CSR

กลุ่มธุรกิจ TCP รวมพลคนรุ่นใหม่ ให้สัมผัส พูดคุยกับชุมชนต้นแบบการจัดการน้ำ

8 ธันวาคม 2563… ‘TCP Spirit พยาบาลลุ่มน้ำ ชวนก๊วนไปแอ่วกว๊าน Limited’ นำอาสาสมัครคนรุ่นใหม่ เรียนรู้ความสำเร็จการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำจาก “บ้านตุ่นโมเดล” เพื่อที่จะได้เข้าใจและเห็นความสำคัญของการบริหารและจัดการทรัพยากรน้ำผ่านการทำกิจกรรมต่างๆ

สราวุฒิ อยู่วิทยา ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มธุรกิจ TCP กล่าวว่า ในฐานะที่กลุ่มธุรกิจ TCP เป็นผู้ผลิตและจัดจำหน่ายเครื่องดื่มชั้นนำของไทยซึ่งใช้น้ำเป็นเป็นวัตถุดิบสำคัญในกระบวนการผลิต มีความตั้งใจในการสร้างการเติบโตของธุรกิจควบคู่กับการสร้างความยั่งยืนให้กับเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม โดยผสานพลังคนรุ่นใหม่จากทีมอาสาสมัคร TCP Spirit พยาบาลลุ่มน้ำ มาลงมือดูแลต้นน้ำและเรียนรู้การบริหารจัดการน้ำจากบ้านตุ่นโมเดล ภายใต้การสนับสนุนจากพันธมิตรของบริษัท มูลนิธิอุทกพัฒน์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ (อพ.) และสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำ (องค์การมหาชน) (สสน.) เพื่อสร้างความเข้าใจให้กับคนปลายน้ำ นำไปสู่การพัฒนาทรัพยากรต้นน้ำ และต่อยอดการสร้างความเปลี่ยนแปลงที่ดีให้กับสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืนต่อไป

“อยากให้เด็กรุ่นใหม่เห็นภาพเหล่านี้ เห็นการทำงานที่เข้มแข็งของชุมชน  ซึ่งถ้ามีชุมชนแบบนี้มากขึ้นในประเทศ ชุมชนจะเข้มแข็ง  ที่นี่เยาวชนหลายคนในชุมชนก็อินกับเรื่องนี้แล้วขับเคลื่อนเรื่องใหญ่ๆได้ วันนี้เยาวชน ไม่ได้นั่งดูโซเชียลมีเดียเฉย ๆ แต่มาเห็นของจริง ฟังชุมชนชนเล่า  ลงมือทำ  ส่วนใครจะเก็บเกี่ยวอะไรไปได้มากน้อยเพียงใดก็ขึ้นอยู่กับเยาวชนเอง ที่ถอดบทเรียน อย่างน้อยเขานำสิ่งเหล่านี้ไปพูดต่อได้ สร้างแรงบันดาลใจได้ในกลุ่มของเขา ซึ่งกิจกรรม 2 วันนี้ไม่ใช่การมาเที่ยว” สราวุฒิอธิบายเพิ่มเติม

จิตอาสา TCP Spirit ร่วมดูแลรักษาต้นทางน้ำกว๊านพะเยา อเล็กซ์ร่วมเป็น moderator และชุมชนให้คำแนะนำ

ดร. รอยล จิตรดอน กรรมการและเลขาธิการ มูลนิธิอุทกพัฒน์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ และประธานกรรมการ สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำ (องค์การมหาชน) ขยายความถึงความสำเร็จในพื้นที่ต้นแบบแห่งนี้ เพราะหัวใจสำคัญในการรักษาทรัพยากรน้ำ โดยเฉพาะการดูแลลุ่มน้ำ อยู่ที่ “การมีส่วนร่วม”  ซึ่งหลังจากได้ร่วมมือกันทำงานได้พบว่า ที่นี่ไม่มี “ผู้นำ” เดี่ยว แต่เป็น “ทีมผู้นำ” ซึ่งมีอายุตั้งแต่ 70 ปี 60 ปี 50 ปี มาถึง 20 ปี มีจุดหมายเดียวกันที่จะจัดการน้ำชุมชน สานต่อการบริหารและจัดการทรัพยากรน้ำอย่างยั่งยืน

“การพยาบาลลุ่มน้ำ ถ้าย้อนกลับไป 30 ปีที่แล้วเป็นเขาหัวโล้น  แต่จากการมีส่วนร่วมทำให้ฟื้นภูเขาสีเขียวนี้กลับมาได้  จะไม่ดีแบบนี้เลยหากชาวบ้านไม่ร่วมกันฟื้น   ดอยหลวงนี้อยู่ทางทิศตะวันของกว๊าน เมื่อดอยฟื้นได้ ทำให้คนในเมืองหันมามองที่ตัวเองว่าเมื่อภูเขาดีขึ้น  ทำไมกว๊านพะเยาแย่ขนาดนั้น น้ำเหม็นเน่า นั่นก็ทำให้คนในเมืองรวมตัวรักษากว๊าน”

ดร.รอยลย้ำว่า ดอยหลวงเราพยาบาลสำเร็จแล้ว วันนี้เขาจะลุกขึ้นวิ่ง  ที่เรามาทำกิจกรรมวันนี้คือมาช่วยเขาให้วิ่ง  นั่งรถเข้ามาน้ำไหลผ่านกลางหมูบ้านใสมาก ไหลริน กว๊านดีขึ้น เทียบกับคลองแสนแสบในกทม.  การมีส่วนร่วมเหล่านี้ดีขึ้น เพราะฉะนั้นวันนี้ เรามาร่วมช่วยพยาบาลให้เขาลุกวิ่ง   และในกทม.จะได้เรียนรู้ว่า คนต่างจังหวัดเขาดูแลน้ำให้เรา

สราวุฒิพร้อมบุตรสาว, ดร. รอยล และอเล็กซ์ ร่วมปลูกหญ้าแฝก

ตำบลบ้านตุ่น จังหวัดพะเยา เป็นพื้นที่ต้นน้ำที่มีความสำคัญ โดยมีต้นน้ำทอดยาวจากยอดดอยหลวง ผ่านที่ลุ่มเกษตรกรรม จนถึงกว๊านพะเยา อันเป็นทะเลสาบน้ำจืดขนาดใหญ่ทางภาคเหนือของประเทศไทยและเป็นแหล่งน้ำสำคัญที่เป็นชีวิตของคนพะเยา เพราะเป็นแหล่งผลิตน้ำประปา และยังเป็นแหล่งที่อยู่ของปลาหลากชนิด ก่อนจะไหลลงสู่แม่น้ำอิงไปรวมตัวกับแม่น้ำโขงในจังหวัดเชียงราย

ในอดีตลำห้วยตุ่นประสบปัญหาการขาดแคลนน้ำที่ใช้ในการทำเกษตรกรรมรวมถึงน้ำป่าหลากในฤดูฝน จากความร่วมมือร่วมใจของคนในชุมชนในการบริหารจัดการน้ำอย่างเป็นระบบตลอดระยะเวลา 25 ปี ทำให้ลำห้วยตุ่นกลับมามีความอุดมสมบูรณ์ และมีน้ำใช้เพียงพอตลอดทั้งปี ชุมชนสามารถบริหารจัดการน้ำอย่างทั่วถึง เพื่อให้ทุกพื้นที่สามารถทำเกษตรกรรมและมีน้ำใช้ในชีวิตประจำวันอย่างเพียงพอ ส่งผลให้สามารถสร้างรายได้ตลอดทั้งปี โดยมีชุมชนและเกษตรกรที่ได้รับประโยชน์จากลำห้วยตุ่นถึง 11 หมู่บ้าน หรือ 1,683 ครัวเรือน คิดเป็นจำนวนประชากร 5,462 คน นอกจากนี้ ยังได้ขยายผลความสำเร็จสู่ความช่วยเหลือแก่ชุมชนอื่นๆ อีกด้วย

พร้อมๆกับการเห็นของจริง ฟังจากคนจริงในชุมชนที่ทำงานของเหล่าจิตอาสา TCP Spirit เพชร หรือจักรภัทร ก็มีคำถามถามตรงกับดร.รอยล

จักรภัทร บุญผาติ คณะสถาปัตยกรรมและการออกแบบ สาขาออกแบบภายใน ปี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้า พระนครเหนือ หนึ่งในอาสาสมัครคนรุ่นใหม่ TCP Spirit กำลังจะทำวิทยานิพนธ์เรื่อง The Water Crisis เพื่อนแนะนำโครงการ TCP Spirit เรียนรู้ “บ้านตุ่นโมเดล” ต้นแบบการจัดการน้ำชุมชน ตัดสินใจสมัครร่วมเดิน หวังจะเกิดแรงบันดาลใจ และได้ข้อมูลจากกิจกรรมไปใช้

“ผมสนใจวิกฤติน้ำ เพราะเห็นว่าปัญหาสิ่งแวดล้อมเกิดมาจากมนุษ์เราเอง เราจึงต้องกลับไปดูแลน้ำ หันมามองทรัพยากรที่เราใช้ทุกวันนี้ว่ามันกำลังจะหายไป หรือเปลี่ยนแปลงอย่างไรบ้าง เราควรจะดูแลอย่างไรให้มีความยั่งยืนสำหรับคนรุ่นหลังด้วย และเมื่อมาที่นี่ได้เห็นว่า ทำไมคนเมืองจึงมีปัญหาเรื่องการจัดการน้ำมากกว่าคนต่างจังหวัด ซึ่งเราได้เห็นว่าชีวิตที่เร่งรีบวุ่นวายของคนเมืองทำให้ไม่มีระเบียบในการจัดการตามวิถีธรรมชาติ”

จักรภัทรกล่าวต่อเนื่องว่า สิ่งที่จะนำไปใช้ในงาน จะเป็นเรื่องสภาพพื้นดิน สภาพภูมิอากาศ ซึ่งมีผลต่อการออกแบบ และกิจกรรมสะท้อนออกแบบฟังก์ชั่นของงานด้วย ความต้องการพื้นที่สิ่งที่ได้จากประสบการณ์ครั้งนี้ สะท้อนกลับไปใ้นงานสถาปัตยกรรมได้

ความสมบูรณ์ของป่าส่งผลต่อน้ำที่บริหารจัดการ ส่งผลปลายทาง การทำประมงวิถีชิวิต และสม หลวงมะโนชัย ผู้คิดค้นแตปากฉลามในการจัดการน้ำในชุมชนที่จะมีทางน้ำผ่านทุกหน้่าบ้าน

อเล็กซ์ เรนเดลล์ TCP Spirit Brand Ambassador และทูตสันถวไมตรี โครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ คนแรกของประเทศไทย ซึ่งได้ร่วมเคียงข้างอาสาสมัคร TCP Spirit เป็นปีที่ 3 ซึ่งเป็นผู้ดูแลกิจกรรมกล่าวว่า

“อยากให้เยาวชนได้เห็นภาพใหญ่ของน้ำ ตั้งแต่ต้นทางไปถึงปลายทาง น้ำคือชีวิตของคนจริงๆ ไม่มีน้ำอยู่ไม่ได้ ในประเทศไทยน้ำมากไม่มีปัญหาเรื่องน้ำเลยเมื่อเทียบกับหลายประเทศที่ขาดน้ำ แม้ว่าน้ำเราจะมากก็มีปัญหาโดยเฉพาะคนเมืองไม่เข้าใจเรื่องการจัดการบริหารน้ำ เราจึง พยายามสื่อสารผ่านการพูด และดีไซน์กิจกรรมผ่านอาสาสมัคร เพื่อให้คนที่ไม่ไ้ด้ยู่ตรงนี้มาศึกษาโมเดลและเข้าใจความสัมพันธ์การจัดการน้ำ ส่งผลกระทบต่อชีวิตคนมากน้อยเพียงใด และอยากให้อาสาสมัครมีความเข้าใจในทางที่ถูกต้อง ที่นี่เป็นพื้นที่ที่จะเล่ากิจกรรมนี้ออกไป”

TCP Spirit ทั้ง 60 คน รวมถึงผู้บริหารและวิทยากร

สราวุฒิกล่าวในท้ายที่สุดว่า น้ำเป็นสิ่งสำคัญมาก การเชื่อมต่อน้ำแต่ละพื้นที่ที่ TCP จะมีโอกาสช่วยทำงาน ก็อยากทำจำนวนมาก เพราะปัญหาเรื่องน้ำเป็นปัญหาระดับชาติ และรุนแรงขึ้นทุกปี แต่อย่างไรก็ตามประเทศเราโชคดีที่มีน้ำ มีฝนตก แต่เราบริหารจัดการไม่ได้น้ำก็ไหลทิ้งไปลงทะเล

“เราเป็นองค์กรธุรกิจที่ทำธุรกิจเกี่ยวกับเครื่องดื่ม ได้มาร่วมมือกับผู้เชี่ยวชาญบริหารจัดการน้ำ สิ่งที่เราคุยกันคือจะทำที่ไหนได้อีก ทั้งนี้เราต้องดูพื้นฐานของแต่ลชุมชนที่อยากจะทด้วยำ เพราะบังคับไม่ได้ ที่ผ่านมาเราทำลุ่มน้ำมูล ลุ่มน้ำยม และลุ่มน้ำบางปะกง และเราจะขยายพื้นที่เพิ่มต่อไป”

วิถียามเช้าของคนเมืองริมกว๊านพะเยา ซึ่งมีผลมาจากการบริหารจัดการป่า และน้ำบนดอยหลวง

 

You Might Also Like