CIRCULAR ECONOMY

Tokyo 2020 นักกีฬาโอลิมปิก จะนอนหลับบนเตียงที่ทำจากกระดาษแข็งรีไซเคิล

24 มกราคม 2563… เตียงรับน้ำหนักได้สูงถึง 200 กิโลกรัม (440 ปอนด์) จะถูกนำไปรีไซเคิลภายหลังการแข่งขันสิ้นสุดลง นี่เป็นตัวอย่างของความพยายามล่าสุดในการจัดลำดับความสำคัญของการออกแบบเพื่อความยั่งยืนในโอลิมปิก Tokyo 2020

คณะกรรมการจัดการแข่งขัน นำตัวอย่างเฟรมเตียงเดี่ยว ซึ่งจะมีทั้งหมด 18,000 ชุด ใช้กับห้องพักของหมู่บ้านนักกีฬาสร้างขึ้นข้าง ๆ อ่าวโตเกียวมาจัดแสดงให้ผู้เกี่ยวข้องชม

ทั้งนี้ เตียงจะไม่ถูกส่งไปจนกว่าการก่อสร้างหมู่บ้านนักกีฬาจะแล้วเสร็จภายในเดือนมิถุนายนโดยข้อมูลของ Associated Press ระบุว่า เตียงเหล่านี้ ผลิตโดย Airweave บริษัทผู้ผลิตเครื่องนอนของญี่ปุ่น ทำจากกระดาษแข็งรีไซเคิล ที่มีรายงานว่าแข็งแรงกว่าโครงไม้

ทาคาชิ คิตาจิมะ  ผู้จัดการทั่วไปของหมู่บ้านนักกีฬาบอกนักข่าวว่าเตียงรับน้ำหนักได้สูงถึง 200 กิโลกรัม (440 ปอนด์) มีนักกีฬาไม่กี่คน ที่มีน้ำหนักเกินนี้ (เว้นแต่ว่ามี 2-3 คนนอนบนเตียงเดียว) ดังนั้น คงไม่น่าจะมีปัญหาเรื่องเตียงยุบตัวลงตอนกลางคืน แต่เขาบอกกับนักข่าวว่า “แน่นอนว่า ทั้งไม้และกระดาษแข็งก็พังได้ ถ้าคุณกระโดดทิ้งน้ำหนักลงแรงๆ”

สำนักข่าว AP รายงานว่า ที่นอนไม่ได้ทำจากกระดาษแข็ง แต่ส่วนประกอบที่ทำจากพลาสติกจะถูกนำกลับมารีไซเคิลหลังการแข่งขันเช่นกัน พวกเขาแยกทีมออกเป็น 3 ชุด ซึ่งสามารถปรับแต่งเตียงนอน เป็นแบบ Customized ให้เหมาะกับความต้องการของนักกีฬาแต่ละคน

การแข่งขันกีฬาโอลิมปิกเริ่มต้นในวันที่ 24 กรกฎาคม ตามด้วยพาราลิมปิก ในวันที่ 25 สิงหาคม (ซึ่งใช้เตียงเพียง 8,000 ชุดในการแข่งขันพาราลิมปิก) ก็ได้แต่หวังว่าพวกเขาจะมีหมอนเพียงพอสำหรับทุกคน

ความสำคัญของการออกแบบเพื่อความยั่งยืนในโอลิมปิก Tokyo 2020 เราได้เริ่มเห็นในเรื่องเหรียญโอลิมปิก เป็นงานคราฟท์ ประดิษฐ์ขึ้นจากโทรศัพท์ใช้แล้วที่รับบริจาคนับหมื่นเครื่อง นอกจากนั้น ในหมู่บ้านนักกีฬาจะเห็น e-Palettes รถยนต์ไร้คนขับของโตโยต้าวิ่งแบบวนรอบหมู่บ้าน ให้บริการนักกีฬาและทีมงาน ส่วนโพเดี้ยมรับเหรียญก็ทำจากพลาสติกรีไซเคิล

 

ที่มา

 

You Might Also Like