NEXT GEN

Energy StartUp ที่ตั้งเป้า Net Zero ในอนาคต

26-27 ธันวาคม 2565…แรงบันดาลใจจากธรรมชาติ ต้นโซลาร์เซลล์ของ SolarBothic ใช้นาโนเทคโนโลยีโซลาร์เซลล์รูปใบไม้ ใช้ฟิล์มบาง เพื่อควบคุมทั้งแสงอาทิตย์และพลังงานลม จากนั้นส่งไปยังโรงไฟฟ้า เพื่อชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า หรือเก็บไว้เพื่อใช้ในอนาคต

ขณะที่โลกร้อนขึ้นในอัตราที่ไม่เคยมีมาก่อน และการเผาไหม้เชื้อเพลิงฟอสซิลยังคงผลิตมากกว่า 75 % ของกาซเรือนกระจกทั่วโลก การเปลี่ยนผ่านสู่พลังงานหมุนเวียนทั่วโลกเป็นหนึ่งในการเปลี่ยนแปลงที่ใหญ่ที่สุดและเร่งด่วนที่สุดของความท้าทายที่มนุษยชาติเคยเผชิญ

ขณะที่ยักษ์ใหญ่ด้านพลังงาน ดูเหมือนจะลงทุน R &D ในการแก้ปัญหาอย่างช้า ๆ นวัตกรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่งเกี่ยวกับเทคโนโลยีพลังงานแสงอาทิตย์กลับมาจากสตาร์ทอัพ อย่าง BioLite และ Sunlit Sea

ตอนนี้ SolarBotanic บริษัทพลังงานแสงอาทิตย์ในอังกฤษได้เข้ามาร่วมแก้ปัญหา นำโดยจินตนาการใหม่ของการออกแบบแผงโซลาร์เซลล์แบบดั้งเดิมปกติจะเป็นสี่เหลี่ยมจัตุรัส เปลี่ยนเป็นแผงลักษณะเหมือนต้นไม้พลังงานแสงอาทิตย์ที่มีประสิทธิภาพสูง หลังจากห้าปีของการวิจัยและพัฒนา บริษัทยืนยันว่าพร้อมผลิตโซลาร์ลักษณะเหมือนต้นไม้จํานวนมากในราคาที่เหมาะสม

“การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่เร่งตัวขึ้นเป็นผลมาจากการพึ่งพาฟอสซิลที่ก่อให้เกิดมลพิษ เชื้อเพลิงเป็นหนึ่งในภัยคุกคามใหญ่ที่สุดต่อมนุษยชาติหากต้องการเปลี่ยนผ่านสู่ Net Zero เทคโนโลยีพลังงานเป็นปัจจัยสําคัญ ต้นไม้พลังงานแสงอาทิตย์ของเรา จะเป็นเครื่องช่วยสนับสนุนเรื่องลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ที่จําเป็นมาก” แฮร์รี่ คอร์ริแกน ผู้ก่อตั้งและผู้บริหาร ประธานบริษัท SolarBothanic กล่าว

แผงที่ดูดซับพลังงานผ่านเซลล์แสงอาทิตย์ (PV) รูปใบไม้ ประกอบด้วยวงจรขนาดเล็กหลายพันวงจรที่เปิดใช้งานเมื่อดวงอาทิตย์ส่องแสง ทั้งนี้ SolarBothanic กําลังทดลองเรื่องการใช้นาโนเทคโนโลยีเพิ่มเติม เพื่อช่วยให้ต้นไม้รุ่นต่อไปไม่เพียงแต่จะแปลงแสงเป็นพลังงาน แต่ยังรวมถึงลมด้วย ขณะที่เป้าหมายต่อไปคือ ทั้งลําต้นและกิ่งไม้สามารถผลิตกระแสไฟฟ้าด้วย

“การจัดเก็บพลังงานสามารถฝังอยู่ในต้นไม้ และถูกชาร์จในช่วงที่ระบบกำลังผลิตพลังงานหมุนเวียนระบบสามารถนำพลังงานที่เก็บไว้มาใช้ ตอนไม่มีแสงอาทิตย์ และไม่มีลม”

ต้นไม้ที่ออกแบบมาเป็นรูปโดม ก็เพื่อรับแสงแดดให้ได้มากที่สุด ขณะที่พื้นที่ด้านล่างออกแบบให้มีพื้นที่ที่ใช้งานได้ เช่น หากต้องการจอดรถ ปลูกพืชไซโอฟิลัส (ชอบร่มเงา) หรือจัดที่นั่งในร่ม

ต้นไม้รุ่นแรกถูกออกแบบมาให้เป็นแบบชาร์จเร็ว ใช้ได้ทั้งสําหรับบ้าน องค์กรธุรกิจ และที่จอดรถที่ซึ่งพลังงานแสงอาทิตย์สามารถจัดเก็บไว้ที่จุดชาร์จ นอกเหนือจากการชาร์จสำหรับ EV การออกแบบช่วยให้ต้นไม้สามารถเชื่อมโยง และบางส่วนสามารถป้อนเข้าสู่กริดหลัก

“คุณสมบัตินี้ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการจัดเก็บพลังงาน และเป็นสิ่งสําคัญที่ทำให้เราก้าวหน้า สู่อนาคตที่มีไฟฟ้ามากขึ้น”  

ขณะที่แผงโซลาร์เซลล์ทั้งหมด ภายใต้สภาพอากาศที่แดดจัด ต้นไม้แต่ละต้นก็มีผลิตพลังงานไฟฟ้าได้มากขึ้น โดยSolarBotanic หวังที่จะผลิตไฟฟ้าเฉพาะในลอนดอน 3,400kWh ต่อปีจากต้นโซลาร์เซลล์รุ่นแรก ซึ่งแต่ละต้นมีกําลังการผลิตไฟฟ้า 5 กิโลวัตต์

“ปริมาณพลังงานที่เกิดจากต้นไม้แต่ละต้นขึ้นอยู่กับว่าตั้งอยู่ที่ไหน บางสถานที่จะผลิตพลังงานมากกว่าที่อื่น ๆ ซึ่งโดยธรรมชาติขึ้นอยู่กับรูปแบบของเทคโนโลยี สําหรับสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงสูง เรามีการฝังแบตเตอรี่อยู่ในลําต้นของต้นไม้ด้วย เพื่อจัดเก็บพลังงานให้ใช้ได้ในภายหลัง สําหรับสถานที่ที่ศักยภาพการผลิตพลังงานจากแสงอาทิตย์ต่ำ ต้นไม้ต้นนั้นๆ ก็สามารถเชื่อมกับต้นอื่น ๆ หรือแผงโซลาร์เซลล์ทั่วไปได้อย่างง่ายดาย เพื่อเพิ่มพลังงาน”

ต้นไม้พลังงานแสงอาทิตย์ของ SolarBotanic สามารถผลิตไฟฟ้าให้กับบ้านหลังเดียว หรือติดตั้งได้ในพื้นที่ที่เคยปลูกต้นไม้ตามธรรมชาติมาก่อน (เช่นตามมอเตอร์เวย์ ถนนชานเมือง สวนสาธารณะ ฯลฯ ) เชื่อมกับโครงข่ายของการไฟฟ้า ทำเป็นโซลาร์ฟาร์ม รวมทั้งสามารถ ‘ปลูก’ จำนวนมาก สร้าง ‘ป่า’ พลังงานแสงอาทิตย์

SolarBotanic เชื่อมั่นในพลังของการทํางานร่วมกัน และการเป็นพันธมิตรกับบริษัทต่างๆ รวมถึงผู้ให้บริการชาร์จ EV, นักพัฒนาอสังหาริมทรัพย์, พลังงานหมุนเวียน ผู้ประกอบการที่จอดรถสาธารณะ สถานีบริการ เจ้าของบ้าน สมาคม ฯลฯ ที่มีค่านิยม พันธกิจ และวิสัยทัศน์ร่วมกัน เพื่อให้ธุรกิจขยายได้อย่างเป็นรูปธรรม ทั้งนี้ ต้นพลังงานแสงอาทิตย์ต้นแรกคาดว่าจะวางจําหน่ายในต้นปี 2566

คอร์ริแกน กล่าวในท้ายที่สุด ช่วง 5 ปีนับจากนี้ SolarBotanic จะแสวงหาการลงทุนเพิ่มเติมเพื่อพัฒนาให้ก้าวหน้ามากขึ้น เช่น การนำเทคโนโลยีผลิตพลังงานในรูปทรงและรูปแบบที่หลากหลายทั้งหมดเพื่อสานต่อภารกิจลดต้นทุนด้านพลังงาน และการปล่อยก๊าซคาร์บอน ขณะเดียวกันก็สร้างสภาพแวดล้อมที่สวยงาม น่าอยู่

 

ที่มา

ที่มาภาพประกอบทั้งหมด คลิก

You Might Also Like