NEXT GEN

AIS อุ่นใจไซเบอร์ ต่อจิ๊กซอว์ ตามเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน SDGs มุ่งใช้ความรู้ เสริมสร้างเกราะป้องกันภัยไซเบอร์ให้คนไทย

7 พฤศจิกายน 2565…ภายใต้สถานการณ์ “ภัยไซเบอร์” ทุกรูปแบบที่มีให้เห็นอยู่ทุกวัน สามารถเกิดกับทุกคนทุกสถานะ ทุกอาชีพนั้น สิ่งเดียวที่จะป้องกันภัยไซเบอร์คือ “ความรู้” โดย “AIS อุ่นใจไซเบอร์” ในฐานะ“หลักสูตรการเรียนรู้” ที่ทุกคนสามารถเข้าถึงได้ พร้อมส่งแคมเปญกระตุกเตือนสังคม ชี้ “มีความรู้ก็อยู่รอด” ชวนคนไทยหยุดเสี่ยงกับทุกภัยไซเบอร์ เรียนรู้ทักษะสู่พลเมืองดิจิทัลที่รู้เท่าทันโลกออนไลน์ สอดคล้อง Social Inclusion ของ AIS ที่จะต้องให้ดิจิทัลลดความเหลื่อมล้ำทางสังคม

สายชล ทรัพย์มากอุดม หัวหน้าฝ่ายงานประชาสัมพันธ์ AIS อธิบายถึงความต่อเนื่องถึง AIS อุ่นใจไซเบอร์ เพราะ Social Inclusion เป็นสิ่งที่อยู่ในดีเอ็นเอของคน AIS ที่จะต้องให้ดิจิทัลลดความเหลื่อมล้ำทางสังคมเป็นไปตามเป้าหมาย SDGs ข้อ 3 สร้างหลักประกันว่าคนมีชีวิตที่มีสุขภาพดีและส่งเสริมสวัสดิภาพสำหรับทุกคนในทุกวัย และข้อ 4 สร้างหลักประกันว่าทุกคนมีการศึกษาที่มีคุณภาพอย่างครอบคลุมและเท่าเทียม และสนับสนุนโอกาสในการเรียนรู้ตลอดชีวิต

ทั้งนี้ AIS อุ่นใจไซเบอร์ มีเส้นทางเดินอย่างรวดเร็วภายใต้สถานการณ์ “ภัยไซเบอร์” ทุกรูปแบบที่มีให้เห็นอยู่ทุกวัน ดังนั้นการขยายข้อมูลความยั่งยืนเพื่อสร้างทักษะดิจิทัล จึงอยูใน 2 มิติ คือ

1) นำเทคโนโลยีมาพัฒนาในรูปแบบของบริการดิจิทัลที่ช่วยป้องกันภัยไซเบอร์
2) สร้างภูมิปัญญา องค์ความรู้ เพื่อส่งเสริมและสร้างทักษะดิจิทัลให้คนไทยรู้เท่าทัน พร้อมอยู่กับโลกดิจิทัลได้อย่างปลอดภัยและสร้างสรรค์

ปัจจุบันทั้ง 2 มิติข้างต้นได้กลายเป็นหลักสูตรการเรียนรู้ออนไลน์ “อุ่นใจไซเบอร์” เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันภัยไซเบอร์ครั้งแรกของไทย ที่เป็นการผนึกกำลังร่วมกันระหว่างภาครัฐและเอกชน ยกระดับการเรียนการสอนในยุคดิจิทัล เพื่อปกป้องภัยไซเบอร์

“สถานการณ์ภัยไซเบอร์มาทุกรูปแบบทุกวันทั้งคอลล์เซ็นเตอร์ รวมถึงการบูลลี่ สามารถเกิดกับทุกคนทุกสถานะ ทุกอาชีพ จึงถือเป็นวาระเร่งด่วน และเป็นที่มาการเปิดตัวแคมเปญการสื่อสารภายใต้แนวคิด “มีความรู้ก็อยู่รอด” เพราะเชื่อว่าสิ่งที่จะทำให้เราสู้กับทุกภัยไซเบอร์ได้คือ การมีความรู้”

พลัช ร่มไทรย์ ผู้กำกับภาพ Phenomena เล่าเพิ่มเติมในมุมคนทำทำโฆษณา AIS อุ่นใจไซเบอร์ ส่งแคมเปญกระตุกเตือนสังคม “มีความรู้ก็อยู่รอด” เป็นโจทย์ที่ท้าทายมาก เพราะเป็นเรื่องราวทางสังคม และยิ่งเข้าไปค้นข้อมูลพบภัยไซเบอร์มากมาย ดังนั้นในการสื่อสารเรื่องภัยไซเบอร์ จะต้องออกมาแล้วสามารถสร้างความเข้าใจให้กับผู้ชมได้ในวงกว้าง

“เราเลือกที่จะชี้ให้เห็นว่าภัยเหล่านี้ เป็นปัญหาใหญ่แบบคอขาดบาดตาย ที่ทุกคนอาจจะตายได้หากไม่รู้ ไม่เข้าใจ และไม่มีวิธีรับมือ ซึ่งสิ่งเดียวที่จะช่วยให้รอดได้ก็คือ ความรู้ โดยเราเลือกใช้วิธีเล่าเรื่องแนวตลก สยองขวัญ ผ่านตัวละครผีที่โดนภัยไซเบอร์ในรูปแบบใกล้ตัวทำร้าย จนถึงขั้นเสียชีวิต เพื่อสื่อให้เห็นว่าทุกคนมีโอกาสตกเป็นเหยื่อจากการใช้งานออนไลน์หรือแม้แต่สื่อดิจิทัลได้ตลอดเวลา และความรู้ เท่านั้นจะช่วยให้อยู่รอดได้”

แถวบนจากซ้าย…สายชล ทรัพย์มากอุดม หัวหน้าฝ่ายงานประชาสัมพันธ์ AIS พลัช ร่มไทรย์ ผู้กำกับภาพ Phenomena
แถวล่างจากซ้าย…แพทย์หญิงอัมพร เบญจพลพิทักษ์ อธิบดีกรมสุขภาพจิต พล.ต.ต.นิเวศน์ อาภาวศิน รองผู้บัญชาการ กองบัญชาการตำรวจสืบสวนสอบสวนอาชญากรรมทางเทคโนโลยี

แพทย์หญิงอัมพร เบญจพลพิทักษ์ อธิบดีกรมสุขภาพจิต กล่าวถึงสถานการณ์สุขภาพจิตของคนไทยที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมการใช้งานสื่อออนไลน์ที่ส่งผลต่อสุขภาวะดิจิทัล ยังมีคนไทยและเยาวชนมากมาย ที่เจอปัญหาภัยไซเบอร์และไม่สามารถรับมือได้อย่างเหมาะสม จะหยุดปัญหานี้ด้วย “ความรู้”

พล.ต.ต.นิเวศน์ อาภาวศิน รองผู้บัญชาการ กองบัญชาการตำรวจสืบสวนสอบสวนอาชญากรรมทางเทคโนโลยี ให้ความคิดเห็นต่อภัยไซเบอร์ โดยเฉพาะประเด็นมิจฉาชีพคอลล์เซ็นเตอร์ในว่า ต้องมีสติ ขอให้เอ๊ะ! สักนิด ไม่คุยกับสายที่ไม่มั่นใจ ไม่ให้ข้อมูลส่วนตัว ไม่โอนเงินให้กับคนที่ไม่รู้จักผ่านการรับสายอย่างเด็ดขาด ขอให้ขอเบอร์โทรศัพท์เพื่อการติดต่อกลับ

สายชลกล่าวในท้ายที่สุดว่า AIS อุ่นใจไซเบอร์ ไม่ใช่โครงการที่เป็นคอสเมติก เพราะมีการทำงานกับพันธมิตรผู้เชี่ยวชาญมาอย่างต่อเนื่อง และมีการกระตุ้นเตือนผ่านแคมเปญ “มีความรู้ก็อยู่รอด” เป็นการตอกย้ำภารกิจและความมุ่งมั่นตั้งใจของ AIS ในการนำองค์ความรู้มาส่งต่อให้กับคนไทยได้ใช้เป็นอาวุธเพื่อรับมือกับภัยไซเบอร์ที่อาจเกิดขึ้นจากการใช้งานออนไลน์ในหลากหลายรูปแบบ

กล่าวได้ว่า ภายใต้ SDGs ของ UN เป้าหมายข้อที่ 17 ว่าด้วยเรื่อง “ความร่วมมือ” เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน AIS ได้สะท้อนเป้าหมายดังกล่าวผ่านทุกการทำงานของ AIS

You Might Also Like