เพื่อพยายามเปลี่ยนทัศนคติของผู้บริโภคต่อการ รีไซเคิล สำหรับเรื่องนี้ได้ร่วมมือกับอุตสาหกรรมอลูมิเนียมผ่านความคิดริเริ่มที่ว่า “Every Can Counts” เพื่อสร้างโครงสร้างพื้นฐาน และแคมเปญภาพส่งเสริมให้ผู้บริโภคนำกระป๋องที่ใช้แล้วมาคืน Simon Hoffmeyer Boas กล่าวว่า

“ ถ้าคุณต้องการสอนให้คนหนุ่มสาวใส่ใจในบรรจุภัณฑ์แทนที่จะโยนมันลงในถังขยะ คุณต้องทำให้สนุก ด้วยการทำให้เป็นเกมและการแข่งขัน ยิ่งกว่านั้น ต้องง่ายในการ “ทำสิ่งที่ถูกต้อง” เราจะไม่เปลี่ยนพฤติกรรมโดยการเทศนาและโยน“ข้อมูลเกี่ยวกับการรีไซเคิล” ให้พวกเขา”
ขั้นตอนที่ 4: จุดจบ

ในที่สุด เมื่อบรรจุภัณฑ์ที่ใช้แล้วถูกรวบรวมมา วัสดุเหล่านั้นจำเป็นต้องนำกลับมาใช้ใหม่ หรือทำสิ่งที่เรียกว่า “up-cycled”

Up-cycling หมายถึงการแปลงวัสดุที่ใช้แล้วให้เป็นผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าเท่ากันหรือสูงกว่า – ตัวอย่างเช่นการใช้อลูมิเนียมรีไซเคิลเพื่อผลิตเป็นกระป๋องใบใหม่

Simon Hoffmeyer Boas อธิบายว่า เป้าหมายคือ การใช้ประโยชน์สูงสุดจากวัสดุ ในกรณีของขวดแก้ว พวกเขาสามารถทำความสะอาดและนำกลับมาใช้ใหม่ได้มากถึง 40 เท่า และตราบใดที่ยังคงใช้ขวดได้ ซึ่งเป็นวิธีที่ดีที่สุดในการนำวัสดุกลับมาใช้ใหม่

ในกรณีของอลูมิเนียม สามารถนำกลับมาใช้ใหม่เป็นกระป๋องได้ แต่สามารถใช้เป็นวัตถุดิบสำหรับจักรยานหรือส่วนประกอบในสะพานหรือวัสดุก่อสร้างอื่น ๆ ได้ สิ่งสำคัญคือวัสดุสามารถกู้คืนมาใช้ได้อีกครั้งทั้งๆที่เคยใช้งานไปแล้ว

ชุมชนเดียวกัน – แต่ทำสิ่งที่แตกต่าง

ความพยายามค้นหาคุณค่าที่ดีที่สุดออกมาให้ได้นั้น ทำให้ Carlsberg ได้ทำงานร่วมกับบริษัทที่ใช้บรรจุภัณฑ์เก่าๆ แม้ว่า บริษัทเหล่านั้นจะอยู่ในส่วนที่ไม่เกี่ยวข้องกับโรงเบียร์เลยก็ตาม

โครงการรีไซเคิลเป็นชุมชน ในแง่ที่ว่ามันเป็นความร่วมมือระหว่างกลุ่มบริษัท ที่มีความสนใจร่วมกันในการเพิ่มอัตราผลตอบแทนของการนำบรรจุภัณฑ์กลับมาใช้ใหม่ อย่างไรก็ตาม พวกเขาไม่สามารถเปลี่ยนเรื่องนี้ได้ด้วยตัวคนเดียว ในกรณีนี้ถูกขับเคลื่อน โดยผู้ขับเคลื่อนรายใหญ่ที่สุดชัดเจน ซึ่งก็คือ Carlsberg Circular Community

Carlsberg เป็นผู้เลือกพันธมิตร Carlsberg เป็นผู้จ้าง EPEA เพื่อวิเคราะห์วัสดุ ทั้งนี้ Simon Hoffmeyer Boas รู้สึกประหลาดใจอย่างมากกับความตั้งใจที่ซัพพลายเออร์ให้ความร่วมมืออย่างดีกับโครงการนี้ เขาเน้นว่า กระบวนการนี้ก่อตั้งขึ้นจากการสนทนาและการทำงานร่วมกัน:

“ เราไม่ได้ชี้นำว่าซัพพลายเออร์ควรทำอะไร และเราก็ไม่ได้ขู่ว่าจะหยุดซื้อของจากพวกเขาจนกว่าพวกเขาจะทำตามคำแนะนำด้วย มันเป็นเรื่องของพันธมิตรล้วนๆ และพันธมิตรของเราก็ควรเห็นคุณค่าการเปลี่ยนแปลงที่มีส่วนร่วมในการทำให้เกิดขึ้นด้วยตัวเอง”

ประโยชน์ทางอ้อม

Carlsberg Circular Community มีประโยชน์ในระยะยาว ซัพพลายเออร์สามารถได้รับประโยชน์หากพวกเขาเปลี่ยนวัสดุที่เป็นอันตรายและมีราคาแพงด้วยวัสดุที่อ่อนโยนและราคาถูกกว่า นอกจากนี้โดยการปรับเปลี่ยนวัสดุ เมื่อซัพพลายเออร์แก้ไขผลิตภัณฑ์ของพวกเขาให้แข่งขันได้ดีกว่าเดิม ทำให้มีแนวโน้มว่าในปีต่อ ๆ ไป Carlsberg จะซื้อของจากพวกเขามากขึ้นเรื่อยๆ – เช่นเดียวกับลูกค้ารายอื่นๆ

คุณต้องยอมรับว่า นี่เป็นโครงการที่ให้ผลตอบแทนยาวนานกว่า Simon Hoffmeyer Boas กล่าว

“ สำหรับ Carlsberg มันเป็นส่วนหนึ่งของการรับรู้ว่า ธุรกิจมีมาตรวัดความสำเร็จมากมายที่มากกว่าวัดจากตัวเงินเพียงอย่างเดียว สำหรับแบรนด์ที่แข็งแกร่ง วิธีการใหม่ในการดึงดูดผู้บริโภค การเปลี่ยนแปลงที่มีวิสัยทัศน์ต่อโลกนั้นมีคุณค่าในตัวของมันเองและต่อพวกเขาด้วย”

กระนั้น Hoffmeyer Boas ยังคงยืนยันว่าเหตุผลแรก ๆ ที่ Carlsberg ขับเคลื่อน Circular Community ก็คือ การที่ผู้บริหารของ บริษัทเชื่อว่า เรื่องนี้จะสร้างความแข็งแกร่งให้ธุรกิจในระยะยาว

“ เราเชื่อว่า ถ้าไม่ทำเช่นนี้เราจะขายเบียร์ได้น้อยลงในช่วง 5-10 ปีข้างหน้า เพราะค่าใช้จ่ายจะสูงขึ้นมาก เนื่องจาก Input ที่เพิ่มขึ้น และผลกระทบจากกฎระเบียบต่างๆ”

บทสรุป

การทำธุรกิจแบบ Circular คุณต้องเชื่อมโยงกับซัพพลายเออร์ ลูกค้าและผู้บริโภค – และแม้แต่กับบริษัทในภาคธุรกิจที่แตกต่างกันโดยสิ้นเชิง

ประโยชน์ของการสร้างห่วงโซ่คุณค่าซึ่งยั่งยืน และอยู่บนพื้นฐานของวัสดุที่ยั่งยืน เป็นเรื่องระยะยาว และประโยชน์ของการลงทุนใดๆที่จับต้องได้ (ต้นทุนที่จะต่ำกว่าเดิม) และจับต้องไม่ได้ (ภาพลักษณ์ที่ดีกว่าเดิม)

แม้ว่าโครงการดังกล่าวจะถูกผลักดันเพื่อทำกำไรเป็นหลัก แต่คุณค่าอื่น ๆ เช่น แบรนด์ ความสัมพันธ์กับผู้บริโภค และการเป็นพลเมืองดีของบริษัท ก็เป็นส่วนหนึ่งของสมการนี้เช่นกัน

ประเด็นที่ Carlsberg และพันธมิตรกำลังดำเนินการอยู่นั้น เป็นหลักการเดียวกันในอุตสาหกรรมอื่น ๆ ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมใด ๆ ที่มีห่วงโซ่คุณค่าที่ซับซ้อน ในปัจจุบัน มักจะเป็นเส้นตรงในแง่ที่ว่า วัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตวัตถุถูกทิ้งในที่สุด การทำธุรกิจแบบ Circular ครบวงจรต้องการความร่วมมือจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทั้งหมดตลอดทั้ง Value Chain

แม้ธุรกิจหลักของ Carlsberg คือการผลิตและจำหน่ายเครื่องดื่ม เพื่อทำใน Global แต่ปัจจุบัน ด้วยระบบเศรษฐกิจที่ขาดแคลนทรัพยากรมากขึ้น บริษัทเองก็จำเป็นต้องปรับให้เหมาะสม และจัดการวงจรชีวิตทั้งหมดของผลิตภัณฑ์ ตั้งแต่ต้นน้ำจนถึงปลายน้ำให้สมบูรณ์แบบ

Cr.เรื่อง/ภาพ

 

 

You Might Also Like