10-11 กรกฎาคม 2564…ถ้ามีโอกาสได้คุยกับนิสิตนักศึกษาในหัวข้อ Sustainability ขณะนี้ เขาจะกล่าวต่อถึงคำว่า SDGs หรือ Sustainable Development Goals อย่างเข้าใจ และรู้ว่าสิ่งที่ตัวเองเรียนอยู่ตรงกับเป้าหมายใดของ 1 ใน 17 เป้าหมาย และผู้เรียนเองก็มีเป้าหมายทางสังคมในเรื่องดังกล่าว
การพูดคุยในประเด็น Sustainability กับนิสิตคุรุศาสตร์ มหาวิทยาลัยชื่อดังแห่งหนึ่ง ได้ทราบว่า คณะนี้มีความเข้าใจเรื่องของ SDGs เพราะคณะมีวิชาเรียนรวมทั้งการทำงานกิจกรรมอาสาให้สังคมทุกปี โดยส่วนตัวของนิสิตคนดังกล่าวมีความสนใจเป้าหมายที่ 4 เรื่องการศึกษา งานจึงเป็นเป็นค่ายอบรม หรือเป็นจิตอาสาแนะแนวเด็ก ๆ เรียนต่อ
ในขณะที่ SD PERSPECTIVES เคยนำเสนอบทความงานวิจัยของประเทศญี่ปุ่น Tomomi Yamane ผู้เขียนบทความ และเป็นนักวิจัยขององค์กรเครือข่ายเพื่อการศึกษาและวิจัยเกี่ยวกับสันติภาพและความยั่งยืน (Network for Education and Research on Peace and Sustainability-NERPS) ที่มหาวิทยาลัยฮิโรชิมา กล่าวถึงผลวิจัยครั้งนี้ ทำให้ได้หลักฐานว่า คนรุ่นใหม่ต้องการวิถีชีวิตที่ยั่งยืนกว่าคนรุ่นเก่า และคนอายุน้อยกว่ายินดีสละรายได้ที่มากกว่า เพื่อให้ได้ทํางานกับบริษัทที่มุ่งมั่นเรื่อง SDGs
แม้จะเป็นเพียงตัวอย่างที่เล็กมาก แต่ช่วยทำให้ผู้ใหญ่ในยุคนี้ได้เห็น Mindset ของ Gen Z รวมถึงความเข้าใจต่อ SDGs ซึ่งทุกภาคส่วนไม่ว่าจะเป็นประเทศ รัฐ เอกชนจะต้องดำเนินการให้บรรลุเป้าหมายภายในปี 2573
ผศ.ดร.วีรณัฐ โรจนประภา วิศวกรออกแบบชีวิต, ผู้ก่อตั้งมูลนิธิบ้านอารีย์ และสมาคมบ้านปันรัก เห็นว่า SDGs สามารถจัดกลุ่มตามปัจจัยที่เชื่อมโยงกันใน 5 มิติ (5P) ได้แก่
“จากผลการศึกษาพบว่า นักศึกษาในวันนี้จำนวน 100 คน จะมีถึง 65 คน ที่ในอนาคตจะต้องประกอบอาชีพที่ยังไม่เคยมีในวันนี้ เพื่อแก้ปัญหาที่ยังไม่ปรากฏหรือเป็นปัญหาใหม่ที่อาจยังไม่ได้รับการแก้ไข นั่นหมายถึงหากใครสามารถเชื่อมโยงองค์ความรู้ ความสามารถ ทักษะของตนหรือขององค์กร ให้สามารถแก้ไขปัญหา SDGs ได้ก่อน เท่ากับกำลังทำอาชีพแห่งอนาคต ที่ไม่เคยมีใครทำมาก่อน”
ดร.วีรณัฐ กล่าว ในท้ายที่สุดว่า SDGs จะเป็นอีกหนึ่ง “อาชีพแห่งอนาคต” เป็น Mega Trend ที่จะเป็นโอกาสทองของคนที่มองเห็น เพราะ SDGs เป็นปัญหาระดับโลก ที่เราทุกคนซึ่งเป็นพลเมืองโลกต้องร่วมมือกันทำจึงจะประสบความสำเร็จ ที่ทุกคนสามารถเริ่มต้นได้จากตัวเราเอง