NEXT GEN

ความสำคัญของทักษะสีเขียว (Green Skills) เราจะสร้างอนาคตที่เหมาะกับทุกคนได้อย่างไร ?

17 ธันวาคม 2565…ภาวะโลกรวนกําลังส่งผลกระทบต่อตลาดแรงงานอยู่แล้ว โดยผู้คนนับล้านต้องตกงานเป็นผลจาก Disruption ที่นึกไม่ถึง มาก่อนในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา โลกของการทํางานสามารถมีบทบาทสําคัญในการเปลี่ยนผ่านไปสู่เศรษฐกิจคาร์บอนต่ำ แม้ปัจจัยหลักจริง ๆ จะขึ้นอยู่กับความสามารถในการพัฒนาทักษะสีเขียว (Green Skill) ของมนุษยชาติก็ตาม

การลงทุนในทักษะดังกล่าว รัฐบาล องค์กรธุรกิจ และบุคคลทั่วไปสามารถทํางานร่วมกัน เพื่อสร้างโลกที่ยั่งยืนยิ่งขึ้นซึ่งเหมาะกับทุกคน

ภาวะโลกรวนเป็นเรื่องจริง ที่ทุกคนปฏิเสธไม่ได้ และฤดูร้อนนี้จะเป็นข้อบ่งชี้สำคัญด้วย เพราะแนวโน้มมีแต่จะแย่ลง คลื่นความร้อนและไฟป่าที่โหมกระหน่ำ ความไม่มั่นคงด้านอาหาร การขาดแคลนน้ํา การตัดไม้ทําลายป่า และการสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพจะยังคงมีผลกระทบร้ายแรงต่อโลก และชีวิตการทํางาน หากเราไม่เปลี่ยนแนวทางปฏิบัติ

ผู้คนนับล้านพลัดถิ่น และกําลังค้นหาการเริ่มต้นใหม่ที่อื่น เพราะบ้านและการดํารงชีวิตของพวกเขาตกเป็นเหยื่อของผลกระทบของภาวะโลกรวน เป็นที่ชัดเจนว่าผลกระทบที่แท้จริงนั้นกว้างขวาง ส่งผลต่อตลาดแรงงานในท้องถิ่นและห่วงโซ่อุปทานทั่วโลกเช่นกัน

ตลาดแรงงานตกอยู่ภายใต้แรงกดดันมากมายอยู่แล้ว เราได้เห็นคนงานหลายล้านคนออกจากงานท่ามกลางช่วงเวลาแห่งความไม่มั่นคง และการ Disrupt ที่ไม่เคยปรากฏมาก่อน จากความพยายามค้นหาแนวทางการยังชีพที่ดีขึ้น สภาพการทํางานและความสมดุลในชีวิตการทํางาน

มี “การลาออกครั้งใหญ่” พนักงานหลายล้านคนสมัครใจลาออกจากงานในปี 2564 จากนั้นเราได้เห็น Great Reshuffle พนักงานเริ่มค้นหาการเติมเต็มบทบาท และวัตถุประสงค์ในการทํางานมากขึ้น ตอนนี้คนงานและนายจ้างต่างก็ตระหนักถึงความสําคัญ แรงงานพบว่า พวกเขายังขาด Green Skill ซึ่งเป็นผลจากการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ในโลกของการทํางาน เช่น การเปลี่ยนผ่านสู่ Digitalization

ทั้งนี้ บทความเรื่อง Skills for the Green Economy ของกลุ่มบริษัทอเด็คโก้ อธิบายว่าองค์กรทั้งภาครัฐและเอกชนจําเป็นต้องเริ่มจัดลําดับความสําคัญให้กับพนักงาน ลงทุนจ้างงานต่อเนื่อง และใช้ประโยชน์จากทักษะสีเขียว เพื่อกระตุ้นการเปลี่ยนผ่านไปสู่เศรษฐกิจที่ยั่งยืนมากขึ้นได้อย่างไร

1.ให้ความสําคัญกับการพัฒนา Green Skill

หากไม่มีการพัฒนา Green Skill คาดว่าเศรษฐกิจโลกจะต้องลดพนักงานสูงถึง 71 ล้านตําแหน่ง และปรับไปใช้ Circular Economy แทน ในทางกลับกัน การปรับใช้นโยบาย และการลงทุนเรื่อง reskilling สามารถพลิกสถานการณ์ดังกล่าว ทั้งนี้ ภาคพลังงานเพียงอย่างเดียว สามารถสร้างงานได้สูงถึง 18 ล้านตำแหน่ง

ที่มาคลิกภาพ

การใช้กลยุทธ์ที่จะทำให้ประสบความสําเร็จ ต้องพิจารณาว่า

งานมากกว่า 1,470ล้านตําแหน่งทั่วโลกขึ้นอยู่กับสภาพอากาศที่ไม่เลวร้ายกว่าที่เป็นอยู่ ข้อเท็จจริง คือ นวัตกรรมที่ก้าวหน้ายังไม่เกิดขึ้น ดังนั้น ความต้องการสําหรับการพัฒนาทักษะ Green Skill จึงยังคงมีสูง ไม่สามารถประเมินปริมาณที่แท้จริงได้

การยกเลิกเชื้อเพลิงฟอสซิลบางภาคส่วน จะได้รับผลกระทบหนักกว่าภาคอื่น ๆ โดยเฉพาะอุตสาหกรรมพลังงานและยานยนต์
ผู้บริโภคและพนักงาน กําลังถือหุ้นบริษัทที่มีความรับผิดชอบ และนำเสนอทางเลือกใหม่ ๆ มากขึ้น บริษัทต่าง ๆ จะต้องนําเสนอโซลูชันที่ยั่งยืนทางสังคมและสิ่งแวดล้อม เพื่อทำให้อนาคตดีขึ้น

2. เป็นโอกาสของการเปลี่ยนผ่าน

เพราะความท้าทายเหล่านี้จัดการได้ไม่ง่าย แต่เมื่อแก้ไขได้อย่างเหมาะสมแล้ว ก็สามารถสร้างโอกาสมากมาย โดยทั่วไปแล้วนโยบาย Smart Green สามารถนําไปสู่พนักงานที่มีทักษะและอนาคตที่ดีขึ้น ตลาดแรงงานเน้นหน้าที่ความรับผิดชอบ สนับสนุนด้วยการศึกษาที่เข้มข้น สวัสดิการสังคมครบถ้วน ครอบคลุม

ทั้งนี้ รัฐบาลมีบทบาทสําคัญในการขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงไปสู่ Green Economy การกําหนดนโยบายที่ชาญฉลาดจะสร้างความแตกต่างอย่างชัดเจน สร้างความมั่นใจในการเปลี่ยนแปลงที่ครอบคลุม โดยเฉพาะอย่างยิ่ง หากพิจารณาว่า

การเปลี่ยนแปลงของอุตสาหกรรมจะเกิดขึ้นในสภาพภูมิศาสตร์ที่แตกต่างกัน ในเวลาที่ต่างกัน แม้การตกงานอาจเกิดขึ้นทันที แต่การสร้างงานจะค่อยเป็นค่อยไปมากขึ้น ด้วยเหตุนี้ รัฐบาลต้องปกป้องคนงานมากกว่างาน

แม้เป็นอุตสาหกรรมเดียวกัน ก็ไม่ใช่จะมีการเปิดรับสมัครทุกตำแหน่งงานอีกครั้ง การรักษาความคล่องตัวและความยืดหยุ่นขององค์กรในตลาดแรงงานจึงเป็นสิ่งสําคัญ

แรงงานเป็นสินทรัพย์หลัก การลงทุนเรื่องการพัฒนาพนักงานจึงไม่ควรถือเป็นต้นทุน แต่ควรนำไปตัดเป็นค่าใช้จ่ายแบบคิดค่าเสื่อมราคาได้

3. นายจ้างควรทํางานเชิงรุก

เพราะพวกเขาเป็นผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในช่วงการเปลี่ยนผ่าน พวกเขาควรเริ่มทําแผนเกี่ยวกับ Green Skill Reskill และ Reemploying ภายใต้ก้าวไปสู่การทำ Circular

ทําให้การจ้างงานและการลงทุนด้านทักษะอย่างยั่งยืนเป็นข้อได้เปรียบของแบรนด์ เพื่อดึงดูดผู้มีความสามารถที่เหมาะสมและรักษาทักษะที่เหมาะสมสําหรับความสําเร็จในอนาคตใช้ประโยชน์จากการฝึกงาน อาชีวศึกษา การฝึกอบรม และการเรียนรู้จากการทํางานในรูปแบบอื่นๆ เพื่อสร้างกลุ่มผู้มีความสามารถของตนเอง สร้างจุดเริ่มต้นที่หลากหลายเข้าสู่องค์กร และตลาดแรงงานในวงกว้างมากขึ้น

รายละเอียดเพิ่มเติมคลิกที่ภาพ

ส่งเสริมความยืดหยุ่นและใช้ประโยชน์จากความเชี่ยวชาญด้านแรงงาน โดยให้พนักงานเป็นศูนย์กลางการเปลี่ยนแปลงซึ่งระหว่างนี้จะได้รับการสนับสนุนให้กระตือรือร้น มีชุดทักษะของตนเอง โดยแสวงหาโอกาสพัฒนาทักษะอย่างต่อเนื่องเปิดรับความยืดหยุ่นในอาชีพ ตระหนักว่าทักษะของพวกเขามีวันหมดอายุ และการเรียนรู้ตลอดชีวิตเป็นปัจจัยหลักในการปรับปรุงการจ้างงานในอนาคต

ที่มา

 

You Might Also Like