5 กุมภาพันธ์ 2564…ใครที่มุ่งเน้นไปตรงนี้ได้ มีความรวดเร็ว และความสามารถในการตอบโจทย์ลูกค้าใน “ราคาที่ไม่แพง” ทุกBUของเอสซีจี +SCGP มุ่งตรงเรื่องนี้ ล่าสุด SD Perspectives เห็นจากต้นน้ำธุรกิจเคมิคอลส์ เอสซีจี สร้าง Circular Plas สตาร์ทอัพ พัฒนาเทคโนโลยีรีไซเคิลมุ่งสู่“ธุรกิจปิโตรเคมีเพื่อความยั่งยืน” (Chemicals Business for Sustainability)
รุ่งโรจน์ รังสิโยภาส กรรมการผู้จัดการใหญ่ เอสซีจี กล่าวกับ SD Perspectives พร้อมสื่ออื่น ๆ ถึง ธุรกิจดาวเด่นที่เอสซีจีมองเห็นชัดเจนที่ต้องมาแน่นอน คือเรื่องเกี่ยวข้อง Sustainability & Circular Economy และเรื่องเกี่ยวข้องเทคโนโลยีดิจิทัล
“เรื่องนี้เป็นเรื่องสำคัญที่ทุกคนยอมรับเป็นเทรนด์ ตรงนี้เป็นสิ่งหนึ่งที่เอสซีจีลงทุน รวมถึงเรื่อง สุขภาพดีที Welbeing ทั้งสินค้า และโซลูชั่นที่ช่วยให้คนที่อยู่อาศัยเกี่ยวกับในบ้าน หรือใช้งานเช่นเกี่ยวกับอุปกรณ์ทางการแพทย์ โควิด-19 สอนพวกเราคือ ในช่วงวิกฤติเช่นนี้ ต้องมีความใกล้ชิด ความเข้าใจความต้องการลูกค้าจริง ๆ ลูกค้าต้องการสินค้า Circular Economy สินค้ายั่งยืน แต่ขณะเดียวกันก็ต้องเป็นสินค้าที่เข้าถึงได้เช่นกัน ตรงนี้เอสซีจีเข้าใจตรงกัน ต้องปรับว่าสินค้าเหล่านี้ ไม่จำเป็นต้องมีมูลค่าสูงอย่างเดียว ต้อง Affordable”

รุ่งโรจน์ รังสิโยภาส กรรมการผู้จัดการใหญ่ เอสซีจีและ ธนวงษ์ อารีรัชชกุล กรรมการผู้จัดใหญ่ ธุรกิจเคมิคอลส์ เอสซีจี
การตอบโจทย์ล่าสุดข้างต้น ธุรกิจเคมิคอลส์ เอสซีจี เดินหน้าธุรกิจตามแผนโรดแมปด้านเศรษฐกิจหมุนเวียน มุ่งสู่ “ธุรกิจปิโตรเคมีเพื่อความยั่งยืน” (Chemicals Business for Sustainability) โดยมีนวัตกรรมและเทคโนโลยีรีไซเคิลพลาสติกเป็นตัวขับเคลื่อนสำคัญ ซึ่งในปี 2564 ได้วางโรดแมปด้านเศรษฐกิจหมุนเวียนไว้ 4 ด้านหลัก ได้แก่
1.การพัฒนานวัตกรรมเม็ดพลาสติก และโซลูชัน โดยออกแบบให้สามารถรีไซเคิลได้ง่าย (Design for Recyclability) โดยยังคงคุณสมบัติด้านอื่น ๆ ไว้อย่างครบถ้วน
2.การนำพลาสติกใช้แล้วมาผลิตเป็นเม็ดพลาสติกรีไซเคิลคุณภาพสูง หรือ PCR (Post – Consumer Recycled Resin)
3.การนำพลาสติกใช้แล้วมาผลิตเป็นวัตถุดิบตั้งต้นสำหรับธุรกิจปิโตรเคมี (Chemical Recycling)
4.การพัฒนานวัตกรรมพลาสติกชีวภาพ (Bioplastics)
ธนวงษ์ อารีรัชชกุล กรรมการผู้จัดใหญ่ ธุรกิจเคมิคอลส์ เอสซีจี อธิบายเรื่องนี้ว่า จาก 4 ด้านหลักข้างต้นโรดแมปที่วางไว้ครอบคลุมตลอด Supply Chain นั่นคือ ตั้งแต่การออกแบบเม็ดพลาสติกให้ใช้ทรัพยากรน้อยที่สุดแต่ยังคงมีประสิทธิภาพ จนถึงการนำพลาสติกใช้แล้วกลับเข้าสู่ระบบด้วยนวัตกรรมและเทคโนโลยีรีไซเคิลพลาสติก
สำหรับความคืบหน้าล่าสุด ได้แก่ การพัฒนาเทคโนโลยีรีไซเคิลพลาสติกสำหรับกระบวนการ Chemical Recycling โดยเปลี่ยนพลาสติกใช้แล้วเป็นวัตถุดิบตั้งต้น หรือ Renewable Feedstock สำหรับโรงงานปิโตรเคมี ซึ่งสามารถนำกลับมาผลิตเม็ดพลาสติกใหม่ (Virgin Plastic Resin) ตอบโจทย์หลักเศรษฐกิจหมุนเวียนอย่างยั่งยืน ในเบื้องต้น ธุรกิจเคมิคอลส์ เอสซีจี ได้พัฒนาต่อยอดเทคโนโลยีรีไซเคิลพลาสติก ที่เป็น Advanced Technology ใช้สารเร่งปฏิกิริยาทำให้กระบวนการรีไซเคิลมีอุณหภูมิต่ำ จึงช่วยลดการใช้พลังงาน เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และช่วยลดปัญหาการสะสมของปริมาณขยะพลาสติกในประเทศ
นอกจากนี้ ยังได้ก่อสร้างโรงงานทดสอบการผลิต หรือ Demonstration Plant แห่งแรกในประเทศไทย ในพื้นที่บริเวณโรงงาน จังหวัดระยอง ด้วยกำลังการผลิต Renewable Feedstock ประมาณ 4,000 ตันต่อปี และพร้อมที่จะขยายกำลังผลิตในอนาคต
ทั้งนี้ โครงการดังกล่าว ธุรกิจเคมิคอลส์ เอสซีจี ได้ร่วมมือกับ Partner ซึ่งเป็นสตาร์ทอัพด้านเทคโนโลยีที่ร่วมกันพัฒนาเทคโนโลยีรีไซเคิล และจัดตั้งบริษัท Circular Plas Co., Ltd. ทุนจดทะเบียน 165 ล้านบาท เพื่อดำเนินธุรกิจรีไซเคิลพลาสติกผ่านกระบวนการรีไซเคิลทางเคมี หรือ Chemical Recycling มีสัดส่วนการถือหุ้นโดยบริษัทย่อยในธุรกิจเคมิคอลส์ เอสซีจี ร้อยละ 60 และ Partner ร้อยละ 40