20-22 กรกฎาคม 2567… กระทรวงศึกษาธิการและกีฬา สปป. ลาว และบมจ.ราช กรุ๊ป รุก“โครงการการศึกษาเสริมทักษะสร้างอาชีพ สปป. ลาว” ระยะที่ 3 (พ.ศ. 2567-2573) เพื่อพัฒนาการอาชีวศึกษาใน สปป. ลาว ด้วยการเสริมสร้างความรู้และทักษะฝีมือด้านเทคนิคที่จำเป็นในภาคอุตสาหกรรม และระยะนี้มุ่งพื้นที่พลังงานทดแทน แก่ครูนักเรียนอาชีวศึกษา และสายสามัญ
ท่านหนูพัน อุดสา อธิบดีกรมอาชีวศึกษา กระทรวงศึกษาธิการและกีฬา สปป. ลาว และนิทัศน์ วรพนพิพัฒน์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ราช กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) ลงนามหนังสือแสดงเจตจำนงความร่วมมือ “โครงการการศึกษาเสริมทักษะสร้างอาชีพ สปป. ลาว” ระยะที่ 3 เป็นการตอบสนองยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านเศรษฐกิจและสังคมของ สปป. ลาว อีกทั้งเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนของสหประชาชาติเป้าหมายที่ 4 (SDGs4) การศึกษาที่มีคุณภาพ และเป้าหมายที่ 8 (SDGs8)งานที่ดีและเศรษฐกิจที่เติบโต
ในโอกาสนี้ รัฐบาล สปป. ลาว โดยกระทรวงศึกษาธิการและกีฬา ได้มอบเหรียญตราพัฒนา (Cross of Development) ให้แก่บริษัทฯ เป็นครั้งที่ 2 โดยครั้งแรกปี 2561 และครั้งที่ 2 คือปี 2567 ในฐานะองค์กรที่มีส่วนร่วมในการพัฒนาสังคมของ สปป. ลาว อย่างต่อเนื่องกว่าทศวรรษ
ทั้งนี้ แผนพัฒนาประเทศของรัฐบาล สปป. ลาว ให้ความสำคัญกับการพัฒนาศักยภาพทรัพยากรมนุษย์ โดยมุ่งเน้นพัฒนาแรงงานทักษะขั้นสูงให้กับตลาดแรงงาน
“ขอบคุณราช กรุ๊ปในการให้ความร่วมมือในโครงการระยะที่ 3 นี้ ซึ่งโดยทั่วไปนโยบายของรัฐบาลสปป.ลาว ก็มีความใส่ใจในการพัฒนาบุคลากรมนุษย์โดยเฉพาะนักเรียนที่จบมัธยม หมายความว่าพวกเรามีทิศทางอยากให้มีการเอาระบบการเรียนวิชาชีพเข้าไปเรียนผสมผสานเลย เรียกว่าโรงเรียนสามัญวิชาชีพ ซึ่งคิดว่าจุดนี้จะเป็นการลดขั้นตอน เมื่อจบมัธยมแล้วสามารถมีวิชาชีพที่จะเข้าทำงานได้เลย”
ท่านหนูพัน ขยายความต่อเนื่อง ความต้องการของรัฐบาลปัจุบันนี้ กำลังพัฒนาเสริมสร้างเพื่อให้สปป.ลาวหลุดพ้นจากประเทศที่ด้อยพัฒนา ปี 2026 เพราะฉะนั้นแล้ว เพื่อความยั่งยืนในการพัฒนานี้ รัฐบาลต้องเร่งในการพัฒนาบุคลากร โดยเฉพาะในด้านอาชีวะศึกษานี้ เพราะส่วนนี้ก็มีความสำคัญในการพัฒนาบุคลากร อยู่ในพื้นฐานการผลิต ในโรงงาน หรือในท้องถิ่น เพราะปัจุบันยังมีความแตกต่างกันมากระหว่างเมืองใหญ่กับเมืองเล็กในชนบท ซึ่งถ้าหากว่ารัฐบาลพัฒนาส่งเสริมทักษะทางด้านวิชาชีพตามที่โครงการการศึกษาเสริมทักษะสร้างอาชีพ สปป. ลาว กำลังจะทำนี้ เยาวชนสปป.ลาว ก็จะสามารถดำเนินธุรกิจ ดำเนินงาน ในขอบเขตเมืองของตัวเองได้
“ในการตอบโจทย์ความต้องการแรงงานในปัจุบันนี้ เราได้เพิ่มเติมที่ บอลิคำไซ จำปาสัก เซกอง อัตตะปือ คือ 4 แห่งใหม่ ราช กรุ๊ปมีธุรกิจใกล้ชิดพื้นที่ และถือว่าเป็นแหล่งที่มีการใช้พลังงานลมเริ่มที่เซกอง ในเป้าหมายเพื่ออยากจะสร้างนักวิชาการที่ตอบโจทย์เพื่อสนองให้แก่การผลิดพลังงานทางเลือกนี้ นอกจากนี้ยังสร้างศูนย์อบรมด้านพลังงานทดแทนอยู่คำม่วน เป็นเป้าหมายหนึ่งเพื่อจะสร้างพลังงาน ใช้แก๊สชีวภาพ นอกจากนี้หลักสูตรที่เรายังไม่มี ก็จะมีผู้เชี่ยวชาญที่เกี่ยวข้องนำเข้าไปเสริมความรู้ทักษะใหม่”
ท่านหนูพัน ยกตัวอย่างในคำม่วนจะมีบ้านหลังหนึ่ง ที่มี 2 ห้องนอน ห้องรับแขก และห้องน้ำ หมดทั้งหลังนั้นจะใช้โซล่าเซลล์ เป็นโมเดลหนึ่งในการเรียนรู้ ผู้ที่ต้องการสามารถไปศึกษา เพื่อจำลองการใช้ ซึ่งอาจจะเหมาะสำหรับคู่ที่จะสร้างครอบครัวใหม่ เหมาะสำหรับคนที่ต้องการใช้พลังงานทดแทน
“กว่าจะได้หลักสูตรหนึ่งเราจะมีมาตฐาน คือการอิงตามความต้องการของการประกอบการในการฏิบัติงานตัวจริง ว่ามีความคาดหวังดังนี้ มีความเชี่ยวชาญด้านนี้ เพื่อนำมาจัดสร้างระบบหลักสูตรที่เหมาะสม และถ้าหากว่ามีแรงงานลาวเพียงพอ ที่มีคุณภาพ มีประสิทธิภาพ ผู้ลงทุนก็จะว่าจ้างแรงงานลาวเข้าช่วย ถ้าหากว่าแรงงานลาวยังไม่มีคุณภาพพอ บริษัทผู้ลงทุนจะเอาแรงงานของเขาเอง เพราะฉะนั้นการมีส่วนร่วมในการพัฒนาบุคลากร โครงการการศึกษาเสริมทักษะสร้างอาชีพ สปป. ลาว ระยะที่ 3 นี้ก็เป็นส่วนหนึ่งในการเสริมสร้างทักษะของแรงงานลาวให้มีความสามารถในการรองรับบรรดาโครงการต่าง ๆ” ท่านหนูพัน กล่าว
นิทัศน์ กล่าวถึงผลตามมาของโครงการฯ เด็กทุนที่ได้รับทุนดังกล่าว สามารถทำงานที่ราช กรุ๊ป ลาวได้ ถ้าหากว่าบริษัทมีโครงการที่จําเป็นจะต้องใช้บุคลากรด้านนี้
“เราจะพิจารณาบุคลากรที่จบตรงนี้ก็น่าจะเป็นลําดับแรก ๆ เพราะว่าเราก็เชื่อถือในคุณภาพของโครงการการศึกษาเสริมทักษะสร้างอาชีพ สปป. ลาว ที่ราช กรุ๊ปได้ดําเนินการตลอด 12 ปีที่ผ่านมา และจะดำเนินการต่อในระยะที่ 3 อีก 6 ปีข้างหน้า โดยแต่ละโครงการฯใช้งบประมาณเฉลี่ย 20 ล้านบาท ”
นิทัศน์ กล่าวต่อเนื่อง การพัฒนาธุรกิจพื้นที่ใดก็ตาม ก็จะมีการจ้างงาน ทำให้เกิดเศรษฐกิจหมุนเวียน มีเม็ดเงินที่อัดฉีดเข้าไปในระบบเศรษฐกิจ รวมถึงการพัฒนาสังคม และสิ่งแวดล้อม
“เรื่องสิ่งแวดล้อม โครงการฯ ระยะที่ 3 จะเข้มข้นมากขึ้นเรื่อง พลังงานหมุนเวียน พลังงานสะอาด ตอบโจทย์โลก ตอบโจทย์ประเทศไทย และสปป.ลาวด้วยในฐานะที่เป็นเจ้าของทรัพยากร รวมถึงการมีทัศนคติที่ดีในการทำงาน โครงการนี้ฯ เรามีความภูมิใจ เพราะเรามีความเชื่อ การพัฒนาอะไรต้องทำให้ยั่งยืน คอนเซ็ปต์ลักษณะนี้ ก็น่าจะกลมกลืนไปกับสังคม เป็นส่วนหนึ่งของสังคม เราอยากเห็นความยั่งยืนประเทศไทย และสปป.ลาว โดยที่ราช กรุ๊ปลาว เรามีพนักงานรวมในไซต์งาน 248 คน มีสำนักงานใหญ่กรุงเวียงจีนทร์ มีเจ้าหน้าที่ไทย 20 คน”
นิทัศน์ ย้ำว่าโครงการการศึกษาเสริมทักษะสร้างอาชีพ สปป. ลาว ถือเป็นความภาคภูมิใจของบริษัท ซึ่งโครงการฯ ระยะที่ 3 ยังได้ยกระดับเป้าหมายไปสู่เป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนของสหประชาชาติ (SDGs) เป้าหมายที่ 4 การสร้างหลักประกันว่าทุกคนมีการศึกษาที่มีคุณภาพอย่างครอบคลุมและเท่าเทียม และสนับสนุนโอกาสในการเรียนรู้ตลอดชีวิต โดยเน้นที่เป้าประสงค์การส่งเสริมเพิ่มจำนวนผู้ที่มีทักษะทางเทคนิคและอาชีพสำหรับการจ้างงานและการเป็นผู้ประกอบการ รวมถึงการขยายโอกาสด้านทุนการศึกษา การฝึกอบรมทั้งในและต่างประเทศ และเพิ่มจำนวนครูที่มีคุณภาพผ่านความร่วมมือระหว่างประเทศ นอกจากนี้ยังจะตอบสนองเป้าหมายที่ 8 การส่งเสริมการเติบโตทางเศรษฐกิจที่ต่อเนื่อง ครอบคลุม และยั่งยืน การจ้างงานเต็มที่ มีผลิตภาพ และการมีงานที่เหมาะสมสำหรับทุกคน โดยจะเน้นส่งเสริมผู้ประกอบการและวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดเล็ก รวมถึงการพัฒนาประสิทธิภาพการใช้ทรัพยากรและการทำให้การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจไม่นำไปสู่ความเสื่อมโทรมทางด้านสิ่งแวดล้อม
ราช กรุ๊ป ได้ยึดมั่นแนวทางการพัฒนาอย่างยั่งยืนในการดำเนินธุรกิจ โดยมุ่งเน้นส่งมอบคุณค่าแก่ชุมชนและสังคมในทุกพื้นที่ที่ดำเนินกิจการ นอกเหนือจากการสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจ
…วัตถุประสงค์และเป้าหมายของโครงการฯ…
-เพื่อแสดงถึงความตั้งใจของบริษัท ที่จะลงทุนระยะยาวใน สปป. ลาว ซึ่งเป็นฐานการลงทุนสำคัญของบริษัท
-มุ่งเน้นพัฒนาและยกระดับการศึกษาระดับอาชีวะ ที่เป็นเทคนิควิชาชีพที่จำเป็นสำหรับรองรับตลาดแรงงานภาคอุตสาหกรรมไฟฟ้าและการสร้างผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดเล็ก เพื่อขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจ สปป. ลาว
-เพื่อให้ตอบสนองเป้าหมาย SDGs 4 ที่มุ่งเน้นเพิ่มจำนวนเยาวชนและผู้ใหญ่ที่มีทักษะที่จำเป็นรวมถึงทักษะทางเทคนิคและอาชีพสำหรับการจ้างงาน และ SDGs 8 ที่จะส่งเสริมการเติบโตทางเศรษฐกิจ ที่ต่อเนื่อง ครอบคลุม และยั่งยืน การจ้างงานเต็มที่ มีผลิตภาพ และการมีงานที่เหมาะสม
-เพื่อเสริมสร้างแหล่งศึกษาเรียนรู้ ทดลอง และยกระดับความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์ วิทยาการ รวมถึงทัศนคติในการปฏิบัติงานในสาขาวิชาชีพให้มีสมรรถนะที่สามารถประกอบอาชีพในตลาดแรงงานอย่างมีประสิทธิภาพ
-ปรับปรุงและพัฒนาหลักสูตร สร้างสื่อการเรียนการสอน รวมถึงการแลกเปลี่ยนทางด้านวิชาการระหว่างบริษัทฯ กับวิทยาลัยอาชีวศึกษาอย่างใกล้ชิด เพื่อยกระดับความรู้ความสามารถของครูบุคลากรทางการศึกษา และนักเรียน
-จัดหาอุปกรณ์เทคนิคที่จำเป็นเพิ่มเติม ปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานให้เหมาะสมกับรูปแบบการฝึก ตลอดจน