CSR

คาด 5 สิ่งจะเห็นในแพลตฟอร์ม CSR แบรนด์ Robinhood @ SCB

16 มิถุนายน 2563…ปิยะชาติ อิศรภักดี CEO แบรนดิ คอร์ปอเรชัน มองในมุมที่จะเกิดขึ้น จาก Paint Point ในตลาดนี้ แม้ไม่ใช่ Core Business ของ SCB แต่เป็นการลงทุนเพื่อสร้าง Ecosystem ธุรกิจกลาย ๆ ด้วยงบลงทุน 100 ล้านบาท/ปี ซึ่งไม่มากหากเทียบกับงบ CSR ของ Corporate แต่ละปี

ด้วยข้อมูลเดิม แรงบันดาลใจที่อยากช่วยเหลือสังคม ทีมงานคนรุ่นใหม่ของ SCB ได้รวมตัวกัน เพื่อสร้างแอปพลิเคชั่นใช้เวลาเพียง 3 เดือน โดยใช้ทรัพยากรที่ธนาคารมีอยู่แล้วทุกอย่าง จึงเกิดแพลตฟอร์ม ฟู้ดเดลิเวอรี่สัญชาติไทย Robinhood

“โครงการนี้เริ่มต้นจากการเป็น CSR ที่ทำเพื่อสังคมจริงๆ จะไม่มีกำไรจากการให้บริการ Food delivery เข้า SCB แต่อย่างใด ซึ่งถ้าในอนาคตแพลตฟอร์มตรงใจร้านค้า ตรงใจลูกค้าและมีฐานลูกค้าที่ใหญ่พอ ก็อาจทำมากกว่าเรื่องอาหาร โดยอยากให้เป็นดิจิทัลแพลตฟอร์มที่สร้างความผูกพันกับลูกค้า อยากให้ลูกค้าใช้เวลาอยู่กับแอปนานๆ และในที่สุดถ้าแพลตฟอร์มนี้เป็นที่นิยมมีผู้ใช้บริการจำนวนมาก บริษัทที่ดูแลซึ่งก็คือ Purple Ventures บริษัทในเครือ SCB 10X ก็จะแยกตัวออกไปเป็น Startup และสามารถมี Business Model ที่จะหารายได้จากการเสนอบริการอื่นๆ”

อาทิตย์ นันทวิทยา ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและประธานกรรมการบริหาร ธนาคารไทยพาณิชย์ กล่าวข้างต้น พร้อมอธิบายต่อว่า Robinhood เป็นแพลตฟอร์ม ที่สื่อถึงการช่วยเหลือกัน การแบ่งปันความสุขซึ่งกันและกัน ในยามยาก ที่ไม่ได้สร้างขึ้นเพื่อแข่งขันกับใครหรือต้องการเป็นเจ้าตลาด แต่เป็นแพลตฟอร์มที่เชื่อมความสัมพันธ์ เชื่อมเศรษฐกิจ เป็นแพลตฟอร์มที่สื่อถึงการช่วยเหลือกัน การแบ่งปันความสุขซึ่งกันและกัน ซึ่งการช่วยเหลือเกื้อกูลกันในยามยาก คือ จุดแข็งที่ทำให้คนไทย สังคมไทย และประเทศไทยสามารถรอดพ้นทุกวิกฤตที่เผชิญได้

“SCB ไม่ได้ต้องการตลาดขนาดใหญ่แบบแบรนด์ฟู้ดเดลิเวอรี่ ที่เราคุ้นเคยและเคยใช้บริการกันอยู่ ซึ่งเป็นธุรกิจหลักที่จะต้องมีค่า GP ตามปกติของการทำธุรกิจประเภทนี้ ดังนั้นเมื่อ Robinhood ไม่ใช่ Core Business ของ SCB เป็นเพียงขาหนึ่ง ซึ่งต่อไปอาจจะมีขาท่องเที่ยวมา หรือทำขาพลังงานออกมา และอื่น ๆ ธนาคารสามารถทำได้ เพราะสุดท้ายเป็นข้อมูลพื้นฐานของลูกค้าอีกชุดหนึ่งที่ SCB มีความเข้าใจในเชิงลึก จะเข้าใจพฤติกรรม และ Financial Model ทำให้ ธนาคาร Customize Financial Service ที่จะไปซัพพอร์ต Financial ของธนาคารในอนาคต ข้อมูลที่ได้ ไม่ผิวเผินเพียงว่า คุณเป็นใคร ทำอาชีพอะไร Robinhood เป็นการลงทุนเพื่อนำมาสู่การสร้างธุรกิจนั่นเอง สร้าง Win win Business”

ปิยะชาติ ขยายความการเกิด แพลตฟอร์มฟู้ดเดลิเวอรี่ Robinhood โดยวิธีการที่เกิดขึ้น จะมองเห็น 5 เรื่องที่น่าสนใจคือ

1.เป็นวิธีที่ SCB ทำให้คนมาอยู่บนแพลตฟอร์ม SCB มากขึ้น ส่งผลให้ธนาคารรู้จักคนได้มากขึ้น
2.เป็นวิธีที่ SCB สามารถสร้างความสัมพันธ์กับคนอีกชุดหนึ่ง ซึ่งอาจจะเป็นกลุ่มที่เป็นลูกค้าธนาคารอยู่แล้ว หรือกลุ่มคนที่ไม่ได้เป็นลูกค้าธนาคารก็ได้ แต่ความสัมพันธ์เชิงลึกนี้ จะทำให้ SCB ตอบโจทย์ธุรกิจได้มากขึ้น
3.เป็นวิธีที่ SCB สร้างความแฮปปี้ให้คนจำนวนมาก ได้ทานหรือขายอาหาร โดยไม่เสียเงิน (ค่า GP)
4.เป็นวิธีที่ SCB ในอนาคต มีโอกาสให้บริการทางการเงินบางอย่างที่ลูกค้าอยากได้ เช่นการให้สินเชื่อกับสมาชิกที่อยู่บนแพลตฟอร์ม ตามที่อาทิตย์เคยกล่าวไว้
5.เป็นวิธีที่ SCB ทำบริการทางการเงินที่ช่วยลดค่าใช้จ่าย แก้ปัญหาพื้นฐานของการดำรงชีวิตขณะนี้

ปิยะชาติกล่าวตอนท้าย  ในอนาคตแพลตฟอร์มฟู้ดเดลิเวอรี่ Robinhood แม้ไม่ใช่ Core Business ของ SCB เป็นเพียงขาหนึ่งที่ลงทุนปีละ 100 ล้านบาท แล้วทำธุรกิจที่แก้ปัญหาสังคมได้ และมีศักยภาพในการเติบโต  เมื่อโตก็ฉีดเงินเพิ่มขึ้น  แต่ถ้าหากสถานการณ์กลับมาปกติคลายล๊อคทั้งหมด คนกลับไปนั่งกินอาหารที่ร้านเหมือนเดิม  ทิศทางการธุรกิจเปลี่ยนแปลง  งบประมาณการลงทุนดังกล่าวสามารถดึงกลับมาทำ CSR ในรูปแบบปกติเช่นเดิม

 

 

You Might Also Like