31 มกราคม 2564…หน้ากากนี้ได้รับแรงบันดาลใจจากสถาปนิก และออกแบบมาเพื่อสร้างความตระหนัก และระดมทุนเพื่อต่อสู้กับการค้ามนุษย์ ในห่วงโซ่อุปทานการออกแบบระดับโลก
ถ้าคุณเป็นคนที่ไม่สามารถซื้อเก้าอี้เลานจ์ที่โดดเด่นของ Herman Miller ได้ ข่าวดีก็คือ คุณสามารถแสดงความชื่นชมกับบริษัทเฟอร์นิเจอร์ชั้นนำแห่งนี้ ด้วยการจับจองเป็นเจ้าของหน้ากากอนามัยที่พวกเขาออกแบบ
Herman Miller เปิดตัวหน้ากากอนามัย Limited-Edition ใช้ชื่อว่า“Design for Freedom” เป็นโครงการที่ทำงานร่วมกับ Grace Farms Foundation องค์กรไม่แสวงหาผลกําไรด้านมนุษยธรรม หน้ากาก ราคา 30 เหรียญสหรัฐ ยอดขายหลังหักค่าใช้จ่ายจะรวบรวมไปที่ Design for Freedom ซึ่งเป็นความคิดริเริ่มของ Grace Farms ที่พยายามกําจัดการค้ามนุษย์ ออกจากสภาพแวดล้อมที่เป็นอยู่ทุกวันนี้
จากรายงานที่ Design for Freedom เปิดเผยในเดือนพฤศจิกายน 2020 การค้ามนุษย์แพร่หลายไปทั่วโลก มีแรงงานที่ถูกบังคับอย่างผิดกฎหมายมากมายในอุตสาหกรรมสถาปัตยกรรมระดับโลก การออกแบบ และห่วงโซ่อุปทานการก่อสร้าง Design for Freedom หวังว่าการจุดประกายแนวคิดนี้จะช่วยกระตุ้นให้บริษัททั่วโลกใช้วัสดุที่ผลิตจากแรงงานถูกกฎหมายเท่านั้น
สถาปนิก Shohei Yoshida ผู้ก่อตั้ง Shohei Yoshida + Associates (sy+a) และ Peter Miller ผู้ก่อตั้งร่วมของ Palette Architecture เป็นผู้ออกแบบหน้ากากอนามัย ร่วมกับ Grace Farms
ทั้งนี้ Herman Miller และ Design Within Reach (ซึ่งถูก Herman Miller ซื้อกิจการในปี 2014) เป็นผู้จัดจำหน่ายที่ได้รับการคัดเลือกของผลิตภัณฑ์
Yoshida และ Miller ได้รับแรงบันดาลใจจากการทํางานก่อนหน้านี้กับมูลนิธิ: the River building ซึ่งทำงานกับมูลนิธิ Grace Farms ในคอนเนตทิคัต ทั้ง Yoshida และ Miller เป็นสถาปนิกโครงการที่ทำงานเต็มวัน กับบริษัท SANAA และ Handel Architects ที่ทำงานกับมูลนิธิก่อนหน้านี้
เพื่อเลียนแบบความเงางามของการสะท้อนแสงอาทิตย์จากหลังคาโลหะของอาคาร ครึ่งบนของหน้ากากใช้ด้ายไอออนสีเงินที่สะท้อนแสงอาทิตย์ให้แสงอ่อน (มันยังมีคุณสมบัติต้านเชื้อแบคทีเรียด้วย) หน้ากากยังให้ระดับสีที่แตกต่าง ดังนั้นจึงใช้ด้ายโพลีเอสเตอร์ที่ไม่สะท้อนแสงกับครึ่งล่าง โดยการสะท้อนแสงขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อม
Miller ให้ข้อมูลว่า เมื่อผู้สวมอยู่นอกแสงธรรมชาติ ส่วนบนของหน้ากากสะท้อนให้เห็นถึงสิ่งแวดล้อม ในสภาพแวดล้อมภายในที่มีแสงประดิษฐ์ หน้ากากก็จะมีสีเข้มกว่าเดิม
Miller ยังเน้นเรื่องการจัดหาวัตถุดิบในการผลิตหน้ากากด้วย โดยหลักสำคัญคือ ห่วงโซ่อุปทานต้องโปร่งใส และมีจริยธรรม วิธีการคือ เปิดอกคุยกับซัพพลายเออร์ทุกรายได้เลยว่าวัตถุดิบมาจากที่ไหน
“คุณคุยกับพวกเขาอย่างเปิดอกตั้งแต่แรกเกี่ยวกับเรื่องนี้ ทำให้พวกเขารู้รายละเอียดมากที่สุดในทุกกระบวนการ” Miller ซึ่งเป็นผู้ออกแบบด้านในของหน้ากากกล่าว โดยเขาทํางานร่วมกับ Carr Textiles ซึ่งต้องติดต่อเรื่อง organic cotton ซัพพลายเออร์หมึก รวมถึงหารือว่าส่วนไหนที่ใครต้องทำ และอัตราค่าจ้างด้วย
กรณีนี้ หน้ากากผลิตโดย Retazo L3C บริษัทด้านแฟชั่นที่ใช้กระบวนการผลิตแบบ Circular จากเปอร์โตริโก ห่วงหูยืดหยุ่นทําในอิตาลี; วงโค้งอลูมิเนียมบริเวณจมูกทําในคอนเนตทิคัต ซับในผ้าฝ้ายผ่านการรับรองมาตรฐานสิ่งทอออร์แกนิก (GOTS) ทั่วโลกและพิมพ์ด้วยหมึกมังสวิรัติที่ใช้น้ําเป็นวัตถุดิบหลัก หน้ากากยังใช้บรรจุภัณฑ์ที่ย่อยสลายได้ด้วย
โครงการนี้ ยังเปิดหูเปิดตาของเขาให้กว้างขึ้นอย่างมากด้วย
“ปีที่ผ่านมา เราเรียนรู้มากมายเกี่ยวกับกระบวนการนี้ เนื่องจากกลุ่มนี้เริ่มมีความคล่องตัว และตั้งใจที่จะทําผลิตภัณฑ์ออกมามากขึ้นเรื่อยๆในอนาคต” Miller กล่าว “เป็นเวลานานเหมือนกันที่คนทั่วไปไม่ได้คิดเเรื่องนี้รวมถึงเราด้วย แต่ตอนนี้ เราเรียนรู้มากขึ้น ทำให้มันยากที่จะไม่คิดมากขึ้น หรือพยายามที่จะจัดหาสิ่งต่าง ๆ ให้โปร่งใสมากขึ้น”
Herman Miller ไม่ได้ตอบทุกคำถาม ที่แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับห่วงโซ่อุปทานของพวกเขาแต่อย่างใด แต่โฆษกของ บริษัทอ้างถึงจรรยาบรรณของซัพพลายเออร์ซึ่งระบุว่า บริษัทคาดหวังว่าซัพพลายเออร์จะปฏิบัติต่อคนงานของพวกเขา “อย่างเป็นธรรมตามกฎหมายและข้อบังคับท้องถิ่น” ซึ่งรวมถึงพวกเขาไม่ได้ใช้แรงงานผิดกฎหมาย แรงงานเด็ก หรือการรักษาที่ไร้มนุษยธรรม และพวกเขาต้องให้ค่าจ้างและชั่วโมงการทํางานที่ตรงตามกฎหมาย
ทุกวันนี้ หน้ากากอนามัย ได้กลายเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประจําวันของเราไปแล้ว หากมองมุมยิบย่อย หากไม่ให้ความสนใจอย่างจริงจัง นับจากอดีตเป็นต้นมา อุปกรณ์เสริมนี้สามารถทําให้เกิดการค้ามนุษย์ อันเป็นความเลวร้ายที่สุดของห่วงโซ่อุปทานได้เช่นเดียวกัน
ที่มา