9 ธันวาคม 2562…นิสสัน มอเตอร์ ประเทศไทย สานต่อโครงการ แค่ใจก็เพียงพอ 2562 เพื่อส่งเสริมพัฒนาความก้าวหน้าอย่างยั่งยืนแก่ชุมชน พร้อมทั้งสนับสนุนให้นักศึกษาทั่วประเทศไทย จัดการกับปัญหาวัสดุ ของเหลือใช้ ในท้องถิ่นด้วยนวัตกรรม Upcycling Solution เพื่อแก้ปัญหาอย่างยั่งยืน
ปีที่ 3 ของโครงการฯ ได้รับแรงบันดาลใจจากมรดกแห่ง “การให้” ของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร และพระมหากษัตริย์ไทยทุกพระองค์ มีนักศึกษาจากมหาวิทยาลัยตั้งแต่ปี 3 ขึ้นไปให้ความสนใจ และเข้าร่วมโครงการฯ รวมทั้งสิ้น 138 ทีม จาก 33 มหาวิทยาลัยทั่วประเทศ นำการเรียนรู้ ความคิดสร้างสรรค์ และทักษะการวางแผนอย่างบูรณาการเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน และยกระดับผลิตภัณฑ์ นักศึกษาสามารถนำนวัตกรรมมาประยุกต์ใช้ได้กับงานด้านการออกแบบ การตลาด การสร้างแบรนด์ กลยุทธ์การสื่อสาร และการสร้างผลิตภัณฑ์ โดยในโครงการฯ รอบแรกนักศึกษาได้ส่งแผนธุรกิจเพื่อจัดการกับความท้าทายที่ชุมชนท้องถิ่นกำลังเผชิญอยู่
ขณะนี้ เข้ามาถึงรอบสุดท้าย ทีมที่เข้ารอบทั้ง 6 ทีม จะเริ่มต้นทำงานอย่างเข้มข้น ในช่วงเดือนธันวาคม จะมีการเปิดโอกาสให้นักศึกษาได้ปรึกษา ส่งงาน และอัพเดทแนวคิดการพัฒนานวัตกรรม เพิ่มเติม จากนั้นต้นเดือนมกราคม 2563 ทีมที่เข้ารอบทั้ง 6 ทีม จะทำการลงพื้นที่เข้าพบทั้งสามชุมชนจากจังหวัดจันทบุรี ได้แก่ ชุมชนบ้านน้ำใส ชุมชนบ้านน้ำโจน และชุมชนบ้านตะกาดเง้า พร้อมเข้าร่วม Design Sprint Bootcamp และเวิร์คช็อปด้านการออกแบบ การตลาด การสร้างแบรนด์ กลยุทธ์การสื่อสารและการสร้างผลิตภัณฑ์ เพื่อผลิตชิ้นงานนวัตกรรม และแข่งขันรอบสุดท้ายในเดือนมีนาคมต่อไป
ดร. ปรเมษฐ์ ชุ่มยิ้ม ที่ปรึกษาอาวุโส เมืองนวัตกรรมอาหาร (Food Innopolis) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) กล่าวถึงการกระบวนการทำงานของนักศึกษากับชุมชนในพื้นที่ แม้จะมีช่วงเวลาไม่มากนัก แต่การมีการทำเวิร์คช็อปการออกแบบทางความคิด (Design Thinking) ให้กับนักศึกษา และหลังจากนี้ทีมนักศึกษาทั้ง 6 ทีม จะเข้าร่วม Design Sprint Bootcamp ซึ่งจะมีเครื่องมือและวิธีการในการหาข้อมูล Insight จากชุมชน โดยจะมีการเข้าไปสังเกตการณ์ในชุมชน ให้นักศึกษาคิดคำถามเพื่อให้ได้ข้อมูลเชิงลึก อีกทั้งยังมีการทำ Photo Journal และ focus group อีกด้วย และที่สำคัญต้องมีการสื่อสาร และนำเครื่องมือต่างๆ มาวิเคราะห์ ให้เกิดการดีไซน์ และนวัตกรรม เพื่อที่จะได้มั่นใจว่าเราเข้าใจ Pain Points ของชุมชนจริงๆ
“Design Thinking เป็นการแนะนำหลักการคิด ให้นักศึกษามองผู้บริโภคเป็นศูนย์กลาง และต้องรู้จักกลุ่มเป้าหมายผู้บริโภคในเชิงลึกว่าเป็นใคร คำนึงถึงสินค้าทั้งด้าน Functional value และ Emotional Value ซึ่งความท้าทายสำหรับโครงการฯ นี้ คือ ต้องมีความเข้าใจความต้องการของชุมชน แล้วนำมาเชื่อมโยงกับนวัตกรรมเพื่อทำให้วัสดุ และของเหลือใช้ในชุมชน มีมูลค่าเพิ่ม ถูกใจผู้บริโภคและสามารถจำหน่ายได้ และพวกเราเชื่อว่าแผนงานของนักศึกษาจะสามารถนำนวัตกรรมในด้านต่าง ๆ ที่สามารถนำของเหลือใช้ไปต่อยอดและสร้างรายได้ให้กับชุมชนและเรียนรู้วิธีการสร้างโมเดลธุรกิจเพื่อสังคมที่มุ่งเน้นการสร้างคุณค่าแบบทำกำไร (Business Value) ควบคู่ไปกับคุณค่าต่อสังคม (Social Value) อย่างยั่งยืนต่อไป”
ราเมช นาราสิมัน ประธาน นิสสัน มอเตอร์ ประเทศไทย กล่าวกับนักศึกษาที่เข้าร่วมการแข่งขันในครั้งนี้จะได้รับสิ่งตอบแทนมากกว่ารางวัล จะได้รับทั้งทักษะจากการใช้ชีวิต การอบรมจากผู้เชี่ยวชาญ และโอกาสที่มอบให้แก่ชุมชนจากหัวใจ
“ในฐานะที่เป็นบริษัทฯที่มีความยึดมั่นในทุกตลาดที่เราได้เข้าไปดำเนินงาน เรามุ่งมั่นที่จะทำการสนับสนุนชุมชนท้องถิ่นอย่างแข็งขัน เราเชื่อในความหลงใหล ความคิดสร้างสรรค์ และจิตวิญญาณของนักศึกษามหาวิทยาลัยทุกคน การแข่งขันในปี 2562 นี้ เรามองเห็นการมีส่วนร่วมที่ยอดเยี่ยมของนักศึกษาในการพัฒนา Upcycling Solution ที่ช่วยชุมชนท้องถิ่นในการจัดการกับวัสดุ และของเหลือใช้ แผนงานที่นักศึกษาได้ส่งเข้ามา เป็นเครื่องยืนยันว่าพวกเขามีใจที่เปิดกว้างและแนวคิดที่แปลกใหม่สำหรับการออกแบบการใช้ชีวิตอย่างยั่งยืน รวมไปถึงการพัฒนาสังคมที่มีมลพิษเป็นศูนย์”
ปีเตอร์ แกลลี่ รองประธานสายงานสื่อสารองค์กร นิสสัน มอเตอร์ ประเทศไทย กล่าวเกี่ยวกับโครงการที่ให้โอกาสแก่นักศึกษาในการนำทักษะ และความมุ่งมั่นที่จะช่วยสร้างสังคมที่ยั่งยืนว่า
“นิสสันรู้สึกประทับใจกับจำนวนนักศึกษาที่เข้าร่วมโครงการเป็นจำนวนมาก ประกอบกับทักษะที่แตกต่างกันจากหลากหลายสาขาวิชา ซึ่งพร้อมที่จะอุทิศเวลาว่างในการเข้าร่วมโครงการที่มีความหมายนี้ นิสสันกำลังดำเนินงานมากกว่าการผลิตและขายรถยนต์ เราใส่ใจกับสิ่งแวดล้อม และให้โอกาส เราภูมิใจ และรู้สึกเป็นเกียรติอย่างยิ่งที่ได้ทำงานร่วมกับนักศึกษาเหล่านี้ เพื่อช่วยกันสร้างสรรค์และพัฒนาชุมชนให้แข็งแกร่งยิ่งขึ้น ภายใต้มรดกอันล้ำค่าของกษัตริย์ไทยในอดีตจนถึงปัจจุบันทุกพระองค์”
นิสสันได้ทำการเปิดตัวโครงการ “แค่ใจก็เพียงพอ” ครั้งแรกเมื่อปี 2560 เพื่อให้มั่นใจว่าแนวคิดและปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงโดยพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ได้รับการสืบสานต่อไป โดยในปีนั้นมีบุคคลต้นแบบจำนวน 10 คน ที่ได้น้อมนำคำสอนแนวคิดไปปรับเปลี่ยนทั้งด้านการทำงานและชีวิตส่วนตัว โดยมีพื้นฐานจากคำสอนของเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร
ในปี 2561 โครงการมุ่งเน้นไปที่แนวคิดของ “การให้” ซึ่งเป็นคุณลักษณะที่โดดเด่นพระมหากษัตริย์ไทย โดยมีนักศึกษาออกแบบและสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ที่สามารถนำไปขายได้ จากการรีไซเคิลและอัพไซเคิลวัสดุ และของเหลือใช้ในท้องถิ่นเพื่อสร้างกระแสรายได้สำหรับชุมชนท้องถิ่น
“ในปี 2561 พวกเราได้เห็นความความตั้งใจ ความคิดสร้างสรรค์ และสปิริตของน้องๆ นักศึกษา โครงการฯ ในปี 2561 พวกเรารู้สึกตื่นเต้นเป็นอย่ามากที่จะได้เห็นผลงานจากความทุ่มเทของเหล่านักศึกษาที่จะสร้างสรรค์ผลงานที่จะช่วยชุมชนแก้ไขปัญหาวัสดุและของเหลือใช้ในชุมชน”
นาราสิมัน กล่าวในท้ายที่สุดถึงแผนงานต่างๆ ที่นักศึกษาได้นำเสนอ เป็นที่ประจักษ์ว่าพวกเขาได้เปิดหัวใจที่จะสร้างสรรค์ผลงงาน นวัตกรรมที่เป็นเลิศเพื่อสานต่อการดำเนินวิถีชีวิตอย่างยั่งยืน