10 กันยายน 2565… เปิดรับสมัครนิสิต นักศึกษา ระดับ ปวส. และปริญญาตรี ในรูปแบบประเภททีม (ทีมละ 3 – 5 คน) ร่วมส่งผลงานนวัตกรรม ตั้งแต่วันนี้ – 15 กันยายน 2565 เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนให้เกิดความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรท้องทะเลไทย รับฟังเทคนิคและข้อคิดดีๆ กับกิจกรรม Workshop เพื่อเพิ่มองค์ความรู้ และนำมาต่อยอดผลงานจากวิทยากรผู้เชี่ยวชาญ
ชยงค์ บริสุทธิ์สวัสดิ์ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่กลุ่มงานทรัพยากรบุคคล กิจการองค์กร และกำกับดูแล บริษัท ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) ประธานคณะกรรมการโครงการ PTTEP Teenergy ปีที่ 8 เกี่ยวกับโครงการ PTTEP Teenergy ปีที่ 8 และการประกวดนวัตกรรมอนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเล ครั้งที่ 2 (The 2nd Young Ocean for Life Innovation Challenge) ภายใต้แนวคิด “ทะเลเพื่อชีวิต” (Ocean for Life) แนะนำเยาวชน ที่แจ้งเกิดจากผลงานนวัตกรรม “ทะเลเพื่อชีวิต” ครั้งที่1
ตัวแทนทีม Scraber ผู้ชนะเลิศ ในหัวข้อ Provide คือ อพินญา คงคาเพชร และปาริฉัตร เศียรอินทร์ จากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี และตัวแทนทีม Green Grove รองชนะเลิศอันดับ 1 ในหัวข้อ Preserve คือ อัครพันธ์ ทวีศักดิ์ จากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี และ
กาญจน์หทัย ขันติยู จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
โดยทีม Scraber มีพื้นเพเป็นคนในชุมชนประมง สนใจเรื่องปูนิ่มในช่วงเวลาที่สำคัญคือการลอกคราบ ขณะเดียวกันมีความสนใจเรื่อง AI ซึ่งจะช่วยในเรื่องการลอกคราบปูนิ่มได้อย่างแม่นยำ เรียลไทม์ ผ่านแอปฯบนมือถือ
ส่วน Green Grove เคยมีประสบการณ์โดยตรงทั้งที่ทำเอง และเป็นโค้ชให้นักศึกษาจากต่างประเทศในเรื่องการปลูกป่าชายเลน และก็พบปัญหาทุกครั้งคือ การนำต้นกล้าโกงกางออกจากุงพลาสติกค่อนข้างยาก ทำให้อัตราการรอดของต้นโกงกางต่ำ และยังมีเรื่องถุงพลาสติกที่กลายเป็นขยะ จึงเป็นที่มาของของการนำเศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรคือเปลือกข้าวโพดมาปั๊มขึ้นรูปทดแทนถุงพลาสติก รวมถึงการใช้เปลือกหอยมาใช้ได้เช่นกัน
ชยงค์กล่าวว่า ทั้งสองทีมอยู่ในเกณฑ์การประกวดเช่นเดียวกับทีมอื่น ๆ 3 หัวข้อ ได้แก่
1.Protect: การปกป้องท้องทะเล จากภัยคุกคามต่าง ๆ โดยเฉพาะวิกฤติระดับโลก 3 ด้าน ได้แก่ มลภาวะจากขยะและน้ำเสีย การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และการสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ
2.Preserve: การอนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง โดยเฉพาะระบบนิเวศชายฝั่งที่มีความสำคัญต่อการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพและชีวิตความเป็นอยู่ของชุมชน ให้สามารถคงอยู่ได้อย่างยั่งยืน
3.Provide: การสร้างโอกาสเพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชน เพื่อให้ชุมชนในพื้นที่ชายฝั่งทะเลรอบอ่าวไทยมีคุณภาพชีวิตและความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นตามรูปแบบเศรษฐกิจสีน้ำเงิน (Blue Economy) และ BCG Economy หรือ เศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน และเศรษฐกิจ สีเขียว (Bio-Circular-Green Economy) ซึ่งเป็นโมเดลเศรษฐกิจเพื่อสนับสนุนการพัฒนาที่ยั่งยืน
“นอกจาก 3 P ดังกล่าวแล้ว คณะกรรมการจะดูเรื่องนวัตกรรมนั้น ตอบโจทย์ปัญหาชัดเจนอย่างไร มีความคิดสร้างสรรค์ สุดท้ายเป็นเรื่องการนำเสนอ ซึ่งเรามีวัตถุประสงค์เพื่อให้เยาวชนไทย ตระหนักถึงความสำคัญของการอนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเล พร้อมก้าวสู่การเป็นนักอนุรักษ์รุ่นเยาว์ และเพื่อส่งเสริมและสนับสนุนให้เกิดความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรท้องทะเลไทย”
ชยงค์กล่าวต่อเนื่อง การประกวดนวัตกรรมอนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเล ครั้งที่ 2 (The 2nd Young Ocean for Life Innovation Challenge) จัดในรูปแบบการประกวดประเภททีม (ทีมละ 3 – 5 คน) โดยผู้ที่ผ่านการคัดเลือกรอบแรก จำนวน 15 ทีม จะได้สัมผัสกับประสบการณ์การเข้าร่วมกิจกรรม Workshop ในรูปแบบไฮบริด เพื่อเพิ่มพูนความรู้ พร้อมรับฟังข้อเสนอแนะ เพื่อนำมาต่อยอดผลงานจากนักวิชาการและวิทยากรผู้เชี่ยวชาญ
ขณะนี้ ทั้งสองทีมที่กล่าวข้างต้น กำลังอยู่ในช่วงนำนวัตกรรมมาต่อยอด ซึ่งตัวแทนทั้งสองทีมเห็นตรงกันในสิ่งที่ได้จากเวที การประกวดนวัตกรรมอนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเล ครั้งที่ 1 คือกระบวนการทางความคิดทางวิทยาศาสตร์อย่างสร้างสรรค์ และมีผลกระทบเชิงบวกต่อชุมชน นับเป็นสิ่งสำคัญมาก โดยเยาวชนในสองทีมมีมุมมองต่อสิ่งแวดล้อมหลังจากที่ร่วมโครงการ
“เรื่องของสิ่งแวดล้อมไม่ใช่เทรนด์ เพราะสิ่งแวดล้อมเกี่ยวข้องกับชีวิตทุกคน สิ่งแวดล้อมไม่ดีชีวิตเราก็ไม่ดีไปด้วย ดังนั้นสิ่งแวดล้อมเป็นพื้นฐานในการพัฒนาทุกอย่าง จึงต้องตระหนักและสนใจในสิ่งแวดล้อม ใช้เทคโนโลยีช่วยพัฒนาสิ่งแวดล้อม อาจจะคิดว่าคนเดียวทำเพื่อสิ่งแวดล้อมไม่เห็นผล หากทุกคนร่วมมือกัน เราสามารถเปลี่ยนแปลงโลกได้ เพราะเชื่อว่าไม่มีพระหัตถ์ของพรเจ้าองค์ไหนที่จะรังสรรค์โลกใบนี้ไว้ได้ มีเพียงคู่มือกว่า 7 พันล้านคู่ที่จะสร้างสรรค์โลกใบนี้ให้น่าอยู่ต่อไป”
ชยงค์กล่าวในท้ายที่สุด ปตท.สผ. มีเป้าหมาย Net Zero 2050 โดยทะเลที่สมบูรณ์จะเป็นแหล่งดูดซับกักเก็บคาร์บอนฯ ได้เป็นอย่างดี และเมื่อระบบนิเวศทางทะเลสมบูรณ์ หมายถึงสัตว์น้ำพืชต่าง ๆ ที่จะช่วยเติมเต็มให้สิ่งแวดล้อม รวมวิถีชุมชนและสังคมซึ่งเป็นห่วงโซ่คุณค่าของกันและกันต่อไปที่คนรุ่นใหม่จะต้องดูแล
ทั้งนี้ ทีมที่ชนะเลิศในแต่ละหัวข้อ จะได้รับเงินรางวัลทีมละ 130,000 บาท และเงินรางวัลพิเศษสำหรับนำผลงานนวัตกรรมไปพัฒนาต่อยอดอีกทีมละ 40,000 บาท พร้อมโล่และประกาศนียบัตรรองชนะเลิศอันดับ 1 ได้รับเงินรางวัลทีมละ 70,000 บาท พร้อมโล่และประกาศนียบัตร รองชนะเลิศอันดับ 2 ได้รับเงินรางวัลทีมละ 40,000 บาท พร้อมโล่และประกาศนียบัตร และรางวัลชมเชย จำนวน 2 รางวัล ได้รับเงินรางวัลทีมละ 10,000 บาท พร้อมประกาศนียบัตร รวมมูลค่าเงินรางวัลทั้งสิ้น 900,000 บาท ผู้สนใจสามารถสมัครพร้อมส่งผลงานเข้าร่วมประกวดได้ตั้งแต่วันนี้ –15 กันยายน 2565 สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมและติดตามข่าวสารได้ที่ www.facebook.com/pttepcsr