CSR

มูลนิธิเชฟแคร์ส “สานฝันปั้นเชฟ”

11 มีนาคม 2564…SD Perspectives เห็นการมอบ “โอกาส” ให้เยาวชนที่เคยหลงผิดและเยาวชนด้อยโอกาส รวม 12 คน ได้เรียนรู้วิธีการประกอบอาหารทั้งภาคทฤษฎีและปฏิบัติ ตลอดจนได้ฝึกงานจริงกับเชฟมืออาชีพที่มีชื่อเสียงระดับแนวหน้าของประเทศ ควบคู่การพัฒนาศักยภาพของตนเองภายใต้การดูแลของนักจิตวิทยา เพื่อประกอบอาชีพเชฟตามความฝันของตน ซึ่งเป็นไปตามเจตนารมณ์ของ มูลนิธิเชฟแคร์ส

มาริษา เจียรวนนท์ ผู้ก่อตั้งมูลนิธิเชฟแคร์ส ณัฏฐพล ภวไพบูลย์ (เชฟนิค) เชฟแอนดี้ ยัง (เชฟแอนดี้) พ.ต.ท.วรรณพงษ์ คชรักษ์ อธิบดีกรมพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน กระทรวงยุติธรรม รศ.ดร.กมลรัฐ อินทรทัศน์ ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยการจัดการความรู้การสื่อสารเพื่อการพัฒนา (CCDKM) มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ดร.พงษ์รพี บูรณสมภพ Co-Founder Robb Report Thailand นักจิตวิทยาการให้คำปรึกษาและพัฒนาศักยภาพมนุษย์ รศ.ดร.เปรมฤทัย แย้มบรรจง รองคณบดี คณะการจัดการธุรกิจอาหาร และรักษาการรองผู้อำนวยการ PIM FOOD ACADEMY ร่วมกันเล่าถึงความร่วมมือ “สานฝันปั้นเชฟ”

มาริษาเริ่มต้นเล่าถึงการเกิดมูลนิธิเชฟแคร์ส เป็นผลมาจากการเริ่มปี มีนาคม 2563 เพื่อส่งมอบความห่วงใยแทนคำขอบคุณให้กับบุคลากรทางการแพทย์ในสถานการณ์โควิด-19 ผ่านเมนูอาหารกลางวัน ที่รังสรรค์โดยเชฟยอดฝีมือระดับแถวหน้าของเมืองไทยหมุนเวียนกันเสิร์ฟเมนูรสชาติดีมีคุณค่าทางโภชนาการ เมื่อมาถึงปีนี้ก็มองเห็นความต้องการของเยาวชนจำนวนหนึ่งโดยเฉพาะที่กำลังจะพ้นโทษ และเยาวชนด้อยโอกาสมีความฝันอยากจะเป็นเชฟ

เสน่ห์ของการเป็นเชฟ ได้เลือกสรรวัตถุดิบคุณภาพที่ดีในการทำอาหาร รังสรรค์งานให้อร่อยตามรสชาติของอาหาร มีศิลปะในการจัดวาง ฯลฯ ซึ่งเชฟนิคเห็นมา การเป็นเชฟ พ่อแม่ไม่ต้องรวย ไม่ต้องหน้าตาดี ทันทีที่สนใจนั่นคือโอกาส เชฟแนดี้เสริมเรื่องความมีวินัยในการเรียน ก็ไม่ต่างจากการเป็นนักเรียน หรือทำอาชีพอื่น ๆ การเกิด “สานฝันปั้นเชฟ” คือโอกาสที่สำคัญของเยาวชนทั้ง 12 คน ที่เป็นเยาชนด้อยโอกาส 6 คนจากการคัดเลือกของ CCDKM  ส่วนอีก 6 คนเป็นเยาวชนในกรมพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน ที่มีความฝันอยากเป็นเชฟ ทั้งหมดมีฝันอยากเป็นเชฟ !

หลักสูตรของ “โครงการสานฝันปั้นเชฟ” ว่า สถาบันออกแบบหลักสูตรเป็นพิเศษสำหรับน้องๆในโครงการ โดยมีระยะเวลาศึกษา 5 เดือน แบ่งเป็นการเรียนรู้ในภาคทฤษฎีกับปฏิบัติ เป็นเวลา 2 เดือน ณ สถาบันสอนอาหารและการจัดการธุรกิจอาหาร (PIM Food Academy) และอีก 3 เดือน จะเป็นการฝึกประสบการณ์วิชาชีพ ณ ร้านอาหารของเชฟระดับแถวหน้าของเมืองไทย (Top Chef ) โดยที่เยาวชนทุกคนมีโอกาสได้รับการจ้างงาน ทั้งจากร้านอาหารของ Top Chef และ/หรือ ธุรกิจอาหารของเครือเจริญโภคภัณฑ์ ตลอดจนสามารถเป็นผู้ประกอบการร้านอาหารของตนเองได้ในอนาคต

สำหรับมูลนิธิเชฟแคร์ส แม้ว่าการเริ่มต้นจะเข้าไปช่วยเหลือเรื่องอาหารกับบุคลากรทางการแพทย์ ต่อเมื่อมาถึงปีนี้เป็นเรื่อง “สานฝันปั้นเชฟ” และในช่วงเวลาต่อไปจะมีโครงการใหม่ ๆ เข้ามาก็ตาม แต่ “เชฟแคร์ส” ก็คือการทำหน้าที่ “แคร์” ด้านอาหารจากเชฟเช่นเดิม โดยมีข้อมูลด้านสุขภาพอาหารจากโครงการที่เกิดขึ้นในมูลนิธิเชฟแคร์ส

 

You Might Also Like