5 เมษายน 2564…การจัดการความยั่งยืนและ ESG ไม่ได้เป็นเพียงเรื่องของการปฏิบัติตามกฎระเบียบเท่านั้น ยังเป็นสิ่งจําเป็นเพื่อการอยู่รอดของผู้ประกันตนด้วย ซึ่งเรื่องดังกล่าว เป็นประเด็นจากการสัมมนาผ่านเว็บครั้งล่าสุดที่จัดขึ้นโดยบริษัทที่ปรึกษาทางกฎหมาย DLA Piper
ในอุตสาหกรรมประกันภัย และมุมมองที่กว้างขึ้นกว่าเดิมของชุมชนการเงินและธุรกิจ แนวคิดของความยั่งยืนกําลังเข้ามามีส่วนเกี่ยวข้อง ตอนนี้ผู้ประกันตนกําลังมองหาไม่เพียงแต่จากมุมมองของปัญหาสิ่งแวดล้อม สังคมและบรรษัทภิบาล (ESG) ซึ่งส่งผลกระทบต่อการประกันภัยและพอร์ตการลงทุนเท่านั้น แต่ยังแสดงให้เห็นถึงวิธีการที่พอร์ตการประกันภัยและการลงทุนส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสังคมด้วย
ประเด็นข้างต้น เป็นสิ่งที่ Butch Bacani ผู้นําของ UN Environment Programme’s Principles for Sustainable Insurance Initiative กล่าวในการสัมมนาผ่านเว็บ ในงานเปิดตัวรายงานใหม่ของ DLA Piper ซึ่งกล่าวถึงการจัดการกับปัญหาความยั่งยืนและ ESG ในภาคการประกันภัย
รายงานฉบับนี้มีชื่อว่า Addressing the Sustainability Imperative ได้สรุปความคิดริเริ่มและกรอบการทํางานที่สําคัญระดับโลก โดยให้ผู้มีอํานาจตัดสินใจ ที่ปรึกษาภายในองค์กร เจ้าหน้าที่ด้านความยั่งยืน สามารถจัดการกับปัญหาความยั่งยืนในภาคธุรกิจประกันภัย พร้อมภาพรวมของการพัฒนาในปัจจุบัน และการสนับสนุนในการพัฒนากลยุทธ์ด้านความยั่งยืน
การหารือเกี่ยวกับความสําคัญของกลยุทธ์ดังกล่าว Bucani เน้นว่าการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศอาจส่งผลกระทบต่อการเข้าถึงการประกันที่เหมาะสม แต่ยังนําเสนอโอกาสสําหรับผู้ประกันตนในการลงทุนในบริษัท และเทคโนโลยีที่จะช่วยแก้ไขปัญหาและผู้ประกันตนที่ทําเช่นนั้นจะได้เปรียบ
“มีความเป็นไปได้ที่หากคุณลงทุนจำนวนมากมากในสินทรัพย์คาร์บอนสูง สินทรัพย์เหล่านั้นอาจติดอยู่และเสียมูลค่าเมื่อเราเปลี่ยนไปใช้แนวทาง net zero”
เมื่อถามถึงว่า ปัญหาที่เกี่ยวข้องกับความยั่งยืนและ ESG ได้รับการพิจารณาในห้องประชุมคณะกรรมการบริษัทปัจจุบันอย่างไร Graham Handy กรรมการผู้จัดการของ FTI Consulting, Global Insurance Services ระบุว่า ช่วงการระบาดใหญ่ของ coronavirus ได้นําไปสู่ปัญหามากมายที่ต้องมีการจัดลําดับความสําคัญใหม่ โดยขณะนี้เรื่องความยั่งยืนและ ESG ยังคงประเด็นที่ได้รับความสนใจอย่างสูงในวาระการประชุมของคณะกรรมการประกันภัย ในความเป็นจริง ประสบการณ์เกี่ยวกับ COVID-19 เน้นเรื่องการหยุดชะงักที่อาจเกิดขึ้นกับชีวิต และการดํารงชีวิตที่อาจนําไปสู่การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
“เราไม่ต้องการอยู่ผิดด้านของประวัติศาสตร์ เมื่อพูดถึงการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและปัญหา ESG ที่มีขอบเขตกว้างกว่าที่เคยเป็น” Handy ให้ความเห็น
ประเด็นความยากลําบากในการปฏิบัติตามมาตรฐาน ESG ที่เกิดขึ้นใหม่ และกรอบที่แตกต่างกัน Tim Grafton ประธานบริหารของสภาประกันภัยแห่งนิวซีแลนด์และสมาชิกบริหารของสหพันธ์สมาคมประกันภัยโลกกล่าวว่า
“มันเป็นไปไม่ได้ที่จะเห็นไม้จากต้นไม้ แต่ผมคิดว่ามีเส้นทางผ่านส่วนที่เป็นราก มันเป็นเรื่องจริงที่ว่ามีกรอบความยั่งยืนที่แตกต่างกันมากมาย แต่โดยทั่วไปมีเป้าหมายเดียวกัน”
Grafton เสริมว่าหากพิจารณาผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศสิ่งนี้ให้ข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับปัญหาที่เชื่อมโยงถึงกันมากมายซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของป่า เช่น สภาพแวดล้อม ความหลากหลายทางชีวภาพ สุขภาพของมนุษย์ เศรษฐกิจ ปัญหาสังคม การจ้างงาน ความมั่งคั่ง และความเหลื่อมล้ำ
Grafton ยังมีส่วนร่วมในการพัฒนาแผนงานการเงินที่ยั่งยืนสําหรับนิวซีแลนด์ ซึ่งเป็นโครงการที่นําโดย The Aotearoa Circle เป็นความร่วมมือของผู้นําภาครัฐและเอกชนที่อุทิศตนเพื่อแสวงหาความเจริญรุ่งเรืองอย่างยั่งยืน และฟื้นฟูการลดลงของทรัพยากรธรรมชาติของนิวซีแลนด์ คณะทํางานวางแผนงานได้ตรวจสอบว่าปัจจัยทางสังคมและสิ่งแวดล้อมสามารถบรรจุเข้าสู่การพิจารณาเช่นเดียวกับเงินทุนได้หรือไม่ ซึ่งเป็นวิธีการส่งเสริมการเติบโตทางเศรษฐกิจและความมั่นคงในระยะยาวของระบบการเงิน
สิ่งนี้นําไปสู่คำแนะนํามากมายที่ครอบคลุมพื้นที่ต่างๆ เช่น การเพิ่มขีดความสามารถด้านการเงินที่ยั่งยืนผ่านการศึกษา การฝึกอบรม การปรับปรุง การกํากับดูแล และความรับผิดชอบเพื่อความยั่งยืน การปรับปรุงคุณภาพของ Data Information การรายงาน และการเปิดเผยข้อมูล
“หลังการสร้าง Roadmap ซึ่งเปิดตัวเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว เราอยู่ที่ ปลายทางของจุดเริ่มต้น” Grafton กล่าว “งานที่ใหญ่กว่าข้างหน้า คือ ทำให้ความยั่งยืนเกิดขึ้นจริง และความคิดริเริ่มหนึ่งเพื่อจะทำให้บรรลุได้ คือ การจัดตั้งศูนย์การเงินที่ยั่งยืนเพื่อดูแลและประสานงานการดําเนินงานที่จะเกิดขึ้น”
ความสําเร็จของนิวซีแลนด์เป็นสิ่งที่เห็นได้ชัดอยู่แล้ว แต่สิ่งหนึ่งที่แน่นอน คือ เรื่องใดจะสําเร็จได้ต้องมีผู้นํา และจากประสบการณ์ทางการเมืองของผม มันมักจะง่ายขึ้น สําหรับรัฐบาลที่จะขับเคลื่อนหากภาคเอกชนก้าวขึ้นมาเป็นผู้นํา
“มีเรื่องหนึ่งที่ต้องจําไว้ก็คือ แต่ละรัฐบาลมีเวลาทำงาน 3 ,4 หรือ 5 ปีขึ้นอยู่กับประเทศที่คุณอาศัยอยู่ แต่สถาบันการเงินต้องมีมุมมองที่ยาวกว่ามาก เมื่อมองเรื่องความยั่งยืน”
บทบาทของทนายความ
สําหรับบทบาทของทนายความบนเส้นทางเพื่อความยั่งยืน, Natasha Luther-Jones , หุ้นส่วน, สำหรับงานด้านความยั่งยืนและ ESG ของ DLA Piper, กล่าวว่า ทนายความอยู่ในสถานะที่ดีที่จะช่วยวิเคราะห์ ตีความ รายงาน การเปิดเผยเกี่ยวกับมาตรฐานและกรอบ, และให้คําแนะนําเกี่ยวกับปัญหาความยั่งยืนที่เกี่ยวข้องกับการทําธุรกรรม
ตัวอย่างในภาคพลังงานทดแทน DLA Piper ได้พัฒนาเครื่องมือที่ขับเคลื่อนด้วยข้อมูลสําหรับ ESG ที่เกี่ยวข้องกับการลงทุนในบริษัทด้านพลังงานทดแทน ในมุมที่กว้างขึ้น เรื่องดังกล่าว ยังคงต้องใช้ทนายความ เพื่อลงลึกในรายละเอียดการทําธุรกรรมด้านความยั่งยืน
“ทนายความส่วนใหญ่คุ้นเคยกับการทํางานร่วมกับฟังค์ชั่นทางธุรกิจที่แตกต่างหลากหลาย เพื่อให้สามารถทํางานอย่างใกล้ชิดกับทนายความ in-house เครื่องมือนี้ช่วยระบุความต้องการที่แตกต่างกันภายในธุรกิจโดยมีโซลูชั่นช่วย”
Handy เพิ่มเติมว่า เพื่อจัดการกับความยั่งยืนอย่างสมบูรณ์แบบ ผู้ประกันตนจําเป็นต้องพิจารณาผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทั้งหมดด้วย
“โดยทั่วไป ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (stakeholder) ที่เข้ามาเป็นคณะกรรมการมักเป็นผู้ถือหุ้นมาก่อน ขณะที่ตอนนี้มันชัดเจนแล้วว่า ผู้มีส่วนได้เสีย เป็นการรวมกันของผู้ถือหุ้น หน่วยงานกํากับดูแล ลูกค้า ผู้จัดจําหน่าย ซัพพลายเออร์ รวมถึงสื่อด้วย”
มองไปยังอนาคต Luther-Jones เตือนว่า หากธุรกิจนั่งอยู่เฉยๆ รอให้รัฐบาลและหน่วยงานกํากับดูแลเปลี่ยนกฎหมาย พวกเขาจะพลาดความเร่งด่วนในการจัดการกับความเสี่ยงด้าน ESG และจะพลาดจากประโยชน์ของการบูรณาการ ESG และเป็นธุรกิจที่ยั่งยืน
“ไม่คิดว่าอีก 10 ปีข้างหน้า เราต้องพูดถึงว่าธุรกิจจะยั่งยืนหรือไม่อีกต่อไปแล้ว ถ้ายั่งยืน มันก็จะมีอยู่ใน 10 ปีข้างหน้า ถ้าไม่ยั่งยืน มันจะล้มหายตายจากไป”
ที่มา