NEXT GEN

ฟังเสียงคน Gen Z ที่จะอยู่บนโลกใบนี้ต่อไปอีก 40 ปี ข้างหน้า

21 เมษายน 2564…คน Gen Z โตมากับ Climate Change ตอนนี้เริ่มมีผลต่อการเลือกอาชีพของพวกเขา เสียงของพวกเขาถูกนำเสนอผ่าน College Voices 2020 ของ CNBC เป็นซีรีส์ที่เขียนโดยนักศึกษาฝึกงานที่ CNBC เป็นเสียงคน Gen Z จากมหาวิทยาลัยทั่วสหรัฐอเมริกา โดย Amanda Mier เป็นรุ่นพี่ที่มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนียเบิร์กลีย์ วิชาเอกภาษาอังกฤษ ซีรีส์เรื่องนี้ Edit โดย Cindy Perman

Gen Z เติบโตมากับภาวะการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate Change) เป็นปัจจัยที่รู้จักกันในชีวิต เป็นปัจจัยหนึ่งที่จะกระตุ้นความรู้สึกในทุกวัน เมื่อมีไฟป่าทางตะวันตก และพายุเฮอริเคนทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ ความคิดที่ว่าเรื่องนี้เกี่ยวข้องกับชีวิตจะเริ่มดังขึ้นและมีผลกระทบต่อการเลือกอาชีพของพวกเขา

A firefighter battles the Blue Ridge Fire burning in Yorba Linda, California, U.S., October 26, 2020.
Ringo Chiu | Reuters

แม้กระทั่งก่อนการระบาดใหญ่และไฟป่าที่รุนแรงในปี 2020 คนหนุ่มสาว 4 ใน 10 คนระบุว่า ภาวะการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เป็นหนึ่งในปัญหาสําคัญที่สุดที่โลกกําลังเผชิญอยู่ Gen Z เป็นกลุ่มคนที่มีบทบาทสำคัญ เพราะสําหรับหลาย ๆ คนพวกเขาไม่สามารถเรียกคืนเวลาที่ภาวะการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ไม่ใช่หัวข้อที่ต้องพูดถึงอีกต่อไปแล้ว

Fionnuala Fisk ซึ่งจบการศึกษาจากมหาวิทยาลัย George Mason ในปี 2019 จําได้ว่าเริ่มได้เห็นคำว่า “หยุดภาวะโลกร้อน”ตอนอายุ 6 ขวบ (มีลายเซ็นแม่ของเธออยู่) “ทำให้เป็นเรื่องงที่ดิฉันตระหนักมาตลอด”

Fionnuala Fisk
Source: Vijay Iyer

แม้คําว่า “ภาวะโลกร้อน” อาจถูกสร้างและกลายเป็นคำปกติในพจนานุกรมของครัวเรือนไปแล้ว แต่ความรู้สึกว่าเป็นความเร่งด่วนที่ต้องรีบแก้ไข สําหรับหลาย ๆ คนยังเป็นเรื่องใหม่

“ดิฉันเข้าใจดี แต่มันไม่ได้ถูกพูดถึงอย่างที่ควรจะเป็น บางเรื่องดิฉันได้รับผลกระทบเป็นการส่วนตัว และสามารถเปลี่ยนแปลงได้” Emma Bilski ผู้สําเร็จการศึกษาปี 2020 จากมหาวิทยาลัยเวอร์จิเนียคอมมอนเวลต์ (VCU) อธิบาย ตอนนี้เธอพยายามคุยเรื่องนี้อย่างแข็งขันในการพูดคุยกับเพื่อน ๆ และครอบครัว: “เราจําเป็นต้องให้เรื่องนี้ขับเคลื่อนไปไกลกว่าที่เป็นอยู่ เพราะเห็นได้ชัดว่า มันจะส่งผลกระทบต่อเราและคนรุ่นหลัง”

สําหรับ Emma Bilski แม้ว่าโดยส่วนตัวแล้วเธอจะทําทุกวิถีทางเพื่อลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ แต่บ่อยครั้ง เธอก็รู้สึกว่าโอกาสสำเร็จน้อยเหลือเกิน

Emma Bilski
Source: Emma Bilski

“ดิฉันคุยกับแฟนบ่อย ๆ ว่า เราควรมีลูกหรือเปล่า เราอยากให้ลูกเกิดมาในโลกที่ย่ำแย่อย่างตอนนี้จริง ๆ น่ะหรือ ดิฉันไม่แน่ใจว่าคำตอบ คือ อยาก แต่อีกด้านหนึ่ง ดิฉันก็อยากมีครอบครัว และตอนนี้ ก็ยังไม่รู้ว่าได้คําตอบที่น่าพอใจแล้วจริงหรือเปล่า”

Bilski กล่าวต่อเนื่อง ไม่รู้ว่าภาวะโลกร้อน เปลี่ยนเป้าหมายของตัวเองหรือไม่ แต่แน่นอนว่ามันทําให้ต้องคิดถึงสิ่งที่จะเกิดขึ้นในอนาคตมากขึ้นว่า ภาพที่เราคิดเป็นอย่างไร และบางครั้งเธอก็คิดว่า มีความแตกต่างอย่างสิ้นเชิงจากรุ่นสู่รุ่น

“ดิฉันคิดว่า คนรุ่นแม่รู้ว่าอนาคตของเธอจะเป็นอย่างไร แต่ดิฉันกลับไม่รู้สึกแบบนั้นเลย”

นักศึกษามหาวิทยาลัยที่เคยต่อสู้กับไฟป่า

Joe Lerdal
Source: Joe Lerdal

Joe Lerdal เป็นชาวซานฟรานซิสโกโดยกำเนิด เป็นรุ่นพี่ที่มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนียเบิร์กลีย์ เขาอยู่ในฤดูกาลที่สองของเขาทํางานให้กับกรมป่าไม้แห่งชาติ เป็นนักดับเพลิงป่า เป็นปีที่ 2 เขาโตมาในครอบครัว และพื้นที่ที่คุ้นเคยกับเรื่องภาวะการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเป็นอย่างดี และด้วยความหลงใหลในธรรมชาติ เขาอยากสร้างความแตกต่างในแบบที่ทําได้โดยเฉพาะกับการบริหารจัดการบ้านของตัวเอง

สําหรับ Lerdal การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศส่งผลกระทบโดยตรงต่ออาชีพของเขา

“ปีที่แล้ว งานครั้งแรกของผมในฐานะนักดับเพลิง ผมถูกส่งไปที่อลาสก้า ที่นั่นเพลิงไหม้อย่างน่ากลัว และคุณสามารถตระหนักได้ว่า ส่วนหนึ่ง มันเกิดข้นเพราะสภาพอากาศที่ผิดปกติ ซึ่งความจริงของเรื่องนี้ คือ เมื่อเกิดไฟป่า ในช่วงเดือนกรกฎาคม ทั้ง ๆ ที่ไม่น่าจะเกิดขึ้น นั่นจึงเป็นเรื่องที่น่าตกใจมาก”

Lerdal ซึ่งกำลังเรียนวิชาเอกประวัติศาสตร์ที่ Berkeley กำลังทํางานพาร์ทไทม์ ที่หน่วยงานจัดการที่ดินของรัฐบาลกลางจ้าง เขาทํางานตลอดช่วงฤดูร้อนและฤดูใบไม้ร่วง ซึ่งเป็นช่วงที่มีไฟป่ามากที่สุด ก่อนที่จะเข้าเรียนอีกครั้งฤดูใบไม้ผลิเท่านั้น เขาวางแผนที่จะทํางานนี้ต่อไปหลังจบการศึกษาอีกพักหนึ่ง

ปัญหาหนึ่งที่เขาบ่งชี้ออกมา คือ ระยะทาง เป็นจุดที่ทำให้ไม่มีใครตระหนักถึงงานในป่าและการใช้ชีวิตในเมือง

“โดยส่วนตัวผมเชื่อว่าหนึ่งในสาเหตุสําคัญของการละเลยสิ่งแวดล้อมในสังคมของเรา คือ คนส่วนใหญ่อยู่ไกลจากความผูกพันอย่างจริงจังกับธรรมชาติ”

โอกาสทํางานเกี่ยวกับภาวะการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

คนหนุ่มสาวจํานวนมากกำลังคิดว่า ต้องตัดสินใจแล้ว ว่าจะเน้นเอารายได้ก่อน หรือสร้างความแตกต่างให้แก่โลก

ดร. Renee McPherson ศาสตราจารย์ด้านภูมิศาสตร์และความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยโอคลาโฮมา ยอมรับว่า มนุษย์มีบทบาทมากขึ้นแน่นอนในการตัดสินใจว่า ภาวะแจะเป็นอันตรายต่อเศรษฐกิจหรือไม่

“การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ อาจทําร้ายหรือช่วยเศรษฐกิจ ขึ้นอยู่กับว่าเราตอบสนองร่วมกันอย่างไร” McPherson ตอบคำถามของ CNBC มาทางอีเมล์

“กรณีก่อนหน้านี้เราสามารถเพิกเฉยต่อภาวะการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และไม่สนใจต่อไป ในกรณีหลังเราสามารถใช้โอกาสนี้เพื่อสร้างเศรษฐกิจและสังคมในอนาคตที่เราต้องการ นั่นเป็นการทำด้วยความเคารพที่มีต่อคนอื่น และมองไปข้างหน้า”

McPherson เพิ่มเติมว่า วิกฤตสภาพอากาศอาจนําไปสู่การสร้างงานที่สําคัญ   ความคิดซึ่งเป็นแกนหลักของข้อตกลงใหม่เกี่ยวกับโลกสีเขียวที่เสนอโดยนักการเมืองและนักเคลื่อนไหวหัวก้าวหน้า

“การใช้ความท้าทายของภาวะการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ กระตุ้นให้เกิดการสร้างงานใหม่ๆ ไม่ว่าจะเป็นตำแหน่งงานของ Blue Collar และ White Collar ล้วนสามารถลดคาร์บอนในระบบเศรษฐกิจ ตามมาด้วยการปรับโครงสร้างพื้นฐานของประเทศ และเพิ่มความอดทนต่อปัญหาของชุมชน”

นอกจากนี้ McPherson ยังสนับสนุนให้นักเรียน ได้เรียนรู้เกี่ยวกับภาวะการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ให้มากที่สุดแม้จะไม่ใช่ความเชี่ยวชาญของพวกเขา

“สําหรับนักเรียนที่สนใจในการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ มีโอกาสมากมายในด้านวิทยาศาสตร์กายภาพและสังคมสาธารณสุขการจัดการธุรกิจการเงินวิศวกรรมและสาขาอื่น ๆ” McPherson กล่าว

ท้ายที่สุด การทําความเข้าใจว่าภาวะการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เป็นโอกาสสําหรับนวัตกรรมใหม่ ซึ่งจะเป็นความรู้สําคัญ อีกทั้งมีความมั่นคงทางการเงินสำหรับหนุ่มสาว ในช่วงไม่กี่ทศวรรษข้างหน้าที่คน Gen Z จะต้องอยู่บนโลกใบนี้ต่ออีก 40-50 ปี

ที่มา

You Might Also Like

No Comments

Leave a Reply