NEXT GEN

วิธีปฏิรูปห่วงโซ่การผลิตและห่วงโซ่คุณค่า เพื่อบรรลุเป้าหมายการปล่อย GHG

28 มิถุนายน 2565…เมื่อใกล้ถึงเส้นตายการปล่อยก๊าซคาร์บอน ผู้ผลิตทั่วโลกกําลังดิ้นรนเพื่อเร่งเส้นทางด้าน Sustainability ขององค์กร ผู้ผลิตจำนวนมากสามารถทํางานร่วมกันและแบ่งปันข้อมูลเชิงลึกกับพัธมิตรที่คิดเหมือนกัน ซึ่งจะแชร์ความท้าทายการบรรลุเป้า net zero ที่มีคล้ายกันนี้


World Economic Forum ร่วมกับ Capgemini และ Siemens กําลังเปิดตัวโครงการความคิดริเริ่ม ‘Net Zero in Manufacturing and Value Chains’ ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากองค์กร Cambridge Industrial Innovation Policy (ตั้งอยู่ที่สถาบันเพื่อการผลิต มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์)

ภาพอนาคตของโลกถูกวาดให้เห็นชัดเจนขึ้น เมื่อครั้งคณะกรรมการรัฐบาลนานาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (IPCC) นำเสนอรายงานการประเมินฉบับที่หก

อุณหภูมิของโลกจะสูงขึ้น 2°C เมื่อเทียบกับระดับก่อนช่วงปฏิวัติอุตสาหกรรมคาดว่าจะเกิดขึ้นไม่เกินศตวรรษนี้ เว้นแต่จะมีการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (GHG) ลงอย่างมากในทศวรรษหน้า สิ่งนี้จะนําไปสู่การมีคลื่นความร้อน น้ำท่วม และภัยแล้งเพิ่มขึ้น ทั้งความถี่และความรุนแรง

ข้อตกลงปารีสปี 2015 มีเป้าหมายหลีกเลี่ยงปัญหานี้ โดยจํากัดการเพิ่มขึ้นของภาวะโลกร้อนให้ต่ำกว่า 2 องศาเซลเซียส ขณะนี้มีตัวเลือกมากมายในทุกภาคส่วนที่ลดการปล่อยมลพิษลงครึ่งหนึ่งได้ภายในปี 2030 แต่ IPCC ยืนยันความเร่งด่วนของเรื่องนี้ ซึ่งระบุกรอบเวลาว่าต้องทำให้สำเร็จภายใน 3 ปีนับจากนี้

ที่มา คลิกภาพ

การปล่อยก๊าซเรือนกระจก
ยังคงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง

แม้มีกรอบข้างต้นแล้วก็ตาม การปล่อยก๊าซเรือนกระจกยังคงเพิ่มขึ้นต่อเนื่องในทุกภาคส่วน ซึ่งส่วนใหญ่อยู่ในภาคขนส่งและอุตสาหกรรม โดยภาคอุตสาหกรรมนี้คิดเป็น 1 ใน 4 ของการปล่อยมลพิษทั่วโลก

เช่นเดียวกับในสหภาพยุโรป หลายประเทศได้ออกกฎหมายความมุ่งมั่นในการลดการปล่อยมลพิษแล้ว โดยคาดว่าจะมีอีกหลายประเทศทำตาม ด้วยเป้าหมายลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนผ่านกฎหมาย อุตสาหกรรมทั่วโลกต้องเปลี่ยนแปลงโครงสร้างหลักๆ เพื่อคงไว้ซึ่งใบอนุญาตการทำธุรกิจ รักษาความสามารถในการแข่งขัน และส่วนแบ่งการตลาดให้คงอยู่ต่อไป

ธุรกิจที่มองไปข้างหน้าล้วนกําลังทำตามกฎหมายเหล่านั้น โดยยึดมั่นเป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ก่อนปี 2050 หรือ 2593 พวกเขากําลังออกแบบแผนการลดคาร์บอนโดยการประเมินความสมดุล เพื่อให้ได้พลังงาน ประสิทธิภาพการผลิต เพิ่มการนําผลิตภัณฑ์และวัตถุดิบกลับมาใช้ใหม่ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของ ‘Circular Economy’ สํารวจทางเลือกที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมเรื่องวัตถุดิบ ลดของเสียจากการผลิต หรือใช้ไฟฟ้าที่สะอาดกว่าไฮโดรเจน เชื้อเพลิงสีเขียวและเทคโนโลยีการจัดการคาร์บอนอื่น ๆ

บางองค์กรกําลังหาวิธีที่จะใช้ประโยชน์จากข้อได้เปรียบของการเป็น First Mover ที่ทำเรื่องนี้ผ่านการคิด Business Model นวัตกรรมและพันธมิตรใหม่ บริษัทอย่าง Ericsson หรือ Henkel ซึ่งมีที่ตั้งใน Lewisville และ Düsseldorf ถูกเลือกให้เป็นประภาคารแห่งความยั่งยืน (Sustainability Lighthouse) ใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีต่างๆ เช่น ปัญญาประดิษฐ์ (AI) และอินเทอร์เน็ตอุตสาหกรรม ปลดล็อกความยั่งยืนในการผลิตระดับที่สูงกว่าเดิม และเพิ่มประสิทธิภาพการใช้ทรัพยากร

อุปสรรคในการก้าวสู่
Net Zero

ด้วยความซับซ้อนและขนาดของความท้าทายซึ่งไม่เท่ากัน จึงไม่ใช่ว่า ทุกธุรกิจจะมีรากฐานมั่นคงที่จะก้าวไปสู่การปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ในจังหวะก้าวเดียวกัน สิ่งนี้ประกอบขึ้นจากข้อเท็จจริงที่ว่า ผู้บริหารต้องตัดสินใจภายใต้การมีโซลูชันลดคาร์บอนที่หลากหลายด้วย

ยิ่งไปกว่านั้นพวกเขาต้องเผชิญกับอุปสรรคการใช้งานที่สําคัญรวมถึงการปรับเปลี่ยนผลิตภัณฑ์และกระบวนการทางอุตสาหกรรมที่ซับซ้อน การจัดหาวัสดุที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมได้ยากขึ้นหรือการเปลี่ยนแปลงที่สําคัญที่จําเป็นต่อการดําเนินธุรกิจองค์กรและวัฒนธรรมของพวกเขา

 

ที่มา คลืกที่ภาพ

IPCC ยังได้ข้อสรุปด้วยว่า ความท้าทายสําคัญสําหรับภาคอุตสาหกรรม คือ ความไม่แน่นอน ความไม่สมบูรณ์แบบ และคุณภาพของข้อมูลการใช้ และต้นทุนพลังงาน ความท้าทายนี้เด่นชัดยิ่งขึ้นเมื่อพิจารณาประเด็นการปล่อยมลพิษระดับ 3 ซึ่งเป็นการปล่อยมลพิษทางอ้อมที่เกิดขึ้นในรายงานห่วงโซ่คุณค่าของบริษัท เนื่องจากผู้ผลิตจะต้องการข้อมูลเพื่อกําหนดเป้าหมายและมาตรฐานที่ชัดเจนสําหรับซัพพลายเออร์ คู่ค้า และลูกค้าของตน

บริษัทต่างๆ ต้องการกรอบการทํางานแบบองค์รวมเพื่อกําหนดกลยุทธ์การดําเนินงานไปสู่การดําเนินงานสุทธิเป็นศูนย์ ซึ่งรวมถึงการทําความเข้าใจพัฒนาการว่าเมื่อพูดถึงเรื่องความยั่งยืนแล้วพวกเขาอยู่ระดับไหน การออกแบบแผนงานการลดคาร์บอน และสร้างความมั่นใจว่าพวกเขามีทักษะ กระบวนการ และการกํากับดูแลเพื่อขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงนี้

ปัจจัยหลัก
การทำงานข้ามภาคอุตสาหกรรม

ผู้ผลิตจําเป็นต้องเข้าใจของเขตของทางเลือกที่เป็นไปได้สําหรับการเปลี่ยนผ่านสู่การปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ และนั่นคือที่มาของความคิดริเริ่มนี้ ซึ่งรวมถึงการประยุกต์ใช้วิธีการและเทคโนโลยีที่มีอยู่รวมถึงแนวทางใหม่ ๆ

ตัวอย่างเช่น มีการนําข้อมูลและเทคโนโลยีดิจิทัล รวมถึง digital twin และ AI มาใช้ เพื่อตรวจสอบการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ตลอดวงจรชีวิตของผลิตภัณฑ์ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงานและวัสดุ เพื่อจําลองและเร่งการเปลี่ยนแปลงที่จําเป็นของผลิตภัณฑ์กระบวนการผลิตและห่วงโซ่คุณค่า

การลดคาร์บอนของอุตสาหกรรมยังหมายถึงการคิดใหม่ทำใหม่สำหรับการออกแบบผลิตภัณฑ์ และกระบวนการทางอุตสาหกรรม โดยเน้นการเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและสะอาดขึ้น ซึ่งจําเป็นต้องมีการเปลี่ยนแปลงกลยุทธ์ด้าน R&D และวิศวกรรมอุตสาหการ ซึ่งแม้ว่าจะมีคนระดับซีอีโอสนับสนุนก็ยังต้องเผชิญกับอุปสรรคสําคัญเมื่อถึงขั้นตอนการปฏิบัติ เช่น การต้องตัดสินใจว่ากรณีใดสำคัญกว่ากัน การกระตุ้นการเปลี่ยนแปลงระดับวัฒนธรรมองค์กร และตอบรับทักษะที่เหมาะสมในการขับเคลื่อนการตัดสินใจทางเทคนิค

แม้การบรรลุเป้าหมายของ IPCC ต้องมีการเปลี่ยนแปลงสําคัญต่อกระบวนการเดิมที่มีอยู่ แต่การกําหนดค่าห่วงโซ่อุปทานทั่วโลกใหม่จะนําไปสู่การเร่งโครงการโรงงานที่สร้างขึ้นใหม่ สิ่งนี้สร้างความท้าทายในการบรรลุเป้าการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ แต่ยังเป็นโอกาสในการเริ่มต้นใหม่ด้วยรากฐานที่สะอาดสะอ้าน และพัฒนาแนวคิดทางอุตสาหกรรมที่รวมเอาแนวทางปฏิบัติที่ดีที่สุดด้านความยั่งยืนที่ผ่านการออกแบบมาแล้วอย่างพิถีพิถัน

สิ่งเหล่านี้ ครอบคลุมทั้งเรื่องการออกแบบผลิตภัณฑ์เน้นความยั่งยืน อาคารและกระบวนการผลิตทางอุตสาหกรรมเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ข้อมูลและเทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อควบคุมการใช้พลังงานและลดของเสีย สร้างโมเดลห่วงโซ่คุณค่าที่เน้นเรื่อง Circular ฝึกอบรมบุคลากรเน้นการปฏิบัติจริงเกี่ยวกับความยั่งยืน โรงงานใหม่ที่ลดการปล่อยคาร์บอนหรือคาร์บอนเป็นศุนย์ จะทําหน้าที่เสมือนเป็นประภาคารส่องสว่าง เผยแพร่ความรู้แก่ทั้งองค์กรและที่อื่น ๆ

การก้าวสู่การปฏิบัติจริงบรรดาองค์กรผู้ผลิตจะได้รับประโยชน์จากการทำงานข้ามอุตสาหกรรม ได้ทํางานร่วมกันและแบ่งปันข้อมูลเชิงลึกกับพันธมิตรที่มีความคิดเหมือนกัน ซึ่งเผชิญกับความท้าทายที่คล้ายคลึงกัน นี่จะเป็นโอกาสในการจัดการกับอุปสรรคร่วมกันผ่านความร่วมมือและพันธมิตรใหม่ ๆ ไม่ว่าจะเป็นผู้ผลิต ซัพพลายเออร์ รวมถึงวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมเพื่อเร่งการเปลี่ยนผ่านสู่เป้าหมาย Net Zero

ที่มา

 

You Might Also Like