NEXT GEN

“คิด” ก่อนเมนต์ “คิด” ก่อนแชร์ “หยุด” รังแก บนโลกออนไลน์  ความรับผิดชอบต่อสังคมยุคใหม่ จากเอไอเอส อุ่นใจCyber

18 มิถุนายน 2564…ไม่หล่อ ไม่สวย อ้วน เตี้ย ดำ ปลอม กลายเป็นคำที่ใช้รังแกบุคคลบนโลกออนไลน์ได้อย่างน่ากลัว ถึงขนาดที่หลายคนมีปมด้อยในใจ หรือกลายเป็นคนเก็บตัวไม่กล้าออกมาสู่สังคม บางรายคิดฆ่าตัวตาย

ทุกวันศุกร์ที่สามของเดือนมิถุนายน คือวัน Stop Cyberbullying ส่งเสริมและให้อำนาจแก่ผู้คนนับล้านทั่วโลกในการแสดงความมุ่งมั่นในการหยุดยั้งการรังแกบนโลกออนไลน์

เอไอเอส ยังคงเดินหน้าตอกย้ำความรับผิดชอบต่อสังคมในแกนของผลกระทบที่เกิดจากการใช้งานเครือข่ายมือถือ ผ่าน เอไอเอส อุ่นใจCyber โดยครั้งนี้ได้จัดทำแคมเปญในวัน Stop Cyberbullying ผ่านแนวคิด “คิด” ก่อนเมนต์ “คิด” ก่อนแชร์ “หยุด” รังแก บนโลกออนไลน์”

อย่างที่เรารู้กันดีว่าภูมิต้านทานต่อการถูกรังแกบนโลกออนไลน์ของแต่ละคนแตกต่างกันมาก หลายคนอาจจะไม่มีภูมิต้านทานที่แข็งแรงแบบ เขื่อน-ภัทรดนัย เสตสุวรรณ หรือ เขื่อน K-OTIC นักจิตวิทยาบำบัด ที่พบการถูกรังแกบนโลกออนไลน์ ทั้งถูกเมนต์ ถูกแชร์ ด้วยทุกคำตั้งแต่อายุ 13 ปี

“จริง ๆ Cyber Bully กับเขื่อนนี้มาคู่กันเลย ตอนอายุ13-15 ก็โดนว่าโกหก ปลอม แอ๊บแมน อุบาทว์ ทุเรศ วันหนึ่งที่เราเปิดตัวก็จะเป็น ผิดปกติ ผิดเพศ เป็นคำที่เราเห็นแล้วมันเจ็บบนผิว เป็นรอยช้ำ จนถึงเจ็บข้างใน เหมือนถูกแยกอย่างโดดเดี่ยว รู้สึกไม่ปลอดภัย การถูก Cyber Bully ไม่เห็นแผลข้างนอก ถ้าเขื่อนยังมีมีแผลจากเมื่อ 15 ปีที่แล้ววันนี้แผลเขื่อนจะช้ำขนาดไหน Cyber Bully มีหลายรูปแบบ มันโตไปกับเรา มันไม่ดีขึ้น แต่มันหนักขึ้นเรื่อยๆ ต้องมีการรณรงค์ให้ยุติอย่างต่อเนื่อง”

ประสบการณ์ตรงของเขื่อนกับ Cyber Bully

ผศ.ดร. วิมลทิพย์ มุสิกพันธ์ จากสถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว มหาวิทยาลัยมหิดล อธิบายว่า เกณฑ์ของการกลั่นแกล้งก็คือ คนที่เราจะแกล้งจะได้รับความเจ็บปวด เมื่อเรามีความตั้งใจเช่นนั้น เราก็จะออกแบบการรังแกเขา ทำอย่างไรให้เขาเจ็บ จะด่าอย่างไรให้เจ็บปวด ยิ่งเมื่อมีแพลตฟอร์มออนไลน์ ยิ่งทำให้ง่ายขึ้น โดยไม่ต้องเห็นตัวตน

“ลักษณะของ Cyber Bully ในสังคมไทย ส่วนใหญ่เป็นการใช้คำพูด พูดถึงรูปร่าง ดัดแปลง เปลี่ยนแปลง ทำให้เจ็บปวดได้หลายเวอร์ชั่นมาก จากรูปร่างก็จะมาเรื่องนิสัย ฐานะจนรวย บ้านมี บ้านไม่มี ที่เราเห็นจะวน ๆ อยู่แถวนี้”

ทั้งนี้ มีตัวเลข 3 ตัวที่น่าสนใจ ถือเป็นผลกระทบทางสังคมที่มีความหมายมากคือ

59% ของประชากรโลกตอนนี้ใช้อินเทอร์เน็ต
51% ของประชากรโลกเป็นผู้ใช้โซเชียลมีเดีย
60% ของของผู้ใช้อินเทอร์เน็ตเคยเห็นหรือตกเป็นเป้าของการกลั่นแกล้ง หรือการล่วงละเมิด

เราต้องดำเนินการตอนนี้เพื่อให้แน่ใจว่า ทุกคนมีโอกาสเท่าเทียมกันในการเปิดรับเทคโนโลยี สามารถเรียนรู้ สื่อสาร และแสดงออกอย่างมั่นใจอย่างมีความรับผิดชอบต่อสังคม

ผศ.ดร. วิมลทิพย์ ขยายความต่อเนื่องถึงเกณฑ์ของการกลั่นแกล้ง

ผศ.ดร. วิมลทิพย์ ขยายความเพิ่มเติมถึง สังคม วัฒนธรรมที่ไม่ได้สอนเรื่องความเห็นอกเห็นใจ เป็นสิ่งหนึ่งที่ทำให้เกิด Cyber Bully ในสังคมไทย อย่างง่ายดาย ถ้าเมื่อใดก็ตามเราเห็นใจซึ่งกันและกันมากพอ จะเกิดการกลั่นกรองในตัวเราเองว่า สิ่งนี้เราควรทำหรือไม่

เขื่อน ย้ำว่า ต้องกลับมาที่เรื่องเราต้องมีสติมาก ๆ ถามตัวเองก่อน เราแชร์และคอมเมนต์นี้เพื่ออะไร ถ้าจะทำเพื่อฆ่าใคร หรือเพื่อความสนุก เบรกก่อน จำเป็นหรือไม่ หากจะแชร์ข่าว แชร์ทุกข์ของคนอื่น ต้องดึงตัวเรากลับมาก่อนว่าทำเพื่ออะไร ทำเพื่อสนุกเหรอ แชร์แล้วได้อะไร เราต้องคิดมากขึ้น มีสติ ไม่สร้างบาดแผลให้คนอื่น มีความรับผิดชอบต่อสังคม

ท้ายที่สุด คาดหวังการสร้างความเห็นใจซึ่งกันและกันที่พ่อแม่ผู้ปกครองยุคปัจจุบัน จะปูพื้นฐานให้ลูกหลานซึ่งเป็น Native Digital ไว้ตั้งแต่เยาว์วัย จะช่วยเป็นภูมิคุ้มกันให้”คิด” ก่อนเมนต์ “คิด” ก่อนแชร์ “หยุด” รังแก บนโลกออนไลน์

นี่คืออีกหนึ่งเรื่องราวที่เกิดขึ้นในวันสำคัญนี้ หลายคนอาจจะมองว่าเป็นเรื่องเล็กๆ แค่การหยอกล้อกันเล่น แต่บางครั้งเรื่องเล็กๆ เหล่านั้นกลายเป็นปมที่ติดตัวไปตลอดกาลจนอาจนำมาซึ่งความรุนแรงที่เราก็ไม่ทันตั้งตัว การแก้ปัญหานี้อย่างยั่งยืนคือการสร้างความเข้าใจและหยุดพฤติกรรมกลั่นแกล้งบนโลกออนไลน์ทุกรูปแบบ

แน่นอนว่าต้องเริ่มจากตัวเรา…

ติดตามเพจ AIS Sustainability พบข้อมูลในการจัดการ การถูกBully รวมถึงภัยไซเบอร์อื่นๆ

 

You Might Also Like