6 ธันวาคม 2565… ฟาสต์ รีเทลลิ่ง (Fast Retailing) แถลงวิสัยทัศน์ของLifeWear = Sustainability ครั้งที่ 2 สำหรับสื่อมวลชนและนักวิเคราะห์ ณ กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น ซึ่งเป็นไลฟ์แวร์ (LifeWear) ปรัชญาต้นแบบในอุตสาหกรรมของบริษัทผลิตเสื้อผ้ามีความเรียบง่าย คุณภาพดี และใช้งานได้นานแล้ว ยังเป็นหลักสำคัญเพื่อชีวิตและสังคมที่ดีขึ้นสำหรับทุกคน
โคจิ ยาไน ประธานเจ้าหน้าที่บริหารอาวุโส บริษัท ฟาสต์ รีเทลลิ่ง จำกัด ช่วยขยายความให้เห็นภาพอนาคตของความได้เปรียบในการแข่งขันของ Lifewear คืออะไร? จากคำถามของ SDPerspectives.com
“ยูนิโคล่ ดำเนินธุรกิจที่มีเป้าหมายที่จะเปลี่ยนอุตสาหกรรมค้าปลีกเครื่องแต่งกายไปสู่การค้าปลีกผู้บริโภคดิจิทัลรูปแบบใหม่ ซึ่งยูนิโคล่ใช้ เทคโนโลยีเพื่อสร้างการเชื่อมโยงที่ไร้รอยต่อระหว่าง ยูนิโคล่ และ พันธมิตร คลังสินค้าและร้านค้าทั่วโลก การเปลี่ยนแปลงนี้จะลดขนาดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมของธุรกิจของเรา สร้างสภาพแวดล้อมการผลิตที่ส่งเสริมสิทธิมนุษยชนและรับประกันการจัดซื้อจัดจ้างที่มีความรับผิดชอบสูง ซึ่งทั้งหมดนี้เกี่ยวข้องกับลูกค้าทั่วโลก และสอดคล้องไปกับ ปรัชญา LifeWear นั่นคือการออกแบบมาเพื่อการสวมใส่ในระยะยาว ไม่ใช่ใส่เพียงครั้งเดียวหรือสองครั้ง ดังนั้น LifeWear จึงเน้นความเรียบง่าย ประณีต วัสดุคุณภาพสูง และใส่ใจในรายละเอียด ซึ่งทั้งหมดนับเป็นสิ่งที่ทำให้ยูนิโคล่แตกต่างจากแบรนด์อื่น ๆ”
กับคำถาม SDPerspectives ที่ว่า จุดประสงค์ของแบรนด์ยูนิโคล่ในด้านความยั่งยืนคืออะไร? โคจิ ยาไน ได้อธิบายว่า
“บริษัทฯ เล็งเห็นว่า LifeWear เป็นโอกาสสำคัญของเราในการสร้างมิติใหม่ของอุตสาหกรรม LifeWear จัดอยู่ในหมวดของความยั่งยืนเช่นกัน พวกเราเชื่อว่า LifeWear สามารถถ่ายทอดภาพของธุรกิจเสื้อผ้าในมุมใหม่ให้โลกของเราได้ ช่วยเพิ่มการตระหนักรู้ในเรื่องของสังคมที่ยั่งยืนให้เป็นมิติใหม่ของอุตสาหกรรม พวกเราเข้าใจถึงความรับผิดชอบของแบรนด์ว่าไม่ได้หยุดที่ขั้นตอนการผลิต การขนส่ง และการขายเสื้อผ้าเท่านั้น ความทนทาน การใช้งานที่หลากหลาย การนำกลับมาใช้ซ้ำและการรีไซเคิลเป็นลู่ทางใหม่ ๆ เพื่อความยั่งยืนที่ยิ่งใหญ่กว่า LifeWear ในวันนี้จึงเกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงให้ธุรกิจของเราไปสู่ระบบที่มั่นคงสำหรับเสื้อผ้าที่ยั่งยืน และเนื้อผ้าที่ใช้งานได้ยาวนานขึ้นสำหรับลูกค้าของเรา”
โคจิ ยาไน นำเสนอการพัฒนา LifeWear ใหม่ล่าสุด รวมถึงสินค้าและบริการจากบริษัท รวมถึงนำกิจกรรมต่าง ๆ ที่ช่วยพัฒนาชีวิตของผู้คนและสังคมทั่วโลก จากเสียงตอบรับของลูกค้าทั่วโลก บริษัทฯ ได้เริ่มโปรเจกต์ใหม่ๆ เช่น การบริการซ่อมแซมเสื้อผ้าผ่าน RE.UNIQLO STUDIO ของเรา และเพื่อการก้าวไปข้างหน้าอีกขั้น ด้วยการร่วมมือกับลูกค้า พันธมิตรทางธุรกิจ และองค์กรที่ไม่แสวงหาผลกำไรต่างๆ (NGOs)
นอกจากนี้ ยูกิฮิโระ นิตตะ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ฟาสต์ รีเทลลิ่ง กล่าวถึงรายละเอียดความคืบหน้าเกี่ยวกับการลดปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ การขยายการตรวจสอบแหล่งที่มา และการพัฒนาความโปร่งใส ส่วนเซเรนา เพ็ก ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ฟาสต์ รีเทลลิ่ง และ ประธานฝ่ายดำเนินการและที่ปรึกษาทั่วไป บริษัท ฟาสต์ รีเทลลิ่ง (สหรัฐฯ) พูดถึงเรื่องการพัฒนาบุคคลากร ความหลากหลาย และการเป็นส่วนหนึ่งขององค์กรในสหรัฐฯ เพื่อส่งเสริมความแข็งแกร่งในการทำงานของสำนักงานใหญ่ของฟาสต์ รีเทลลิ่ง
ความคืบหน้าของแผนการดำเนินงานต่อเป้าหมายของ ฟาสต์ รีเทลลิ่ง ในปี 2573
สินค้า
-อัตราส่วนของวัสดุรีไซเคิล วัสดุที่มีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในระดับต่ำ ที่ใช้ในกลุ่มบริษัทของฟาสต์ รีเทลลิ่งเพิ่มขึ้น 5% อย่างมั่นคง สำหรับสินค้าในปี 2565 เมื่อเทียบกับเป้าหมายในปี 2573 ที่ตั้งเป้าให้มีสัดส่วน 50% รวมถึงอัตราส่วนการใช้เส้นใยโพลีเอสเตอร์ที่ได้จากการรีไซเคิลเพิ่มขึ้นประมาณ 16% เทียบกับการใช้โพลีเอสเตอร์ทั้งหมด
-นับตั้งแต่ฤดูใบไม้ร่วง/ฤดูหนาว สปี 2565 เสื้อฟลีซขนนุ่มของยูนิโคล่ปี 2565 ได้ทำจากเส้นใย โพลีเอสเตอร์รีไซเคิล 100% ซึ่งส่วนใหญ่ทำมาจากขวดพลาสติก (PET)
-เดือนกันยายน ปี 2565 ที่ผ่านมา ยูนิโคล่เปิดตัว RE.UNIQLO STUDIO เป็นบริการใหม่จากยูนิโคล่ เพื่อช่วยให้ลูกค้าได้สวมใส่ไอเทมไลฟ์แวร์ (LifeWear) ตัวโปรดได้ยาวนานขึ้น โดยริเริ่มที่สาขา รีเจนท์ สตรีท ในลอนดอนเป็นแห่งแรก นอกจากนี้ยังได้ขยายบริการนี้ไปในหลายประเทศอีกด้วย รวมถึงการเปิดทดลองบริการนี้ที่ญี่ปุ่น ณ.ร้านสาขาเซตะกายะ ชิโตเซได ในวันที่ 22 ตุลาคม 2565 ที่ผ่านมา ยูนิโคล่ตั้งใจที่จะขยายบริการนี้ต่อไปทั้งในประเทศญี่ปุ่น และประเทศอื่นๆ ทั่วโลก
การลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์
-ที่ร้านสาขาและสำนักงาน
เพื่อให้สอดคล้องกับเป้าหมายของบริษัทฯ ในการเปลี่ยนไปใช้พลังงานหมุนเวียน 100% ภายในปี 2573 ร้านยูนิโคล่และสำนักงานในยุโรป อเมริกาเหนือ เวียดนาม อินโดนีเซีย และไทย ได้ปรับเปลี่ยนไปใช้พลังงานหมุนเวียนแล้ว 100%
-ระบบซัพพลายเชน
โรงงานคู่ค้าหลักผู้ผลิตสินค้าของยูนิโคล่ และ GU มากกว่า 90% ได้ยกระดับมาตรการการประหยัดพลังงาน ลดการใช้ถ่านหิน และเลือกใช้พลังงานหมุนเวียน แผนการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์กำลังดำเนินไปอย่างมั่นคง ผ่านการพูดคุยเพื่อแก้ปัญหาดังกล่าวกับโรงงานคู่ค้าของเรา
บรรลุเรื่องการติดตามจากแหล่งต้นทางและการเพิ่มความโปร่งใส
-ระบบเพื่อยืนยันการวางแผนซัพพลายเชนและติดตามผลของแต่ละสินค้าดำเนินการเสร็จสมบูรณ์แล้ว การใช้งานการจัดการข้อมูลจากแหล่งต้นทาง ด้วยความร่วมมือกับโรงงงานคู่ค้าเริ่มต้นในคอลเลคชัน ฤดูใบไม้ร่วง/ฤดูหนาว ปี 2565
-โปรแกรมการยืนยันแหล่งที่มาจากบุคคลที่สามเสร็จสมบูรณ์ และใช้งานจริงในช่วงเวลาเดียวกัน
-ฟาสต์ รีเทลลิ่ง ตั้งเป้าที่จะใช้ Code of Conduct สำหรับพันธมิตรด้านการผลิตเส้นใยฝ้าย และสิ่งแวดล้อมของแรงงาน และการตรวจสอบทางบัญชี ในฤดูใบไม้ผลิ ปี 2566
-ความคิดริเริ่มดังกล่าวนี้ เริ่มจากสินค้าบางอย่างของยูนิโคล่ และวางแผนเพื่อเพิ่มให้ครอบคลุมสินค้าทุกประเภทของยูนิโคล่ และสินค้าอื่นๆ ในเครือของฟาสต์ รีเทลลิ่งในอนาคต
-ฟาสต์ รีเทลลิ่ง ยังคงยกระดับความโปร่งใส่โดยการเพิ่มรายชื่อของพันธมิตรด้านการผลิตในขอบเขตที่กว้างขึ้น รวมถึงพิจารณาการเพิ่มรายชื่อเพื่อรวมแหล่งผู้ผลิตเส้นใยฝ้ายในอนาคตด้วย
การปรับวิธีการติดตามสภาพแวดล้อมของแรงงาน
-ตั้งแต่เดือนกันยายน 2563 ฟาสต์ รีเทลลิ่งได้นำโปรแกรม SLCP (Social and Labor Convergence Program) มาใช้ ซึ่งเป็นการระบบประเมินด้านอุตสาหกรรมเสื้อผ้าสำหรับโรงงานผลิต เพื่อประเมินความเสี่ยงและประเด็นต่างๆ เกี่ยวกับสภาพแวดล้อมของแรงงาน รวมถึงการพัฒนาปัญหาดังกล่าว โปรแกรมนี้จะเริ่มใช้ในทุกๆ โรงงานผลิตเสื้อผ้าและโรงงานทอผ้าหลักๆ ภายในสิ้นปีงบประมาณ 2566
-ขณะเดียวกัน ฟาสต์ รีเทลลิ่งได้ใช้มาตรการ Zero- Tolerance ในการทำข้อตกลงใดๆ เพื่อพิจารณาถึงการละเมิดสิทธิมนุษยชน เพิ่มความแข็งแกร่งในการตรวจสอบความเสี่ยงของสภาพแวดล้อมของแรงงานและการละเมิดสิทธิมนุษยชนใดๆ ก่อนที่จะเกิดความเสี่ยงขึ้น
การขยายข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับลูกค้า
-ตั้งแต่ปี 2566 ยูนิโคล่จะเปิดเผยข้อมูลของซัพพลายเชนสำหรับแต่ละสินค้าในรูปแบบข้อความสั้นๆ บนออนไลน์สโตร์ และในระหว่างปี 2566 สินค้าแต่ละชิ้นจะแสดงข้อมูลเกี่ยวกับประเทศที่ผลิต ส่วนประเทศต้นทางที่ผลิตเส้นใยจะถูกนำมาเผยแพร่ในลำดับต่อไป
-ยูนิโคล่จะเปิดเผยข้อมูลอันจำเป็นสำหรับลูกค้า เพื่อช่วยในการตัดสินใจเลือกสินค้าของยูนิโคล่ ภายในปี 2568
-ยูนิโคล่ทำงานร่วมกับผู้เชี่ยวชาญในการสร้างระบบยืนยันขึ้น เพื่อให้แน่ใจว่าคำอธิบายเกี่ยวกับข้อมูลสินค้ามีความถูกต้องเพื่อป้องกันความสับสน
การริเริ่มด้านกิจกรรมเพื่อสังคม
-ในปีงบประมาณ 2565 ฟาสต์ รีเทลลิ่ง สนับสนุนเงินจำนวน 8.8 พันล้านเยน ผ่านกิจกรรมเพื่อสังคมต่างๆ รวมถึงบริจาคเสื้อผ้าในจำนวน 6.98 ล้านชิ้น* เพื่อเป็นส่วนหนึ่งของกิจกรรมช่วยเหลือสังคม โดยมีจำนวนผู้ที่ได้รับประโยชน์จากกิจกรรมนี้มีถึง 7.49 ล้านคนทั่วโลก
-ยูนิโคล่เปิดตัว PEACE FOR ALL โปรเจกต์เสื้อยืดการกุศลที่สื่อให้เห็นถึงความหวังของบริษัทในเรื่องของสันติภาพ ผลกำไรจากยอดขายของโปรเจกต์นี้ได้บริจาคและถูกจัดสรรไปยังองค์กรที่ให้ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรม ได้แก่ สำนักงานข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติ (UNHCR), องค์การช่วยเหลือเด็กหรือ Save the Children และองค์การแพลน อินเตอร์เนชันแนล (Plan International) โดยช่วงปลายเดือนสิงหาคม 2565 ยูนิโคล่บริจาคเงินจำนวนประมาณ 100.45 ล้านเยน ซึ่งกิจกรรมนี้ยังคงดำเนินต่อไปในอนาคต
-ฟาสต์ รีเทลลิ่งจะเพิ่มกิจกรรมความช่วยเหลือสำหรับผู้ลี้ภัยและผู้พลัดถิ่น บริษัทกำลังเพิ่มการจ้างงานและการช่วยเหลือเพื่อตั้งรกรากสำหรับผู้ลี้ภัยจากยูเครน นอกจากนี้ ฟาสต์ รีเทลลิ่ง ได้ริเริ่มโปรเจกต์เพื่อช่วยเหลือด้านอิสรภาพของผู้หญิงพลัดถิ่นชาวโรฮิงญาที่ต้องการลี้ภัยไปยังบังกลาเทศ
-ทางบริษัทมีแผนในการขยายโปรแกรมการพัฒนาสำหรับคนรุ่นต่อไป (next-generation development program) ด้วยความร่วมมือจากโกลบอลแบรนด์แอมบาสเดอร์ของยูนิโคล่ โดยในวันที่ 19 พฤศจิกายน นี้ โรเจอร์ เฟดเดอเรอร์ จะมาเยือนประเทศญี่ปุ่นเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่การประกาศยุติการเล่นเทนนิสอาชีพ เพื่อร่วมจัดคลาสเทนนิสสำหรับเยาวชนซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของโปรแกรมนี้
-มูลนิธิฟาสต์ รีเทลลิ่ง (Fast Retailing Foundation) จัดโปรเจกต์ฟื้นฟูผืนป่าในฟิลิปปินส์ ด้วยแผนการปลูกต้นไม้ประมาณ 200,000 ต้นใน 3 พื้นที่
*ยกเว้นเสื้อผ้าที่ได้จากการรับบริจาคที่ร้านสาขาและนำไปบริจาคให้กับผู้ลี้ภัยและผู้ที่ขาดแคลน
การยกระดับความหลากหลายและการรวมเป็นหนึ่ง
-ฟาสต์ รีเทลลิ่งตั้งเป้าหมายที่จะเพิ่มจำนวนผู้บริหารหญิงให้ถึง 50% ภายในปีงบประมาณ 2573 โดยในปลายเดือนสิงหาคม ปี 2565 อัตราส่วนเพิ่มขึ้นเป็น 43.7%
-ฟาสต์ รีเทลลิ่ง ตั้งเป้าหมายสำหรับการจ้างงานผู้พิการทั่วโลก และส่งเสริมความคิดริเริ่มเพื่อให้บรรลุเป้าหมายนี้
ติดตามข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ แผนการดำเนินงานและเป้าหมายด้านความยั่งยืนประจำปีงบประมาณ 2573 ของฟาสต์ รีเทลลิ่งได้ที่ลิงก์ด้านล่าง
ฟาสต์ รีเทลลิ่งได้เผยแพร่ แผนการดำเนินงานและเป้าหมายด้านความยั่งยืนประจำปีงบประมาณ 2573 เกี่ยวกับสร้าง LifeWear เพื่อเป็นนิยามใหม่ของวงการ และเร่งการเปลี่ยนรูปแบบธุรกิจ เพื่อสร้างความยั่งยืน และการเติบโตในระยะยาว (ตีพิมพ์ : 2 ธันวาคม 2564)
ที่มาภาพเปิดเรื่อง ตามลิงก์
www.fastretailing.com/eng/sustainability/news/2112021500.html