12 มิถุนายน 2564…ถ้ามีความกังวลว่า การระบาดใหญ่ของ COVID-19 จะทำให้ประชาชนทั่วโลกมองข้ามความเร่งด่วนของวิกฤตการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และความจำเป็นในการแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อมแล้วล่ะก็ ลดความกังวลดังกล่าวไปได้ เพราะผลสำรวจมากกว่า 3,000 คนใน 8 ประเทศของ BCG พบว่า หลังการระบาดใหญ่ ผู้คนกังวลมากขึ้นไม่น้อยเลยเกี่ยวกับการจัดการความท้าทายด้านสิ่งแวดล้อม รวมถึงมุ่งมั่นเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของตนเอง สู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน
การรับรู้ที่เพิ่มขึ้นนั้นน่าทึ่ง ผู้ตอบแบบสอบถามประมาณ 70% ตระหนักมากกว่าช่วงก่อน COVID-19 ว่า กิจกรรมใด ๆที่มนุษยชาติทำนั้น คุกคามสภาพอากาศ และความเสื่อมโทรมของสิ่งแวดล้อม ในทางกลับกันก็คุกคามมนุษย์ด้วย
ทั้งนี้ 3 ใน 4 ของผู้ตอบแบบสอบถาม กล่าวว่า ปัญหาสิ่งแวดล้อมสำคัญพอๆ กับหรือมากกว่าปัญหาสุขภาพ
ผลสำรวจยังพบว่า ผู้คนต้องการเห็นการแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อมที่จริงจังกว่าเดิม โดยมากกว่า 2 ใน 3 ของผู้ตอบแบบสอบถามคิดว่า แผนฟื้นฟูเศรษฐกิจควรให้ความสำคัญกับประเด็นสิ่งแวดล้อมเป็นอันดับแรก
วิกฤตกำลังผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลงระดับบุคคลเช่นกัน โดย 40% รายงานว่าพวกเขาตั้งใจปรับพฤติกรรมให้ความสำคัญกับความยั่งยืนมากขึ้นในอนาคต เรื่องอันดับต้นๆ ที่ผู้คนตั้งใจทำสม่ำเสมอมากขึ้น คือ ลดการใช้พลังงานในครัวเรือน เพิ่มการรีไซเคิล การทำปุ๋ยหมัก และการซื้อสินค้าที่ผลิตในท้องถิ่น
ความมุ่งมั่นต่อประเด็นความยั่งยืนที่เพิ่มขึ้น ส่งผลกระทบสำคัญทั้งต่อบริษัทและรัฐบาล โดยรวมแล้ว ผู้ตอบแบบสอบถามคิดว่ารัฐบาลและบริษัทต่าง ๆ ไม่ได้ให้ความสำคัญต่อวิกฤต COVID-19 ให้มีประสิทธิภาพเท่าๆ การแก้ปัญหาสุขภาพ การให้ความสำคัญกับ NGO และหน่วยงานด้านสุขภาพทั่วโลก
นอกจากนี้ 87% กล่าวว่าบริษัทต่างๆ ควรบูรณาการความใส่ใจเรื่องสิ่งแวดล้อม เข้ากับผลิตภัณฑ์ บริการ และการดำเนินงานของตนให้มากขึ้นกว่าที่เคยเป็นมา
ทั้งนี้ ความมุ่งมั่นสู่ความยั่งยืนนั้นชัดเจนยิ่งขึ้นในหมู่คนหนุ่มสาวที่เชื่อมั่นอย่างแรงกล้าว่า พฤติกรรมส่วนบุคคลสามารถสร้างความแตกต่างในการลงมือแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อมอย่างจริงจัง รวมถึงคาดหวังว่า การให้ความสำคัญด้านสิ่งแวดล้อมจะขึ้นมาอยู่แถวหน้า และเป็นศูนย์กลางในแผนฟื้นฟูเศรษฐกิจ
ที่มา