29-30 ธันวาคม 2565…เพราะโลกเปลี่ยนแปลงรวดเร็วมีผลกระทบต่อวิถีชีวิตทันท่วงที โดยเฉพาะสถานการณ์โควิด-19 ต้องสวมหน้ากาก ต้องใช้บ้านเป็นที่ทำงานอย่างแท้จริง ภาคธุรกิจประสบปัญหาขาดแคลนแรงงาน ต้นทุนพลังงานสูง ต้องใช้พลังงานสะอาดลดต้นทุน การตอบโจทย์ความต้องการใหม่ รับมือโลกที่เปลี่ยนแปลงรวดเร็วให้ผู้บริโภคใช้ชีวิตอย่าง “ประหยัด ปลอดภัย สะดวก รักษ์โลก” คือความต้องการของตลาดอาเซียนและโลกในอนาคต สำหรับ เอสซีจี The Next Chapter ด้วยการรับมือโลกเปลี่ยนกับพลังงานสะอาด – สุขภาพและการแพทย์ – ดิจิทัลโลจิสติกส์ – นวัตกรรมกรีน – สมาร์ทลิฟวิ่ง – หุ่นยนต์อัจฉริยะ
รุ่งโรจน์ รังสิโยภาส กรรมการผู้จัดการใหญ่ เอสซีจี เล่าถึงที่มาของโซลูชันใหม่ๆ ตอบโจทย์ใกล้ชิดไลฟ์สไตล์ใหม่ผู้บริโภค เพราะความเปลี่ยนแปลงที่ไม่สามารถคาดการณ์ได้ ส่งผลให้พฤติกรรมคนหลังการแพร่โควิด-19 อย่างหนัก
“คนจำนวนมากบอกว่า ตอนนี้เขาทำงานอยู่ที่บ้านมากกว่าที่ทำงาน สิ่งที่เขาต้องใช้ระหว่างทำงานที่บ้านคือ ต้องการความเงียบ ไม่มีเสียงรบกวน ดังนั้นควรจะต้องมีสักห้องไหมที่มีความเงียบ ไม่มีเสียงรบกวน ทำงานที่บ้านใช้ไฟเยอะ ทำอย่างไรจะประหยัดไฟได้ หรือการทำงานที่บ้านสำหรับคนอายุมากก็จะมีเรื่องสุขภาพมาเกี่ยวข้อง เพราะฉะนั้นตรงนี้ทำอย่างให้รู้สึกว่าปลอดภัย ในแง่ความสะอาดของอากาศ เพื่อคุณภาพการทำงานที่บ้าน นี่คือตัวหย่างหนึ่งที่เราบอกว่าเราใกล้ลูกค้า โดยเราพยายามผสมผสานเทคโนโลยี นวัตกรรม ทำอย่างไรจะนำเทคโนโลยีใส่เข้าไปตรงนี้ให้ได้ เพราะเป็นเรื่องที่เราหนีไม่พ้น ท้ายที่สุดคือเรื่อง ความยั่งยืน ซึ่งจะช่วยให้ผู้บริโภคได้ใช้ชีวิตอย่างประหยัด ปลอดภัย สะดวก รักษ์โลก”
นิธิ ภัทรโชค กรรมการผู้จัดการใหญ่ ธุรกิจซีเมนต์และผลิตภัณฑ์ก่อสร้าง เอสซีจี และวิชาญ จิตร์ภักดี ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัทเอสซีจี แพคเกจจิ้ง จำกัด (มหาชน) หรือ SCGP แลกเปลี่ยนมุมเอสซีจี The Next Chapter ที่มีความใกล้ชิดแบบเป็นส่วนหนึ่งในไลฟ์สไตล์ผู้บริโภค
“ในส่วนธุรกิจซีเมนต์และผลิตภัณฑ์ก่อสร้าง เอสซีจีตอบโจทย์ที่เราเจอ เจ้าของบ้านต้องการประหยัดพลังงาน ก็มีโซล่าร์รูฟ นอกจากนี้ยังมีโจทย์ของผู้พิการ คนด้อยโอกาสซึ่งเราต้องตอบความต้องการครอบคลุมคนเหล่านี้ด้วย ส่วนเรื่องคนสูงอายุ คนป่วย เรามีนวัตกรรมเป็นกล้อง เช่น แค่การเดิน ระบบจะรู้ว่ามีโอกาสหกล้มได้ขนาดไหน นวัตกรรมนี้ราคาถูกมาก และคนทั่วไปสามารถใช้ได้เลย เป็นนวัตกรรมที่ไม่ได้ตอบโจทย์ลูกค้าเท่านั้น แต่ตอบโจทย์สังคมได้ด้วย นับเป็นหนึ่งใน ESG4Plus ของเอสซีจีต่อสังคม”
นิธิอธิบายต่อเนื่อง ส่วนความใกล้ชิดกับลูกค้าอีกมุมหนึ่งจะเห็นว่า ธุรกิจซีเมนต์และผลิตภัณฑ์ก่อสร้าง เอสซีจีใกล้ลูกค้ามากขึ้น จากเดิมที่ขายปูน ก็เกี่ยวข้องช่างกับปูนเท่านั้น ในบ้านแทบจะไม่รู้สึกเลยว่า มีเอสซีจีอยู่ตรงไหน แม้จะรู้แต่ก็ห่างมาก แต่ตอนนี้เอสซีจีใกล้ตัวมาก ตั้งแต่เรื่องอากาศที่สะอาดซึ่งสำคัญมากที่สุดในชีวิต
วิชาญ แลกเปลี่ยนข้อมูลความใกล้ชิดของ SCGP ต่อผู้บริโภค ซึ่งมีความใกล้กับผู้บริโภคมาก ๆ เพราะผลิตภัณฑ์ SCGP เป็นคอนซูมเมอร์ประมาณ 72% จากที่กระดาษเพียงอย่างเดียว
“เมื่อวันนี้เทคโนโลยีดิจิทัลปรับเปลี่ยนไปมาก พฤติกรรมผู้บริโภคเปลี่ยนไป ประกอบกับเรื่องความสะดวกสบาย ทำให้มีการเติบโตสูงและไปได้ดี เช่น เดลต้าแล็ป ทำวัสดุทางการแพทย์ ทำหลอดต่าง ๆ ทำภาชนะ เก็บตัวอย่างของเหลว หลอดตรวจเลือด หลอดตรวจปัสสาวะ รวมถึงจานเพาะเชื้อต่าง ๆ ภาชนะที่ใช้ในห้องแล็ป ซึ่งการที่หลายท่านไปโรงพยาบาลก็จะเห็นสิ่งต่าง ๆ เหล่านี้มากมาย สิ่งนี้คือสิ่งที่เราห็นเป็นโอกาส ลดการนำเข้า โดยเราเซ็ทอัพโรงงานเหล่านี้ในประเทศไทยเราเองอยู่ระหว่างการดำเนินการ เราจะเห็นตัวอย่างเป็นหลักพันจากSCGP คิดเป็นหลายหมื่นเอสเคยู สิ่งนี้คือแนวทางของSCGP และ เอสซีจี The Next Chapter ด้วย”
รุ่งโรจน์กล่าวในท้ายที่สุด เอสซีจี The Next Chapter พยายามตอบโจทย์ เพื่อให้คุณภาพชีวิตของผู้คนดีขึ้น โดยมุ่งการทำธุรกิจอย่างมีประสิทธิภาพ คำนึงถึงว่า ทำอย่างไรจะสามารถแข่งขันได้มากขึ้น ทำอย่างไรจะลดการใช้พลังงาน ขณะเดียวกัน เสริมสร้างสินค้าให้เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้น และมองความเป็นไปได้ในการสร้างธุรกิจใหม่ ๆ ของเราอย่างต่อเนื่อง ตัวอย่างหนึ่ง คือ SCGJWD มีศักยภาพมาก เป็นโลจิสติกส์ครบวงจร ใหญ่สุดในภูมิภาคอาเซียน สิ่งที่เกิดขึ้นใน เอสซีจี The Next Chapter เราไม่ได้ทำธุรกิจปัจจุบันดีขึ้นอย่างเดียว แต่มองหาโอกาสใหม่ ๆ ให้ลูกค้า เราเชื่อว่าการตอบโจทย์ลูกค้าด้วยโซลูชันใหม่ ๆ จะทำให้ธุรกิจเราเจริญเติบโตต่อไปอย่างยั่งยืนได้
เนื้อหาเกี่ยวข้อง คลิก