18-20 กุมภาพันธ์ 2565…ตลาดที่ปรึกษาด้านความยั่งยืนคาดว่าจะเติบโต 17% ต่อปีเป็น 16,000 ล้านดอลลาร์ภายในปี 2027 โดยการเปลี่ยนแปลงด้านกฎระเบียบ และแรงกดดันต่อบริษัทต่าง ๆ ให้ปรับโครงสร้างธุรกิจใหม่ ที่คำนึงถึงความยั่งยืน
รายงานล่าสุดของบริษัทวิจัย Verdantix ระบุว่า มูลค่าตลาดที่ปรึกษาด้านความยั่งยืนมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นมากกว่า 2 เท่าในช่วง 5 ปีข้างหน้า
ข้อมูลจากการศึกษาหัวเรื่อง ESG and Sustainability Consulting: Market Size and Forecast 2021-2027 ระบุว่า บรรดาบริษัทต่างๆ เสียเงินค่าที่ปรึกษาด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล (ESG) ด้านความยั่งยืนมีมูลค่าถึง 6,240 ล้านดอลลาร์ทั่วโลก ณ สิ้นปี 2021 และคาดว่าจะเติบโตเป็น 16,000 ล้านดอลลาร์ภายในปี 2027
การเปลี่ยนแปลงด้านกฎระเบียบที่กำหนดให้การรายงานความยั่งยืน และแรงกดดันจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสียให้รับทราบความเสี่ยงด้านสภาพอากาศและการลดคาร์บอน ช่วยเพิ่มบริษัทต้องใช้เงินจ้างบริษัทที่ปรึกษาด้านความยั่งยืนในทุกภูมิภาค และทุกเซ็คเตอร์ธุรกิจ
บริการให้คำปรึกษาด้าน ESG และความยั่งยืนคาดว่าจะเติบโต 17% ต่อปีระหว่างปี 2022 ถึง 2027 แต่บริการการรายงานและการเปิดเผยข้อมูลขององค์กรจะเพิ่มขึ้นมากที่สุด โดยมีอัตราการเติบโต 21% ต่อปี
ตลาดที่ปรึกษาจะเติบโตเร็วที่สุดในยุโรป ตะวันออกกลาง และแอฟริกา ขณะที่ตลาดเอเชียแปซิฟิก และอเมริกาเหนือจะเติบโตใกล้เคียงกับช่วงที่ผ่านมา
ที่ผ่านมา หน่วยงานกำกับดูแลและหน่วยงานบังคับใช้กฎหมายอื่นๆ ในยุโรปและสหรัฐอเมริกาทำงานจริงจังมากขึ้น นำไปสู่การตรวจสอบพันธสัญญาด้าน ESG อย่างละเอียด เช่น หน่วยงานกำกับดูแลของสหรัฐอเมริกาและเยอรมนีกำลังตรวจสอบการจัดการสินทรัพย์ของ Deutsche Bank AG ตามข้อกล่าวหาเมื่อปีที่แล้วว่า บริษัทพูดเกินจริงเกี่ยวกับข้อมูลผลิตภัณฑ์การลงทุนด้าน ESG บางรายการ เรื่องนี้ทำให้บริษัทอื่น ๆ ต้องหันกลับไปทบทวนคำแถลงต่อสาธารณะที่เกี่ยวข้องกับ ESG ของพวกเขา
ข้อมูลก่อนหน้านี้จาก Verdantix แสดงให้เห็นว่า ปีที่แล้ว การเข้าซื้อกิจการกิจการให้คำปรึกษาด้านความยั่งยืนเพิ่มขึ้น 3 เท่า เนื่องจากบริษัทต่าง ๆใช้งบประมาณด้านบริการ ESG และความต้องการความเชี่ยวชาญด้านความยั่งยืนเพิ่มขึ้น
Kim Knickle ผู้เขียนรายงานและผู้อำนวยการฝ่ายวิจัยของ Verdantix กล่าวว่า ที่ปรึกษาจะได้รับประโยชน์ ก็ต่อเมื่อบรรดาบริษัทมองหาความเชี่ยวชาญจากภายนอกเพื่อช่วยปรับโครงสร้างโมเดลธุรกิจของตนโดยเน้นเรื่องความยั่งยืน และปรับให้เข้ากับข้อกำหนดการรายงานที่เข้มงวดมากขึ้นหากมีกฎระเบียบเพิ่มขึ้น
ตลาดหลักทรัพย์สิงคโปร์ (SGX) กลายเป็นตลาดหลักทรัพย์แห่งแรกในเอเชียที่เสนอให้มีการเปิดเผยข้อมูลการแก้ปัญหาภาวะโลกรวน ให้สอดคล้องกับคณะทำงานเกี่ยวกับการเปิดเผยข้อมูลทางการเงินที่เกี่ยวข้องกับปัญหาดังกล่าวเมื่อเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา ตลาดหลักทรัพย์ส่วนใหญ่ในเอเชียแปซิฟิกกำหนดให้มีการรายงานความยั่งยืน แต่กฎเกณฑ์ต่าง ๆ คาดว่าจะกระชับกว่าเดิม เมื่อการตรวจสอบคุณภาพและประสิทธิผลของการรายงานเพิ่มขึ้น
ที่มา