30 มีนาคม 2565…วันสตรีสากลเป็นโอกาสที่จะเฉลิมฉลองบทบาทสำคัญที่สตรีมีต่อการแก้ปัญหาโลกรวน และสะท้อนความท้าทายที่ยังคงมีอยู่ เช่นที่ใกล้ตัวคนไทย กรมอุตุนิยมวิทยาแจ้งสภาพอากาศ 1-2 เมษายน ประเทศไทย ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จะมีอุณหภูมิลดลง 5-7 องศา จะเกิดพายุฤดูร้อน ส่วนกรุงเทพฯ อุณหภูมิลดลง 2-4 องศา !
ข้อเท็จจริงขณะนี้ ประชาคมระหว่างประเทศไม่สามารถบรรลุเป้าหมายหลักของข้อตกลงปารีสที่จะจำกัดอุณหภูมิเฉลี่ยของโลกที่เพิ่มขึ้นเป็น 1.5 องศาเซลเซียส เว้นแต่ว่ามนุษยชาติทั้งหมดจะหันมาสนใจกับการแก้ปัญหาภาวะโลกรวน และนั่นหมายความว่าเราต้องการผู้หญิงและเด็กผู้หญิงมากขึ้น เพื่อให้เกิดพลัง และการมีส่วนร่วมมากขึ้น
“เราไม่สามารถเพิกเฉยความคิดความเห็น ความรู้ มุมมอง และความเชี่ยวชาญ ที่มีอยู่ 50% ของประชากรได้ เราต้องให้ผู้หญิงมีส่วนร่วมในทุกระดับ จากทุกความหลากหลาย ตั้งแต่การเจรจาเรื่องสภาพอากาศ ไปจนถึงการคุยในห้องประชุมคณะกรรมการ ไปจนถึงป่าไม้และทุ่งนา โดยเฉพาะอย่างยิ่งในภาคส่วนและภูมิภาคที่ได้รับผลกระทบจากภาวะโลกรวนอย่างรุนแรง” Patricia Espinosa เลขาธิการบริหารของ UN Climate Change กล่าว
รายงานการประเมินล่าสุดเผยแพร่โดย Intergovernmental Panel on Climate Change เมื่อสัปดาห์ที่แล้วเตือนเราว่าขณะที่ภาวะโลกรวนส่งผลกระทบต่อทุกคน แต่ก็ไม่ใช่ต่อทุกคนเท่าเทียมกัน ความเปราะบางต่อปัญหาภาวะโลกรวนนั้นรุนแรงขึ้นจากความไม่เท่าเทียมที่เชื่อมโยงกับเรื่องเพศ ชาติพันธุ์ รายได้ต่ำ และปัจจัยทางสังคมและเศรษฐกิจอื่นๆ
“นี่เป็นความท้าทายและเป็นสิ่งที่เราต้องรีบจัดการโดยด่วน” เฟลอร์ นิวแมน Gender Team Lead ของ UN Climate Change กล่าว “นอกจากนี้ยังเป็นโอกาสที่จะแก้ไขหรือแก้ไขความไม่สมดุล ความอยุติธรรมและความไม่เท่าเทียมกัน”
ตัวอย่างผู้หญิงในหลายสังคมมีหน้าที่รับผิดชอบด้านพลังงาน อาหาร น้ำ การดูแลเด็กและผู้สูงอายุ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศกำลังพัฒนา ผลที่ตามมาของภาวะโลกรวนสามารถเพิ่มภาระให้กับผู้หญิงและเด็กผู้หญิง เช่น ทำให้พวกเธอต้องเดินทางไกลเพื่อไปรับเสบียงประจำวัน ทำให้มีเวลาทำงานน้อยลง และอาจเสี่ยงต่อความปลอดภัยส่วนบุคคลมากขึ้น
ในขณะเดียวกัน ผู้หญิงอาจมีโอกาสน้อยที่จะมีส่วนร่วมในกระบวนการตัดสินใจที่สำคัญทางการเมืองและการบริหารเพื่อตอบสนองต่อการแก้ปัญหาโลกรวน และในหลายพื้นที่ของโลก มีความสามารถในการกู้คืนจากภัยธรรมชาติได้น้อยกว่าเนื่องจากการเข้าถึงและสิทธิ์ในการถือครองที่ดิน และทรัพยากรทางการเงินมีจำกัด
แล้วเราจะทำงานร่วมกัน
เพื่อเอาชนะอุปสรรคเหล่านี้ได้อย่างไร?
ข่าวดีก็คือผู้หญิงและเด็กผู้หญิงมีพลังมากขึ้นในการช่วยเหลือผู้คน และได้รับประโยชน์จากการลงมือแก้ปัญหาสภาพอากาศที่ประเมินค่าไม่ได้
เราได้เห็นสิ่งนี้แล้วในกระบวนการแก้ปัญหาโลกรวนของสหประชาชาติ หลายประเทศได้แบ่งปันวิธีที่พวกเขาบูรณาการเรื่องเพศในภาคส่วนต่างๆ ที่มีลำดับความสำคัญต่างกัน ภายใต้แผนปฏิบัติการด้านสภาพอากาศแห่งชาติที่เรียกว่า Nationally Determined Contributions และ National Adaptation Plan
The Gender Action Plan เห็นพ้องต้องกันโดยรัฐบาลภายใต้กรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (UNFCCC) เรียกร้องให้สตรีมีส่วนร่วมอย่างเต็มที่ เท่าเทียมกัน และการร่วมมือกันอย่างมีความหมายในกระบวนการแก้ปัญหาสภาพอากาศระหว่างประเทศ และเพื่อให้มั่นใจว่าผู้หญิงจะมีบทบาทสำคัญต่อการตัดสินใจและการแก้ปัญหาสภาพอากาศ
การประชุมของรัฐบาลภายใต้ UNFCCC ได้กำหนดเป้าหมายของความสมดุลทางเพศในคณะผู้แทนระดับชาติและในนโยบายและการดำเนินการด้านสภาพอากาศแห่งชาติในปี 2555 ตั้งแต่นั้นมา สำนักเลขาธิการแก้ปัญหาโลกรวนของสหประชาชาติได้รายงานเป็นประจำทุกปีเกี่ยวกับองค์ประกอบทางเพศของคณะผู้แทนระดับชาติ หน่วยงานด้านนโยบายและการตัดสินใจภายใต้ UNFCCC และข้อตกลงปารีส รายงานระบุว่า รัฐบาลหลายๆประเทศมีวิธีบรรลุเป้าหมายความสมดุล แม้กระทั่งในระดับสากล
สิ่งที่จำเป็นในตอนนี้คือให้ประเทศต่างๆ ไตร่ตรองถึงวิธีที่พวกเขาต้องการบรรลุความเท่าเทียมทางเพศในนโยบายด้านสภาพอากาศในระดับท้องถิ่น ระดับชาติ ระดับนานาชาติ และบทบาทในการตัดสินใจ พิจารณาแนวทางปฏิบัติที่ดีที่สุดในภาคส่วน ประเทศ หรือธุรกิจอื่นๆ ที่การเสริมพลังของผู้หญิงและเด็กผู้หญิงก้าวหน้า และมีมาตรการที่เป็นรูปธรรม
ทั้งนี้ โซลูชั่นที่ได้รับรางวัลจาก UN Global Climate Action Awards เป็นจุดเริ่มต้นที่ดี ผู้ชนะเลิศ ซึ่งคิดผลตามหมวดหมู่แสดงให้เห็นถึงความเป็นผู้นำด้านการแก้ปัญหาโลกรวนโดยผู้หญิงทั่วโลก
ความแตกต่างหลากหลาย มีตั้งแต่ทีมโซล่าเซลหญิงล้วนทีมแรกในเลบานอน สถาปนิกหญิงไทยที่มีผลงานทำให้กรุงเทพฯ มีภูมิต้านทานต่อภาวะโลกรวนมากขึ้น จนถึงองค์กรต่อต้านการตัดไม้ทำลายป่า โดยตอบสนองความต้องการด้านสุขภาพและเศรษฐกิจของชุมชนท้องถิ่นผ่านนวัตกรรมที่นำโดยผู้หญิง
ที่มา